Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน24 ธันวาคม 2552
เมเจอร์ฯ ชูความหลากหลาย สู้ศึกตลาดโรงภาพยนตร์             
 


   
www resources

โฮมเพจ เมเจอร์ซินีเพล็กซ์

   
search resources

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป, บมจ.
Films
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์




เมเจอร์ฯเตรียมแผนรุกตลาดปี 53 ด้วยการวางเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท ผุดโรงภาพยนตร์โมเดลใหม่ หวังสร้างความหลากหลายเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง พร้อมปรับโฉมโมเดลเก่า สู้ศึกโรงภาพยนตร์ปีเสือ

ภาพรวมของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงยากลำบากของผู้ประกอบการ หลากหลายปัจจัยลบเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ที่แม้จะไม่กระทบกับประเทศไทยโดยตรง แต่ก็พลอยโดนหางเลข เพราะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจนต้องชะลอกำลังซื้อ เรื่อยมาถึงปัญหาทางการเมืองของไทย ที่มีความผันผวน หรือ มีการประท้วง ชุมนุม และ ปัญหาเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดภาวะชะงัก จนทำให้โรงภาพยนตร์เงียบเหงามาตลอด ทำเอาผู้ประกอบการทุกเจ้าถึงกับกุมขมับ

อย่างไรก็ตามในไตรมาส 4 เหตุการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น บวกกับการมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ทรานฟอร์เมอร์, 2012, ทไวไลท์ นิวมูน รวมไปถึงภาพยนตร์ไทย รถไฟฟ้ามาหานะเธอ ที่ทุกเรื่องสามารถกวาดรายได้กว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง


ค่ายเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป เจ้าของ4 แบรนด์โรงภาพยนตร์อย่าง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี, พารากอน ซีนีเพล็กซ์ และ เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ในธุรกิจโรงภาพยนตร์มีการทำตลาดกันอย่างหนักมาตลอดทั้งปี ทั้งการจัดกิจกรรม, การปรับปรุงโรงภาพยนตร์, การขยายสาขาใหม่ เพราะนอกจากต้องฟ่าฟันกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยแล้ว ยังต้องแข่งขันช่วงชิงผู้ชมกับคู่แข่งสำคัญอย่าง เอสเอฟ ที่มีการรุกหนักไม่แพ้กัน ล่าสุดเมเจอร์ เปิดแนวรบใหม่ในย่านชานเมือง เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยเงินงบประมาณในการก่อสร้างกว่า 1,000 ล้านบาท

เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร มีรูปแบบการก่อนสร้างในสไตล์ นีโอ-โกธิค จำนวน 7 ชั้น ประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์ 16 โรง 4,000 ที่นั่ง ลานโบว์ลิ่ง 24 เลน, คาราโอเกะ 13 ห้อง และไอซ์สเกต ซับซีโร่ ลานสเก็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร ดำเนินการร่วมกับสยามฟิวเจอร์ดีเวลล้อปเมนต์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในด้านศูนย์การค้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ วัยรุ่น คนทำงาน และกลุ่มที่กำลังสร้างครอบครัว ในย่านชานกรุงเทพฯ ทิศเหนือ นนทบุรี จนถึงปทุมธานี ซึ่งเป็นทำเลที่มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากทั้งการขยายตัวของโครงการที่พักอาศัย และการเปิดศูนย์ราชการบนถนนแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ฯ วางเป้าหมายการขายบัตรในสาขานี้ว่าจะมีผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการมากกว่า 2ล้านใบ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รังสิต

ขณะเดียวกันเมเจอร์ฯก็ได้เตรียมแผนที่จะบุกตลาดในปี 2553 โดยวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กรุ้ป จำกัด(มหาชน) เผยว่า ปัจจุบันเมเจอร์ฯมีแบรนด์โรงภาพยนตร์จำนวน 4 แบรนด์ และมี 4 รูปแบบในการเปิดให้บริการ เริ่มตั้งแต่แบบสแตนอโลน, ไปกับดิสเคาท์สโตร์ อาทิ เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี, ไปกับห้างสรรพสินค้า อาทิ สยามพารากอน และ ไปกับสยามฟิวเจอร์ดีเวลล้อปเมนต์ ซึ่งความหลากหลายของรูปแบบที่เปิดให้บริการ ถือเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจ เพราะสามารถสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้หลากหลาย และในปี 2553 เมเจอร์ฯ ก็มีแผนการที่จะเพิ่มรูปแบบของโรงภาพยนตร์ในแบบใหม่ๆ ขึ้นอีก

เมเจอร์ฯ วางงบประมาณลงทุนในปี 2553 ไว้ที่ 800 -1,000 ล้านบาท เพื่อนำไปขยายโรงภาพยนตร์ ทั้งที่เป็นสาขาเก่าและสาขาใหม่อีกราว 30-40 โรงทั่วประเทศ ซึ่งในส่วนของสาขาใหม่ๆที่จะทำการเปิดนั้นได้มีการมองหาทำเลทั้งในเขตกรุงเทพฯและตามต่างจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่

“เราวางแผนไว้ว่าในปีหน้าจะมีการพัฒนาโรงภาพยนตร์ทั้งที่มีอยู่แล้ว และสร้างรูปแบบใหม่ๆ เพราะเราพบว่าลูกค้าชอบที่จะเห็นความหลากหลายของแบรนด์ โดยการปรับปรุงสาขาที่เปิดบริการไปแล้ว จะมีทั้งในส่วนของการเพิ่มโรงภาพยนตร์ และปรับปรุงส่วนต่างๆ ซึ่งเราได้มีการทยอยทำอย่างต่อเนื่อง ส่วนการเปิดสาขาใหม่ๆ นั้น ต้องดูความเหมาะสมของทำเลเป็นสำคัญ”

วิชามั่นใจว่าแนวโน้มของปี 2553 อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์จะกลับมาเติบโต เป็นผลมาจากการมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่เตรียมจะเข้าฉายทุกไตรมาส เช่น ทไวไลท์ นิวมูน ภาค 3, แฮรี่ พอตเตอร์ ภาคจบ, นเรศวร และองค์บาก โดยคาดว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมในปีหน้าจะกลับมาเติบโต 10-12% ขณะที่เมเจอร์ฯจะมีการเติบโตราว 10-12% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นรายได้ที่มาจากค่าบัตรเข้าชม 2,900 ล้านบาท

ปัจจุบันเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีแบรนด์โรงภาพยนตร์จำนวน 4 แบรนด์ ประกอบไปด้วย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ , อีจีวี, พารากอน ซีนีเพล็กซ์ และเอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รวมจำนวนสาขาที่ให้บริการมี 47สาขาทั่วประเทศ 354 โรง แบ่งออกเป็นแบรนด์ เมเจอร์ฯ34 สาขา จำนวน 233 โรง, อีจีวี 10 สาขา จำนวน 77 โรง, พารากอน ซีนีเพล็กซ์ 1 สาขา 16 โรง และ เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ 2 สาขา จำนวน 28 โรง ขณะนี้โบว์ลิ่ง เปิดให้บริการทั้งสิ้น 30 สาขา จำนวน 480 เลน, บริการคาราโอเกะ 358 ห้อง และ ไอซ์สเก็ต 2 สาขา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us