Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 ตุลาคม 2546
B-LANDรุกเพิ่มทุนเต็มสูบNC-ชาญฯคืบ             
 


   
search resources

วรรณ, บลจ.
บางกอกแลนด์, บมจ.
ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์, บมจ.
เอ็น.ซี. เฮ้าส์ซิ่ง, บมจ.
สุรเกียรติ วงศ์วาสิน
อนันต์ กาญจนพาสน์
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
สงกรานต์ อิสสระ
สมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม
Real Estate




บางกอกแลนด์ (B-LAND) ยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ในอดีต เพิ่มทุนใหม่ครั้งมโหฬารอีก 4,500 ล้านบาท จาก 6 พันล้านบาท เป็น 1.05 หมื่นล้านบาท ขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง หุ้นละ 1.60 บาท พร้อมแจกวอร์แรนต์ผู้ถือหุ้นเดิม สัดส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์ และลดพาร์เหลือ 1 บาท แจงนำเงินชำระหนี้และเป็นทุนหมุนเวียน จะทำให้หนี้สินต่อทุน (D/E) ลดจาก 9.81 เหลือเพียง 4.77 เท่า ส่งผลแมลงเม่าเทขายหุ้นกลุ่มอสังหาฯ วานนี้หนัก ขณะที่เอ็นซี เฮ้าซิ่ง (NC) เตรียมเข้าตลาดหุ้นปี 47 ส่วน ขณะที่ชาญอิสสระ (CI) ออกกองทุนอสังหาฯ พันล้านบาท ขายนักลงทุนทั่วไป โดย บลจ. วรรณบริหาร

นายอนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) (B-LAND) เปิดเผยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ว่า อนุมัติโอนเงินจากสำรองส่วนทุนและจากทุนสำรองตามกฎหมาย และทุนสำรองส่วนล้ำมูลค่าหุ้น เพื่อลดขาดทุนสะสมบางส่วนของบริษัท

เพื่อให้การโอนเงินจากทุนสำรองดังกล่าว เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงการติดต่อกับผู้สอบบัญชีบริษัท เพื่อตรวจสอบขาดทุนสะสมของบริษัท ณ 30 ก.ย.

นอกจากนี้ อนุมัติลดทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 10,000 ล้านบาท เหลือ 6,000 ล้านบาท โดยยกเลิกหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่าย 400 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เพื่อบริษัทจะเพิ่มทุน และอนุมัติลดมูลค่าหุ้น ที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 10 บาทเหลือ 1 บาท

ทุนจดทะเบียนบริษัทจะคงเดิม คือ 6,000 ล้าน บาท แต่หุ้นสามัญบริษัทจะเพิ่มจาก 600 ล้านหุ้น พาร์ 10 บาทเป็น 6,000 ล้านหุ้น พาร์ 1 บาท

ยังมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 6,000 ล้านบาท เป็น10,500 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญใหม่ 4,500 ล้านหุ้น พาร์ 1 บาท ยังอนุมัติออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) ไม่เกิน 2,000 ล้านหน่วยให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมีชื่อในสมุดทะเบียนบริษัท ณ 20 ต.ค.

วอร์แรนต์ดังกล่าวอายุ 3 ปี อัตราส่วน 3 หุ้นเดิม ซึ่งจะคิดจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ใหม่ หลังลดพาร์เหลือหุ้นละ 1 บาทแล้ว จะมีสิทธิได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยฟรี

อัตราใช้สิทธิ 1 หน่วยต่อ 1 หุ้น จำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ เพื่อรองรับใช้สิทธิ 2,000 ล้านหุ้น หลังจากลดพาร์เหลือหุ้นละ 1 บาท ราคาใช้สิทธิ 1.80 บาท

นายอนันต์กล่าวว่า บอร์ดบริษัทฯ ยังอนุมัติจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน 4,500 ล้านหุ้น แบ่งเป็น 2,500 ล้านหุ้น จัดสรรเพื่อเสนอขายบุคคลวงจำกัด ซึ่งรวมถึงผู้ลงทุนสถาบัน ราคา 1.60 บาทต่อหุ้น

การออกและเสนอขายหุ้นดังกล่าว จะทำหลังจากบริษัทลดพาร์เหลือหุ้นละ 1 บาทแล้ว ส่วนอีก 2,000 ล้านหุ้น สำรองสำหรับการใช้สิทธิของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ

นายอนันต์เปิดเผยวัตถุประสงค์เพิ่มทุนว่าเพื่อใช้คืนหนี้บางส่วนของบริษัท แบ่งเป็นเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท เพื่อใช้ชำระคืนเงินมัดจำ และค่างวด รวมทั้งดอกเบี้ยให้ลูกค้าบริษัท ภายใต้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์

"ผมรู้สึกยินดีที่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในอนาคตธุรกิจอสังหาฯ ของไทย ซึ่งการเพิ่มทุนเพื่อขาย PP จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนให้กับนักลงทุนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อภาระหนี้สินลดลง จะทำให้บริษัทสามารถขยายโครงการตามแผนที่ตั้งไว้" นายอนันต์กล่าว

โดยเงินประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อใช้ชำระหนี้ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตามสัญญาจ้าง ซึ่งลูกค้าและผู้รับเหมาก่อสร้างดังกล่าว ไม่ได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และ/หรือผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เงินที่เหลือ 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนบริษัท

ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการเพิ่มทุน / การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน บริษัทสามารถนำไปชำระหนี้บริษัท จะทำให้หนี้สินบริษัทลดลง ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแกร่งฐานะการเงินบริษัท และทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) ลดจาก 9.81 เหลือ 4.77 คำนวณจากงบการเงินสอบทาน ณ 30 มิ.ย.ทำให้บริษัทมีเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจบริษัทมากขึ้น

กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อสิทธิประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2546 และสิทธิจองซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 20 ต.ค. จนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้น ดังกล่าวจะเสร็จ

ราคาหุ้น B-LAND วานนี้ รับข่าวการเพิ่มทุนบริษัทมโหฬารครั้งนี้ กระทบดัชนีตลาดหุ้นไทยลดต่อเนื่อง วานนี้ หุ้น B-LAND ราคาปิด 19.50 บาท ลดลง 1.60 บาท วูบ 9.14% มูลค่าซื้อขาย 401.69 ล้านบาท ติดอันดับหุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ 6

เอ็น.ซี.ฯ เล็งเข้าตลาดฯ ต้นปี 47

ทางด้านนายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด ในเครือเอ็น.ซี.กรุ๊ป กล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ และบริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ แอดไวเซอรี่ ศึกษาเรื่องการจัดโครงสร้างใหม่ เพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่าจะสรุปผลการศึกษาและเข้าจดทะเบียนได้ในราวต้นปีหน้า

"ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 266 ล้านบาท คาดว่าจะต้องเพิ่มทุนเป็น 800 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำไปใช้ลงทุนในโครงการบ้านจัดสรรแห่งใหม่ รวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนิน งาน จากปัจจุบันที่มีโครงการอยู่ระหว่างดำเนินงาน 6 แห่ง และล่าสุดได้เปิดตัวโครงการใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ โครงการบ้านฟ้า กรีนพาร์ค รอยัล พุทธมณฑล สาย 1 มูลค่า 771 ล้านบาท และโครงการบ้านฟ้า รังสิต คลอง 2 มูลค่า 200 ล้านบาท"

ด้านผลประกอบการในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มียอดขายแล้ว ประมาณ 2,100 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมียอดขายอีก 1,100 ล้านบาทเศษ รวมเป็นมียอดขายทั้งสิ้น 3,200 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา 30% ที่มียอดขาย 2,400 ล้านบาท

กองทุนรวมอสังหาฯ บางกอกเปิดจอง 10-20 ต.ค.นี้

นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เปิดเผยในพิธีลงนามในสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายและตัวแทนจำหน่าย "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์บางกอก"ในฐานะผู้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนฯ ว่า กองทุนนี้มีขนาดเริ่มต้นที่ 1,000 ล้านบาท โดยจะลงทุนในห้องชุดสำนักงานและห้องชุดพาณิชยกรรมในอาคารอิสสระทาวเวอร์ 1 และ 2 โดยทั้งสองอาคาร มีพื้นที่รวม 29,386.24 ตารางเมตร มีค่าเช่าเฉลี่ยตารางเมตรละ 250-260 บาท โดยมีอัตราการเช่าที่ 90.68% และ 95.83% ตามลำดับ

กองทุนนี้เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนร่วมเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท จะได้เงินปันผลปีละไม่เกิน 4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกองทุน อีกทั้งเป็นกองทุนเปิดสามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนหลักทรัพย์ทั่วไป ในหมวดของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเริ่มซื้อขายได้หลังจากที่เปิดให้จอง 30 วัน โดยจะเสนอขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 10-20 ตุลาคมนี้

ขณะเดียวกัน ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และสำหรับบุคคลธรรมดาบริษัทจัดการจะทำการให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% และไม่ต้องนำเงินได้จากการปันผลไปคำนวณเพื่อเสียภาษี รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรจากการขายหน่วยลงทุนด้วย ซึ่งจุดเด่นดังกล่าวเชื่อว่า กองทุนฯ จะได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออม เพราะจะมีผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินไว้ที่สถาบันการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก คาดว่าจะมีผลตอบแทนประมาณ 5%

ด้านนายสงกรานต์ อิสสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารกองทุน กล่าวว่า บริษัทมีประสบการณ์ด้านการบริหารอาคารสูงหลายแห่ง ทั้งอาคารของบริษัทเองและอาคารของบริษัทอื่น ได้แก่ อาคารชาญอิสสระทั้ง 2 อาคาร, อาคารสิรินรัตน์, อาคารเบญจจินดา,อาคารลาส โคลินาส และ อาคารบรมราชกุมารีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น จึงมั่นใจว่าจะสามารถบริหารอาคารได้ดี เห็นได้จากที่กลุ่มบริษัทชั้นนำในระดับสากล เลือกใช้พื้นที่ของอาคารชาญอิสสระ เช่น กลุ่มบริษัทซีเมนส์ บริษัท บูทส์ รีเทล รวมถึงสายการบิน

"แม้ว่าบริษัทจะขายอาคารชาญอิสสระทั้งสองอาคารให้กับกองทุน ในราคารวมทั้งสิ้นประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ก็ไม่ได้ทำให้บริษัทขาดรายได้จากค่าเช่า เพราะบริษัทถือหน่วยลงทุนประมาณ 30% ซึ่งจะมีรายได้ผลตอบแทนจากการลงทุน และรายได้จากการบริหารอาคาร"

นายสุรเกียรติ วงศ์วาสิน หัวหน้ากลุ่มพาณิชย์ธนกิจ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ ในฐานะที่ปรึกษากองทุนฯ กล่าวว่า กองทุนฯนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการนำเงินไปลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพและสามารถก่อให้เกิดรายได้เพื่อนำมาจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และธนาคารเองก็จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมในการเป็นที่ปรึกษา

ธนาคารได้นำประสบการณ์และความสำเร็จจากการเป็นผู้บุกเบิกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือ REITS ในประเทศสิงคโปร์ มาเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อจัดโครงสร้างในแบบของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย

"แนวคิดในการทำกองทุนฯ ในลักษณะนี้นอกจากกลุ่มอาคารสำนักงานแล้ว ยังจะขยายไปยังกลุ่มที่พักอาศัย และศูนย์การค้า เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน และทางธนาคารเองก็จะพิจารณาว่า NPA ตัวไหนของธนาคารมีศักยภาพพอก็อาจนำมาปัดฝุ่นเพื่อจัดตั้งกองทุนในลักษณะนี้ขึ้นอีกก็ได้" นายสุรเกียรติกล่าว

นายสุรเกียรติกล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์นี้มีแนวคิดที่จะจัดตั้งขึ้นอีกหลายกอง โดยร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จักการกองทุนอื่นที่มีความพร้อมในขณะนั้น เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางบวก เพราะเมื่อพิจารณาจากอัตราการเติบโตของจีดีพีหากเป็นไปตามที่รัฐบาลตั้งเป้าปีหน้าที่ระดับ 8% ก็น่าจะมีกองทุนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นอีกมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us