|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในปี 2552 ที่ผ่านมาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้ธุรกิจการบินทั่วโลกต้องเผชิญกับการขาดทุนเป็นมูลค่ามหาศาลต่อเนื่องจากในปี 2551 สอดคล้องกับการประเมินของ IATA คาดว่าในปี2552 ที่ผ่านมา ธุรกิจสายการบินทั่วโลกจะขาดทุนเป็นมูลค่ากว่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะเดียวกันธุรกิจการบินของไทย ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3/2552 แนวโน้มของธุรกิจมีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยจำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปีไปจนถึงต้นปีหน้า ขณะที่ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามการกระเตื้องขึ้นของการส่งออก อย่างไรก็ดี การเติบโตของรายรับอาจไม่กลับมาขยายตัวมากนักเนื่องจากอัตราค่าโดยสารและค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ว่ากันว่าสภาพตลาดของการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยคาดว่าจำนวนผู้โดยสารในช่วงไตรมาสสุดท้ายอาจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 13.6 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี'51) ทำให้จำนวนผู้โดยสารรวมทั้งปีอาจหดตัวประมาณร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากในปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 4.6 ขณะที่ปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 4/2552 คาดว่าอาจกลับมาขยายตัวเป็นบวกร้อยละ 22 (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวสูงถึงร้อยละ 27) อย่างไรก็ดี การตกต่ำของการส่งออกทำให้ปริมาณการขนส่งทางอากาศรวมทั้งปีจะยังคงติดลบที่ประมาณร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งหดตัวร้อยละ 4 ส่วนแนวโน้มในปีหน้า คาดว่าตลาดของธุรกิจการบินน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ (การส่งออกและการท่องเที่ยว) โดยทั้งจำนวนผู้โดยสารและปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศรวมทั้งปี 2553 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวเป็นบวก
แม้ว่าสภาพตลาดโดยรวมจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ธุรกิจสายการบินของไทยยังคงต้องเผชิญความท้าทายหลายด้านโดยเฉพาะการแข่งขันที่รุนแรงในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ ซึ่งคู่แข่งในตลาดสายการบินรูปแบบปรกติมีการปรับปรุงบริการและยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวกในเครื่อง ทำให้คุณภาพการให้บริการดีขึ้น อีกทั้งยังต้องเผชิญคู่แข่งจากสายการบินโลว์คอสต์ที่หันมาขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศมากขึ้น ขณะที่การบริหารจัดการต้นทุนในภาวะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกด้านหนึ่งในการรักษาอัตรากำไรของธุรกิจ
ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น สายการบินในไทยต้องมีการปรับโครงสร้างของธุรกิจและองค์กรเพื่อให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน สำหรับสายการบินโลว์คอสต์ซึ่งใช้จุดขายด้านราคาและมีการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างสูงนั้น การปรับลดต้นทุนโดยการปรับปรุงระบบให้เป็นในลักษณะ Self Service ให้มากที่สุดโดยการใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วย การจำหน่ายตั๋วโดยสารผ่านทางตัวแทนการขายเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก การจับมือเป็นพันธมิตร เช่น กับสายการบินอื่นเพื่อให้สามารถครอบคลุมเส้นทางการบินให้มากขึ้น รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง น่าจะช่วยดึงดูดผู้โดยสารและช่วยเรื่องต้นทุนได้ เช่นเดียวกัน สายการบินทั่วไปที่ไม่ใช่โลว์คอสต์ควรพิจารณาใช้ประโยชน์จากระบบไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทั้งในด้านการลดต้นทุนบุคลากรและเวลา และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาด
อย่างไรก็ตาม สายการบินอาจพิจารณาโอกาสเพื่อทำธุรกิจเชิงรุกในการเปิดเส้นทางใหม่ในภูมิภาค เช่น ขยายเส้นทางบินระหว่างเมืองหลักๆ ของประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการทำธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนและมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้นโดยเฉพาะในปีหน้าซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันธุรกิจสายการบินในระยะต่อไป ทำให้ธุรกิจต้องคอยติดตามสถานการณ์และแนวโน้มทางด้านราคาอย่างใกล้ชิด โดยสายการบินต่างๆ ควรมีการเตรียมพร้อมในด้านการบริหารต้นทุน รักษากระแสเงินสดและควบคุมภาระหนี้ให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้เพื่อให้สามารถฟันผ่าความท้าทายต่างๆ ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะเริ่มฟื้นตัวไปได้
|
|
|
|
|