Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2527
สุพจน์ เดชสกุลธร อีนุงตุงนังกับวงการคอมมอดิตี้ด้วย             
 


   
search resources

สุพจน์ เดชสกุลธร
Commercial and business




คนทั่วไปที่พอจะรู้จักสุพจน์ เดชสกุลธร จากหน้าหนังสือพิมพ์ มักเข้าใจว่าสุพจน์เป็นเจ้าของเฉพาะกิจการเงินทุน 3-4 แห่งกับบริษัทประกันภัย-ประกันชีวิต และก็คงไม่ผิดถ้าจะสรุปว่าตัวสุพจน์เองก็อยากให้คนทั่วไปเข้าใจอย่างนั้น

มีไม่มากคนนักหรอกที่ทราบว่า นอกจากกิจการดังกล่าวแล้วสุพจน์ยังเป็นบุคคลระดับ “ผู้หนุนหลัง” ของวงการคอมมอดิตี้ ซึ่งกิจกรรมด้านนี้ สำหรับสุพจน์แล้วก็คงไม่อยากให้ใครทราบอยู่ด้วย

“โธ่ คุณเรื่องอย่างนี้ใครอยากเปิดตัว วงการคอมมอดิตี้นั้นน่ะถูกมองว่าเป็นพวกบ่อนการพนัน ใครจะเอาชื่อเสียงไปเสี่ยง โดยเฉพาะคนที่มีกิจการด้านเปิดเป็นสถาบันการเงินอย่างสุพจน์...” แหล่งข่าวระดับสูงที่ทราบเรื่องดีชี้ถึงเหตุผล

ส่วนว่าสุพจน์เข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการคอมมอดิตี้ได้อย่างไรและทำไมถึงก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลระดับ “เจ้าพ่อ” ได้นั้นแหล่งข่าวหลายคนได้ช่วยกันเล่าให้ฟังว่า ประเด็นสำคัญก็คือวงการนี้เขาแตกกันเป็นก๊กคุมกันไม่ติด ก็เลยเกิดช่องว่างพอที่สุพจน์จะเข้าไปสร้างอาณาจักร...

กล่าวคือเมื่อประมาณปลายปี 2521 ผู้ประกอบธุรกิจคอมมอดิตี้ ได้รวมตัวก่อตั้งเป็นชมรมผู้ประกอบการคอมมอดิตี้ขึ้น มีทนุ กุลเศรษฐศิริ เจ้าของบริษัทเมอร์ลิน คอมมอดิตี้ส์ เทรดดิ้ง เป็นประธานของชมรมคนแรก ชมรมที่ว่านี้ได้รวบรวมกิจการคอมมอดิตี้กว่า 10 แห่งเข้ามา อย่างไรก็ตาม พอรวมตัวได้ไม่นานนักก็ได้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรงในเรื่องโครงการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าล่วงหน้าขึ้นในบ้านเรา เสียงส่วนใหญ่นั้นต้องการให้ชมรมฯ เป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ทนุค้านหลักการข้อนี้ สุดท้ายเรื่องก็ลงเอยโดยทนุต้องลาออกจากตำแหน่งประธานฯ แยกออกไปตั้งตัวเป็นก๊ก ก๊กหนึ่งข้างนอก

ทนุร่วมกับกิจการคอมมอดิตี้อีกประมาณ 5 แห่งเมื่อออกมาจากชมรมฯ ก็พยายามวิ่งเข้ามาธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง ผ่านทางกลุ่มพ่อค้าส่งออก เสนอความคิดขอให้ธนาคารใหญ่แห่งนั้นรับเป็นผู้ดำเนินงานจัดตั้งตลาดกลางคอมมอดิตี้ขึ้น ว่ากันว่าการเดินทางของก๊กทนุนี้ ทำไปได้ถึงขั้นสต๊าฟวิชาการของธนาคารใหญ่ให้ความสนใจจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญจากตลาดชิคาโกมาให้คำปรึกษาอยู่พักหนึ่ง แต่ลุ้นกันได้พักเดียวก็เงียบไปจวบจนขณะนี้

ด้านชมรมฯ หลังจากการลาออกของทนุก็มีก๊กใหม่ขึ้นมานำคือก๊กของ สุขุม พหูสูตร เจ้าของบริษัทสยามอินเตอร์ คอมมอดิตี้ส์ แอนด์แชร์, ประสาท ผลนุกูลกิต เจ้าของบริษัทเอเซีย คอนติเนนตัล คอมมอดีตี้ส์ และทวีศักดิ์ อชรางกูร เจ้าของบริษัทคิงลี่ ออร์แกไนเซชั่น ก๊กนี้พยายามวิ่งเต้นตั้งตลาดกลางฯ เช่นเดียวกันจะต่างกันก็แต่เส้นทางที่ผลักดันกลับผ่านทางสภาผู้แทนฯ และดำเนินงานไปไกลขนาดเคยพาคณะกรรมาธิการการเงินการคลังสมัยที่พานิช สัมภวคุปต์ กับสมัคร สุนทรเวช เป็นประธาน แต่ละคณะอยู่ไปดูงานตลาดกลางซื้อขายล่วงหน้าที่ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์มาแล้ว

หลังกลับจากดูงานการยกร่างกฎหมายจัดตั้งตลาดกลางก็เริ่มขึ้นและเตรียมเสนอเข้าสู่สภาฯ โดยประธานกรรมาธิการเศรษฐกิจ แต่ที่สุดก็ไม่เป็นผลเช่นเดียวกันเพราะพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และบังเอิญผู้ที่รู้เรื่องและเห็นความสำคัญหลายคนหลังเลือกตั้งต้องแปรสภาพเป็น ส.ส.สอบตก ความพยายามของก๊กนี้จึงพับตามไปด้วย “ตอนนี้หลายคนวางมือเลิกกิจการไปแล้วก็มีครับ...” แหล่งข่าวคนหนึ่งเล่า

ในขณะที่กิจการคอมมอดิตี้ 2 ก๊กนี้กำลังพันตูกันอย่างสุดเหวี่ยงเพื่อช่วงชิงการเป็นผู้จัดตั้งตลาดกลางฯ นั้นที่จริงยังมีกิจการคอมมอดิตี้ขนาดเล็กๆ ประมาณ 10 แห่งวางตัวอยู่วงนอกเฉยๆ หรือปล่อยให้กลุ่มบริษัทใหญ่ๆ เขาว่ากันไป

ครั้นความขัดแย้งระหว่ง 2 ก๊กนับวันยิ่งรุนแรงและยังไม่มีก๊กใดเพลี่ยงพล้ำแก่ก๊กใด การเคลื่อนไหวรวมตัวของกลุ่มบริษัทเล็กๆ นี้ก็เกิดขึ้น ทั้งนี้เป้าหมายไม่ได้เป็นการรวมตัวเพื่อผลักดันการตั้งตลาดกลางเหมือนกับ 2 ก๊กแรก หากแต่เน้นการทำธุรกิจโดยอาศัยช่องว่างและระยะเวลาที่เหลืออยู่ก่อนจะมีตลาดกลางเกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์เท่านั้น

ตรงนี้เองที่สุพจน์ เดชสกุลธร เริ่มเข้ามา...

ต้นปี 2525 ได้มีการตั้งบริษัทโปรเกรส อินเวสเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแต้นท์ ขึ้นและบริษัทดังกล่าวนี้มีสุพจน์สนับสนุนอยู่เงียบๆ ข้างหลัง

โปรเกรสฯ เมื่อตั้งขึ้นมาแล้วก็รวบรวมบริษัทเล็กบริษัทน้อยประมาณ 10 บริษัทที่ไม่สังกัดก๊กใดนั้นเข้ามาเป็นเครือข่ายและกลายเป็นอีกก๊กหนึ่งที่น่าเกรงขามของวงการในเวลาที่ออกจะรวดเร็วไม่น้อย

ต่อมาก็เป็นที่ทราบกันว่าก๊กที่รวบรวมกันขึ้นใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า “กลุ่มนักธุรกิจสัมพันธ์” มีคนระดับนำอยู่ 4 คนด้วยกันคือ บุญสิทธิ์ วิบูลย์ลาภ แห่งบริษัทแซบุ อินเวสต์เม้นท์ฯ นิพนธ์ ช่อชัยทิพย์ แห่งจอมเทียนลิซซิ่งฯ มาโนชญ์ ตันติปาลกุล แห่งโปรเกรส อินเวส์เม้นท์ฯ และคนหนุ่มไฟแรง วีรศักดิ์ เอื้อวงศ์เชิดชู แห่งโปรเกรส เครดิต

สำหรับนิพนธ์แล้วเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเขาเป็น “มือขวา” ของสุพจน์ ส่วนคนอื่นๆ ก็ล้วนใกล้ชิดกับสุพจน์ทั้งสิ้น

ปัจจุบันเชื่อกันว่าเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในวงการคอมมอดิตี้เกือบครึ่งตกอยู่กับก๊กนี้ ก็อย่างนี้แล้วจะไม่เรียกเป็น “เจ้าพ่อ” ได้อย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us