Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
Positioning Magazine ธันวาคม 2552
กสิกรฯรุกรายย่อยเต็มสูบ ลุ้นรัฐต่อมาตรการหนุนสินเชื่อบ้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารกสิกรไทย
Loan




แบงก์กสิกรไทยเผยแผยรายย่อย ตั้งเป้าสินเชื่อเพิ่ม 15% พร้อมรุกทั้งสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน และบัตรเครดิต ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมที่จะโต 36% จาการวางแผนยกระดับบริการสู่ไฟแนนเชียล เวิลด์ อินดัสตรี ให้บริการด้วยมาตรฐานโลก ลุ้นรัฐบาลคงมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมอสังหาฯที่จะหมดเดือนมี.ค.53 ช่วยดันสินเชื่อบ้าน

นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานด้านธุรกิจรายย่อยของธนาคารในปี 2553 ว่า ธนาคารได้ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนลูกค้าเป็น 9.2 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้น 19% จากปัจจุบันที่มีลูกค้ารายย่อย 7.7 ล้านราย และตั้งเป้าหมายยอดการปล่อยสินเชื่อรายย่อยเติบโตที่ 15% คิดเป็นเม็ดเงินปล่อยกู้ใหม่ 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะแบ่งเป็นสินเชื่อบุคคลตั้งเป้าเติบโตสูงสุด 47% รองลงมาคือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 13% และสินเชื่อบัตรเครดิต 7% ซึ่งจะมาจาก 2 รูปแบบคือการเติบโตยอดบัตรใหม่ 3 แสนใบและการกระตุ้นยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรไปพร้อมกับการควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ที่จะให้อยู่ไม่เกิน 2.3% จากส่วนยอดเงินฝากจะโตอีก 10%

ขณะที่รายได้จากค่าธรรมเนียมในปีหน้าก็ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 36% หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยรายได้ค่าธรรมเนียมจะมาจากธุรกิจขายประกันผ่านสาขาธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันซ์) ที่ตั้งเป้าว่าจะมีการเติบโตสูงสุดประมาณ 100% รายได้ด้านการโอนเงิน (Money Transfer) ที่จะเติบโต 56% การขายกองทุน (Mutual Fund) 43% และจากบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตที่ตั้งเป้าหมายว่าจะเติบโตอีก 32%

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้วางเป้าหมายเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระดับสูงสุด โดยวางแผนยกระดับบริการสู่ไฟแนนเชียล เวิลด์ อินดัสตรี (Financial World Industry) โดยดัชนีความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Index) ที่สำรวจโดยนีลสัน ได้เพิ่มขึ้นจากระดับ 79 ในปี 2549 เป็น 88 ในปี 2552 ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายจะเพิ่มเป็นระดับ 90 ในปี 2553 และเป็น 91 ในปี 2554 ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพบริการของธนาคารอยู่เหนือมาตรฐานเฉลี่ยของโลก ด้วยการมุ่งยกระดับประสบการณ์ล้ำเลิศให้กับลูกค้าใน 3 มิติ คือ 1.การสร้างความประทับใจในทุกด้านที่ลูกค้าเข้าไปสัมผัส โดยธนาคารจะขยายจุดให้บริการของสาขากว่า 800 สาขา

2.การใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิตอล เพื่อตอบสนองการให้ข้อมูล และบริการในโลกดิจิตอลยุคใหม่ ทั้งบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต บริการทางโทรศัพท์มือถือ ที่ครองความเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งถึง 75% เป็นที่หนึ่งธุรกิจรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ตมาตลอด และ3.การสร้างประสบการณ์ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจแบบบูรณาการ ตอบสนองความต้องการตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าอย่างยั่งยืน ผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่เครือธนาคารและพันธมิตรพัฒนาร่วมกัน

ส่วนผลการดำเนินงานธุรกิจรายย่อยของธนาคารในปี 2552 ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ โดยยอดการปล่อยสินเชื่อรายย่อยมีการเติบโต 9% คิดเป็นเม็ดเงินปล่อยใหม่ 1.54 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีการเติบโต 9% คิดเป็นเม็ดเงินปล่อยใหม่ 1.22 แสนล้านบาท สินเชื่อบุคคลเติบโต 16% คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อบัตรเครดิตเติบโต 7% คิดเป็นเม็ดเงิน 2.2 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.1% ซึ่งต่ำกว่าระบบ และมียอดเงินฝากรวม 7.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ ธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมจากธุรกิจลูกค้ารายย่อยเติบโตเพิ่มขึ้น 20% คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท โดยธุรกิจแบงก์แอสชัวรันซ์ (Bancassurance) มีการเติบโตสูงสุดประมาณ 56% รองลงมาได้แก่ค่าธรรมเนียมด้านการโอนเงิน (Money Transfer) เติบโต 27% และการขายกองทุน (Mutual Fund) เพิ่ม 23%

นายกฤษฎา ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลควรมีการต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่จะหมดอายุในเดือน มี.ค. 2553 เนื่องจากมองว่าประชาชนยังคงมีความต้องการด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างแท้จริง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือภาคประชาชนได้ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะเริ่มมีการขยับขึ้นช่วงครึ่งหลังปีหน้า เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงติดตามการเคลื่อนไหวแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก่อน ซึ่งเฟดได้ออกมาระบุว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปราวกลางปีหน้า

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขันทางด้านเงินฝากของแต่ละธนาคารที่จะเริ่มแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงต้องระวังและจับตาอย่างต่อเนื่องจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเมือง ความไม่ชัดเจนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และการประมูลระบบ 3จี โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยับไปข้างหน้าได้

ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในปีหน้าอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวจะมีสัดส่วนการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จากปีนี้ที่การเติบโต 37% ส่วนคอนโดจะเติบโต 40-45% จากปีนี้ที่เติบโต 49% สำหรับทาวน์เฮ้าส์จะเติบโต 12% และบ้านแฝดจะเติบโตอยู่ที่ 2% ใขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ก็คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5-5% เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างจำเป็นต้องปรับสูงขึ้นตามประมาณ 5-10% บวกกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะปรับขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ที่ 0.5-0.75% ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกำลังการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น 6% หากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นทุก 1%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us