Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 ตุลาคม 2546
สินค้าเร่งปรับตัวรับอาฟตาพีแอนด์จีเตรียมถล่มลีเวอร์             
 


   
www resources

P&G Homepage

   
search resources

พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย), บจก.
แสงโสม
กันยงวัฒนา
ธนิต ธรรมสุคติ
อนันต์ บรรเจิดธรรม




กลุ่มยักษ์ใหญ่สินค้าอุปโภคบริโภค เตรียมเปิดศึกตลาดรองรับอาฟตามีผลใช้ ช่วยลดภาษีสินค้านำเข้าหลายประเภทเหลือ 0-5 % "พีแอนด์จี" สบช่องเล็งทำตลาดผงซักฟอกและสบู่ถล่มบรีสและลักส์ของค่ายยูนิลีเวอร์ ด้าน "ธนิต"เชื่อรัฐบาลไทยเร่งแก้ภาษีสุราซ้ำซ้อนให้เหล้าไทย แข่งขันได้ ชี้อาฟตาทำให้เหล้าต่างประเทศโจมตีตลาดไทยหนัก ขณะที่ส่งออกไทยไม่ได้รับการยอม รับ ส่วนตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าป่วนหนัก ญี่ปุ่น-เกาหลี-ไทย เจอสงครามราคา

ความเคลื่อนไหวหลังอาฟตาจะมีผลบังคับใช้ในปี 2548 ส่งผลให้บรรดาบริษัทเจ้าของสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติเริ่มวางแผนที่จะนำสินค้าเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย โดยอาศัยผลประโยชน์ จากการที่อัตราภาษีลดลง จะทำให้สามารถนำสินค้าเข้ามาตีตลาดได้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบกับสินค้า ของคนไทยรวมไปถึงสินค้าของต่างประเทศที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว

พีแอนด์จีส่งสินค้าโต้ยูนิลีเวอร์

สำหรับตลาดอุปโภคบริโภค ค่ายพีแอนด์จีมีสินค้าคอนซูเมอร์สำคัญอีก 3 กลุ่มที่ยังไม่ได้ทำตลาดในไทยอย่างจริงจังเพราะไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ คือ ผงซักฟอก สบู่เพื่อความงาม และยาสีฟัน ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าภายใต้ข้อตกลงร่วมของประเทศกลุ่ม สมาชิกอาเซียนทั้ง 6 ที่เร่งรัดให้ลดภาษีการนำเข้าให้เหลือ 0% จะเปิดทางให้พีแอนด์จีมีโอกาส บุกตลาดอุปโภคบริโภคในไทยมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ผลิตภัณฑ์สำคัญคือ ผงซักฟอก และสบู่ ที่มีแนวโน้มอย่างมากว่าพีแอนด์จีจะนำเข้ามาทำตลาดในไทย เพราะเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ความต้องการของตลาดมีแน่นอน ซึ่งปัจจุบันพีแอนด์จีมีโรงงานผงซักฟอกในฟิลิปปินส์ และมีโรงงานผลิตสบู่ในมาเลเซีย ที่สามารถใช้เป็นฐานการผลิตและนำเข้ามาเมืองไทยได้

ทั้งนี้ หากภาษีนำเข้าลดลงเหลือ 0% จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าของสินค้าทั้งสองประเทศต่ำเทียบเท่ากับผลิตในประเทศ โดยปัจจุบันพีแอนด์จีมีผงซักฟอกไทด์และสบู่หอมคาเมย์ ซึ่งที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้นำตลาดในหลายประเทศมาแล้ว ที่สำคัญพีแอนด์จีเคยทดลองตลาดผงซักฟอกชนิดน้ำด้วยการนำเข้าไทด์ และไอโวรี่ เข้ามาจำหน่ายในไทยในช่วงหนึ่งด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเหตุผลสำคัญมาจากนำเข้ามาจากต่างประเทศจึงต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงราคาขายในไทยจึงสูงกว่าแบรนด์ที่ผลิตในเมืองไทยถึงสองเท่า และแบรนด์ยังใหม่คนไทยยังไม่รู้จัก

เหล้าไทยเตรียมตัวเจ็บ

นายธนิต ธรรมสุคติ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท แสงโสม จำกัด เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่าจากการที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยงดเว้นไม่เรียกเก็บภาษีเหล้าและการลดหย่อนภาษีสุรา เพื่อการแก้ไขปัญหาภาษีสุราซ้ำซ้อน จากเดิมผู้ประกอบการไทยจะเสียภาษีถึง 2 ต่อ คือ การเสียภาษีนำเข้าหัวเชื้อจากต่างประเทศ และการเสียภาษีระหว่างการทำในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เหล้าไทยเสียภาษีมากกว่า 5%

ขณะที่เหล้าต่างประเทศที่ใช้ฐานการผลิตในประเทศอาเซียนตามข้อกำหนดที่ว่าจะต้องมีสัดส่วนวัตถุดิบ หรือปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตในประเทศอาเซียนไม่ต่ำกว่า 40% จะได้รับการลดอากรศุลกากรจากอัตราปกติ 60% เหลือเพียง 5% ทำให้กลุ่มสุราที่ผลิตนอกกลุ่มประเทศอาเซียนสามารถใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อใช้ฐานเป็นสินค้าที่ผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว

การปรับลดภาษีเหล้าไทยในครั้งนี้ เชื่อว่ารัฐบาลไทยได้เตรียมตั้งรับกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรืออาฟตา เพื่อแก้ไขให้เหล้าไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม การเปิดเขตเสรีทางการค้าอาฟตา ก็ยังส่งผลเสียสำหรับผู้ประกอบการเหล้าไทย คือ ทำให้คู่แข่งในการทำตลาดมีมากขึ้น บริษัทเหล้าจากต่างประเทศจะมุ่งทำตลาดโดยเฉพาะประเทศไทย เนื่องจากคนภายในประเทศมีพฤติกรรมการดื่มเหล้ามากกว่าประเทศในแถบอาเซียน ขณะที่การทำตลาดเหล้าไทยในต่างประเทศของผู้ประกอบการนั้น ก็ยังคงไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากแบรนด์ไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ

จีนคู่ชกที่น่ากลัวในไทย

นายอนันต์ บรรเจิดธรรม ผู้จัดการทั่วไปส่วนการตลาดและการขาย บริษัท กันยงวัฒนา จำกัด เปิดเผยว่า หากไทยเปิดเขตการค้าเสรีอาฟตากับจีน เชื่อว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนจะเข้า มาตีตลาดไทยอย่างหนักมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ราคาเข้ามาทำตลาด ซึ่งจะทำให้การแข่งขันตลาด เครื่องใช้ไฟฟ้ามีความรุนแรงมากขึ้น ขณะแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือ แบรนด์ จากญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงผู้ประกอบการไทยด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแบรนด์ต่างๆเร่งปรับกลยุทธ์ การทำตลาดโดยหันมาเน้นนวัตกรรมของเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น

สำหรับกรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเนชั่นแนล ขณะนี้กำลังวางแผนที่จะปรับภาพลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนภายใต้แบรนด์พานาโซนิคทั้งหมด ทั้งนี้เชื่อว่าเหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจีนเข้าโจมตีอย่างหนัก โดยการปรับภาพลักษณ์ใหญ่ในครั้งนี้ เพื่อต้องการยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์สินค้ามากขึ้น เนื่องจากภาพลักษณ์ของแบรนด์เนชั่นแนลเก่า ขณะที่พานาโซนิคจะมีภาพลักษณ์ที่ทันสมัยมากกว่า

ตลาดของเล่นไทยป่วน

นางดวงใจ คูห์ศรีวินิจ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการธุรกิจของเล่นไทยจะต้องปรับตัว เพื่อรองรับสถานการณ์การแข่งขันทางตลาด เนื่องจากของเล่นจากประเทศจีนจะเข้ามาตีตลาด ไทยโดยใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเป็นปัจจัยสำคัญ และจากการสำรวจพบว่า ของเล่นจีนวางจำหน่ายตามท้องตลาดถูกกว่าของเล่นไทยโดยเฉลี่ย 20-50% และไม่เพียงจีนจะตีตลาดในไทยเท่านั้นทางด้านการส่งออกก็ใช้กลยุทธ์ราคาเช่นกัน โดยด้านการส่งออกราคาของเล่นจากจีนถูกกว่าโดยเฉลี่ย 20-30% ของการส่งออกของเล่นไทย

ทั้งนี้ สาเหตุที่ประเทศจีนเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากจีนเริ่มมีการเปิดเขตเสรีทางการค้าตั้งแต่ปี 2545 ในขณะที่อาฟตา มีการกำหนดเกณฑ์ภาษีสินค้านำเข้าประเภทต่างๆ ในประเทศอาเซียนจะต้องปรับลดลง 0% ในปี 2547 และหนึ่งในนั้นก็มีปรับภาษีสินค้านำเข้าประเภทของเล่นเช่นกัน ทำให้ของเล่นจากจีนมีราคาที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับของเล่นของไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us