|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บิ๊กแบงก์กรุงเทพเผยแผนปีหน้าหันปล่อยกู้รายกลาง-รายย่อย-บุคคล หลังปัญหามาบตาพุดทำสินเชื่อรายใหญ่ชะงัก ตั้งเป้าสินเชื่อโตแค่ 3-4% พร้อมเปิด "ทศวรรษแห่งเอเชีย" หนุนผู้ประกอบการไปลงทุนเพื่อนบ้านรับ FTA ส่วนปีนี้อาจติดลบตามจีดีพี
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า ในปีหน้าธนาคารมีแนวทางที่จะเพิ่มปริมาณการปล่อยสินเชื่อขนาดกลาง และสินเชื่อรายย่อยให้มากขึ้น หลังจากคาดการณ์ว่าสินเชื่อรายใหญ่จะทรงตัวเนื่องจากปัญหาโครงการมาบตาพุด ซึ่งเท่าที่ทราบคาดว่าจะส่งผลกระทบนานถึง 9 เดือน แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าใด ทั้งนี้ ในเบื้องต้นธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อปีหน้าเติบโตในระดับ 3-4% ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่สินเชื่อในปีนี้น่าจะอยู่ในระดับทรงตัวหรือติดลบเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับจีดีพีซึ่งติดลบประมาณ 3%
"ตามปกติสินเชื่อของธนาคารจะเติบโตในอัตราที่มากกว่าจีดีพี แต่ที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่คงจะทรงตัวในระดับเดิมจากปัญหามาบตาพุด ดังนั้น ถ้าจะการเติบโตมากกว่าจีดีพี ก็จะต้องเพิ่มการปล่อยกู้ในสินเชื่อขนาดกลาง และรายย่อยทดแทน แต่ก็คงจะไม่สามารถเพิ่มได้ในสัดส่วนที่เท่ากัน ทำให้สินเชื่อของธนาคารคงจะไม่สามารถเติบได้ 5-6%อย่างที่เคยเป็นได้ในเร็วๆนี้ โดยโครงสร้างสินเชื่อของธนาคารในปัจจุบันมีสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่ 40%สินเชื่อรายกลาง-ย่อย 35% สินเชื่อบุคคล 10% และสินเชื่อต่างประเทศ 15%"
ทั้งนี้ ในแนวทางการเพิ่มสินเชื่อขนาดกลาง และรายย่อยนั้น ก็จะต้องมีการปรับปรุงทั้งด้านสาขา การรีแบรนด์ และงานด้านบริการให้เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อประเภทดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ธนาคารได้เริ่มทำไปบ้างแล้ว ในขณะเดียวกัน ธนาคารก็มียุทธศาสตร์เดิมบางส่วนที่รองรับอยู่แล้ว โดยเฉพาะโครงการเอสเอ็มอีเข้มแข็ง และโครงการเกษตรก้าวหน้าที่ได้ดำเนินมา 9 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าการดำเนินธุรกิจของธนาคารนั้นมาถูกทางแล้ว
**เปิดทศวรรษแห่งเอเชียหนุนลงทุนนอก**
นอกจากนี้ ธนาคารจะดำเนินยุทธศาสตร์ ทศวรรษแห่งเอเชีย โดยจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในประเทศแถบอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับการทำสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน(FTA) ซึ่งธนาคารมีความพร้อมทั้งด้านสาขาในต่างประเทศ และให้คำปรึกษาในการลงทุน รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆในการลงทุนด้วย และในปีหน้าก็เปิดสาขาที่ประเทศมาเลเซียเพื่อให้ครอบคลุมให้มากขึ้น
"เราควรจะใช้เรื่องเอฟทีเอให้เป็นประโยชน์มากกว่านี้ หากมีเอฟทีเอแล้วเราไม่ขยับอะไรบ้าง ขณะที่ประเทศอื่นเข้ามาลงทุน เข้ามาใช้ประโยชน์จากเราอย่างเดียว แล้วเราจะไปเซ็นเอฟทีเอเพื่ออะไร ดังนั้น ในช่วง 10 ต่อไปนี้ ธนาคารก็จะเน้นในเรื่องนี้มากขึ้น แต่ก็ถือเป็นแผนงานระยะยาว เหมือนเอสเอ็มอีเข้มแข็ง หรือเกษตรก้าวหน้า"
ส่วนโครงการเกษตรก้าวหน้านั้น ปีนี้เป็นปีที่ 9 ของการดำเนินการแล้วขณะนี้มีวงเงินคงค้างประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาท มีเกษตรกรร่วมโครงการอยู่ 3,000 ราย เนื่องจากการดำเนินโครงการดังกล่าวไม่ได้เน้นที่ยอดการปล่อยสินเชื่อ แต่จะเน้นที่จำนวนรายของเกษตรกรที่เข้าโครงการ เนื่องจากธนาคารกลั่นกรองคุณภาพของโครงการที่จะเข้าร่วมที่จะต้องมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการเพาะปลูกหรือทำฟาร์มตามธรรมชาติ รวมถึงมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย ซึ่งธนาคารพยายามที่จะให้จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในแต่ละปีเพิ่มขึ้น 1,000 ราย
**เตือนรัฐอัดฉีดศก.เพลินหนี้พุ่ง**
สำหรับทิศทางเศรษฐกิจในปีหน้านั้น นายโฆสิตกล่าวว่า เศรษฐกิจในปีหน้าจะโตเมื่อเทียบกับปีนี้ แต่ไม่ใช่การฟื้นตัว เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะยังมาจากภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ภาคการลงทุนภาคเอกชนยังไม่เห็นทิศทางการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเนื่องจากส่งผลกระทบในหลายๆด้าน จึงไม่ควรใช้แนวทางดังกล่าวในการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะเวลาที่นาน ดังจะเห็นได้จากประเทศอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและใช้วิธีการอัดฉีดเศรษฐกิจโดยภาครัฐ ก็เริ่มที่จะถอยออกจากแนวทางดังกล่าวบ้างแล้ว ในส่วนของไทยเองก็ต้องพิจารณาในเรื่องนี้เช่นกัน
"เราจะใช้การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีที่ใช้อยู่นี้นานๆไม่ได้ เพราะส่งผลกระทบหลายๆด้าน อย่างที่ใครๆเริ่มออกมาเป็นห่วงเรื่องหนี้สาธารณะกันแล้ว บางประเทศที่ใช้วิธีนี้มากๆ ถึงกับมีการออกเป็นกฎหมายว่าหนี้สาธารณะต้องไม่เกินเท่าไหร่ ซึ่งในเรื่องนี้ทางการไทยก็รู้อยู่แล้ว แต่การที่จะถอนตัวออกก็ยังติดเรื่องการลงทุนภาคเอกชนก็ยังนิ่ง ซึ่งปัจจัยในเรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องดูแลต่อไป"
ทั้งนี้ ปัจจัยการเมืองในปีหน้าก็เป็นส่วนที่มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยเป็นความเสี่ยงในแง่ของเป็นผู้ชี้ขาดนโยบายเศรษฐกิจว่าจะไปในทิศทางได้ ส่วนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของตัวรัฐบาลนั้นเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้มีปัญหาอะไรต่อเศรษฐกิจ
|
|
|
|
|