Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 ตุลาคม 2546
บีเอ็มจีกรุ๊ปปรับองค์กรรื้อระบบขาย             
 


   
search resources

บีเอ็มจี ประเทศไทย
เบเกอรี่ มิวสิค
บีเอ็มจี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียแปซิฟิค
กมล สุโกศล แคลปป์
Musics




บีเอ็มจี ปรับโครงสร้างใหม่ดึง "สุกี้ กมล" นั่งเอ็มดี รวมการบริหารบีเอ็มจี เบเกอรี่ มิวสิคเข้าด้วยกัน เดินกลยุทธ์โปรโมตเพลงไทยคู่เพลงสากล ระบุตลาดเพลงสากลทั่วโลกตกต่ำ จากปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต ด้านเบเกอรี่ปีนี้ทำกำไรสูงสุดตั้งแต่เปิดบริษัท หลังปรับระบบจำหน่ายใหม่ ปิดทางมือดีแอบก๊อบปี้ เล็งเจาะตลาดคนสูงอายุ จับ ดิ อิมพอสซิเบิล กมลา สุโกศล ออกอัลบั้มใหม่

นายกมล สุโกศล แคลปป์ ประธาน บริษัทเบเกอรี่ มิวสิค จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2543 บีเอ็มจี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียแปซิฟิก เข้ามาถือหุ้นในเบเกอรี่ในสัดส่วน 51% ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ และเบเกอรี่ก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วยจึงเกิดการร่วมกิจการกันขึ้น รูปแบบการบริหารหลังการรวมกิจการแต่ละบริษัทจะแยกกันบริหาร โดยเบเกอรี่เน้นทำตลาดเพลงไทย ด้านการผลิต การตลาด และส่งเสริมการขาย ส่วนบีเอ็มจี ทำตลาดศิลปินต่างประเทศ และยังช่วยดูแลการขาย การเงิน ระบบปฏิบัติการ และการจัดจำหน่ายให้เบเกอรี่ด้วย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้เบเกอรี่เน้นการทำตลาดและสร้างผลงานอย่างเดียว

ล่าสุด เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา บีเอ็มจี ประเทศไทยได้ปรับโครงสร้างการบริหารอีกครั้ง โดยให้ตนเองเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แทนนายสุรชัย เสนศรี และได้ย้ายสำนักงานของทั้ง 2 บริษัทมาอยู่รวมกันที่ชั้น 18 อาคารวานิสสา ชิดลม ทำให้ลดพนักงานซ้ำซ้อนของส่วนแบ็ค ออฟฟิศ ลงไปประมาณ 10 คน ส่วนการทำงานอื่นๆ ของทั้ง 2 บริษัทยังคงเหมือนเดิม

ปัจจุบันยอมรับว่าธุรกิจเพลงต่างประเทศทั่วโลกอยู่ในภาวะถดถอย ปีนี้มีอัตราลดลง 12% จากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่พบมากที่สุดคือบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งกลายเป็นปัญหาทั่วโลก จากเดิมการละเมิดลิขสิทธิ์จะระบาดหนักในเอเชีย และปัญหาที่ไม่มีอัลบั้มเพลงใหม่ และศิลปินที่น่าสนใจ จะเห็นได้ว่าปีนี้ไม่มีศิลปินต่างประเทศ หรือเพลงที่ได้รับความนิยม จนกลายเป็นศิลปิน และเพลงฮิตทั่วโลก คาดว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในตลาดโลกยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้รับผลกระทบจากวิกฤตในรูปแบบต่างๆ อีก

นายกมล กล่าวต่อว่า การเข้ามารับหน้าที่บริหารบีเอ็มจี ประเทศไทย จะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไทยๆ เข้ามาผนวกใช้ในเพลงสากล ที่ผ่านมาการทำตลาดของเบเกอรี่ และบีเอ็มจี จะแยกกันโปรโมต โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่บีเอ็มจีไม่เคยออกไปโปรโมตเพลง เพราะยอดขายเพลงต่างประเทศ 90% จะอยู่ในกรุงเทพฯ แต่เห็นว่าในบางตลาดที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว เช่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต บางครั้งจำเป็นต้องออกไปโปรโมตด้วย โดยหลังจากนี้หากศิลปินของเบเกอรี่ออกไปโปรโมตเพลงในต่างจังหวัด ก็จะนำเพลงของบีเอ็มจีออกไปโปรโมตด้วย

สำหรับการทำตลาดเพลงบีเอ็มจีปีนี้ วางจำหน่ายงานเพลงประมาณ 150 อัลบั้ม ในไตรมาสสุดท้ายนี้ถือเป็นช่วงฤดูขายของเพลงสากล บีเอ็มจีได้เตรียมวางแผงศิลปินดังๆ ไว้อีก หลายอัลบั้ม เช่น Dido เพลงคู่ของมาดอนน่าและบริทนีย์ สเปียร์ พิ๊งค์ เอสวิส เวสต์ไลฟ์ เป็นต้น ปีนี้จะวางตลาดดีวีดี วีซีดี คาราโอเกะ มิวสิคเพลงของศิลปินต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่ขยายตัวสูง นอกจากนี้จะนำเพลง ของบีเอ็มจีไปทำริงโทน เช่นเดียวกับของค่ายเบเกอรี่ด้วย ซึ่งเป็นอีกธุรกิจที่ทำรายได้สูง ปีที่ผ่านมามีรายได้เพียง 3 แสนบาท แต่ปีนี้น่าจะทำรายได้ถึง 10 ล้านบาท

ด้านการบริหารเบเกอรี่ปีนี้ได้ปรับรูปแบบการจัดจำหน่ายใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยในช่วง 4 เดือนแรกของการสั่งซื้ออัลบั้มออกใหม่จะให้ร้านค้าคืนสินค้าได้ 100% หลังจากนั้นจะให้คืน 10% เท่านั้น โดยปกติยอดขายอัลบั้มเพลงสูงสุดจะอยู่ในช่วง 2 เดือนแรก หลังจากเริ่มใช้ระบบจัดจำหน่ายใหม่พบว่าอัลบั้มเพลงของเบเกอรี่มียอดคืนแค่ 11% ลดลงจากปี 2543 ที่มียอดคืนถึง 40%

สำหรับผลประกอบการของเบเกอรี่ ปีนี้เป็นปีแรกที่ทำกำไรสูงสุดตั้งแต่เปิดบริษัทในปี 2537 โดยการบริหารในปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจประเทศไทย 2540-2542 มีผลประกอบการคุ้มทุน ปี 2543 รวมกิจการกับบีเอ็มจี ปี 2544 ขาดทุน ปี2545 เริ่มมีกำไร 3% และปีนี้คาดว่าจะทำกำไร 22% โดยยอดขายมีอัตราการเติบโต 30% ส่วนปีหน้าจะเป็นปีที่เบเกอรี่มีอัตราการเติบโตสูงอีกปี ตั้งเป้าหมายไว้ 40%

"เบเกอรี่ เป็นค่ายเพลงที่อยู่ในตลาดระดับกลางเพียงรายเดียว คือไม่จับตลาดแมส และไม่จับตลาดเฉพาะกลุ่ม คนฟังเพลงเบเกอรี่จะเป็นคนรุ่นใหม่ คนทำงาน และคนสูงอายุ ขณะที่กลุ่มคนฟังของค่ายเพลงส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น เบเกอรี่จึงมีเป้าหมายจะขยายฐานตลาดกลุ่มนี้ให้ขยายตัวมากขึ้น โดยสร้างสรรค์งานเพลงมาเจาะตลาดนี้โดยเฉพาะ เพื่อทำให้ธุรกิจของเบเกอรี่ขยายตัวตามกลุ่มผู้ฟัง"

ปีนี้เบเกอรี่ เตรียมจะออกผลงานเพลงเพื่อมาทำตลาดคนรุ่นใหม่ คืองานของ เบน ชลาทิศ Pilk กลุ่มผู้ใหญ่ ก็จะเป็นงานของ บอย โกสิยพงษ์ นภ พรชำนิ พรู รัดเกล้า อามระดิษ นอกจากนี้จะขยายงานเพลงเข้าไปเจาะตลาดคนสูงอายุ ด้วยการนำวงดิ อิมพอสซิเบิล และกมลา สุโกศล มาออกอัลบั้มเพลงชุดใหม่ เนื่องจากพบว่าเพลงที่ เศรษฐา ศิระฉายา และกมลา สุโกศล เป็นนักร้องรับเชิญในอัลบั้มของ บอย ชุดล่าสุดได้รับความนิยมสูงมาก แสดงว่าผู้ฟังสูงอายุเป็นอีกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปทำตลาด และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และไม่นิยมซื้อสินค้าละเมิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us