|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมนั้น ดูเหมือนว่าน่าจะอยู่ตรงข้ามกัน แต่จริงๆ แล้วมันเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวอย่างแยกกันไม่ออกทีเดียว เพียงแต่ต้องดูให้ลึกลงไปในอีกมิติหนึ่งเท่านั้น ดังเช่น สสารกับพลังงาน ต้องมีคนอย่างไอน์สไตน์มาคิดสมการแปรผันเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน แต่เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่เห็นได้ไม่ยากนัก
โดยพื้นฐานแล้ว เศรษฐกิจคือระบบ ที่ประกอบด้วยกระบวนการใหญ่ๆ 2 กระบวนการ คือ การผลิต (production) และการบริโภค (consumption) ของสินค้าและบริการ หรือเราจะพูดอีกอย่าง หนึ่งว่า supply กับ demand ก็ได้ เศรษฐกิจที่ยุ่งยากอยู่ทุกวันนี้ เพราะมีกลเม็ดเด็ดพรายในการแข่งขันกันหลาย รูปแบบ และมีกลไกเกิดขึ้นมากมาย กลไกที่เชื่อว่าสมบูรณ์แบบ ตามหลัก เศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมคือ ระบบตลาดที่แข่งขันกันอย่างเสรี หรือทุนนิยม (capitalism)
เมื่อพิจารณาในแง่ความเป็นจริง ระบบเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนไป ได้ต้องอาศัย resources หรือทรัพยากร ต่างๆ ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ เงินตรา และบุคคล เมื่อเกิดการดึงเอาทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใช้ผลิต ใส่พลังงานเข้าไปแปรรูป ก็ต้องมีของเสียเกิดขึ้น เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย หากการใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่า มีการจัดการของเสียให้สลายตัวสู่ธรรมชาติได้ และแหล่ง ทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบมิได้ถูกดึงมาใช้มากเกินไป (จนเสื่อมโทรมหมดสภาพ) ประเทศ ก็สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง แต่หากการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่มีแบบแผนการจัดการที่ดี หรือมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน อย่างสุดๆ สร้างความนิยม อันฟุ่มเฟือยให้ผู้บริโภคเพื่อหวังการตลาด แน่นอน ปัญหาสิ่งแวด ล้อม สังคมต่างๆ ก็จะต้องตามมาและในที่สุดภาคเศรษฐกิจเองนั่นแหละก็จะล่มสลาย
รางวัลโนเบลจากผลงานที่ปฏิวัติ
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม
หลักการทางเศรษฐศาสตร์แบบใหม่ จึงเกิดขึ้นเพื่อสอดรับกับสภาพปัญหาที่ท้าทายสังคมโลกอยู่ในเวลานี้ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้ คือ เอลิเนอร์ ออสตรอม และโอลิเวอร์ วิลเลียมสัน เป็นผู้พิสูจน์ให้เห็นถึงความล้มเหลวของตลาดเสรีที่ก่อให้เกิดวิกฤติทางการเงินและเศรษฐกิจ โลกอยู่ในปัจจุบัน ได้เสนอแนะ แนวความคิดว่าระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงต้องคำนึงถึงต้นทุนของทรัพยากรส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม แต่ในการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม ในระบบตลาดเสรี จะดึงเอาทรัพยากรออก มาใช้ตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะมีการกระตุ้นตลาดให้เกิดความต้องการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราไม่ได้ให้ความสำคัญ ต่อต้นทุนจากทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของส่วนรวมเท่าที่ควร เช่น อากาศ ระบบ นิเวศ วงจรของสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ประจำถิ่น ซึ่งมี ความสำคัญต่อความสมดุล ความคงอยู่ของสภาพแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนอีกจำนวนมาก
การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักการเศรษฐศาสตร์แบบใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงช่วยลดความขัดแย้ง ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการเติบโต กล่าวได้ว่าเป็นแนวทาง ที่ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ความคิดเห็นต่างระหว่างพวกอนุรักษนิยม ทุนนิยม และวัตถุนิยม
อาจมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนค้านว่า ระบบการค้าเสรีและทุนนิยมเป็นกลไกที่สมบูรณ์แบบ สามารถแก้ปัญหาได้ในตัวเอง สามารถจัดการกับอุปสงค์และอุปทาน ให้ลงตัวได้ในที่สุด หลักการนี้อาจจะจริงในด้านการตลาด แต่หากคำนึงถึงสิ่งแวด ล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแล้ว ไม่ได้ตระหนักว่า กว่าความต้องการและการผลิตจะลงตัวได้ เราต้องใช้เชื้อเพลิง และทรัพยากรไปอย่างฟุ่มเฟือยมากแค่ไหน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้ภาวะโลกร้อนอย่างไร การผลิตเพื่อสนองต่อความต้องการฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงมิใช่แนวทางการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนอีกต่อไป เพราะเราต้องผจญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โลกร้อน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ส่วนคนจนก็ยังคงยากจนและไม่มีจะกินกันต่อไป
อาจมีนักเทคโนแครตผู้ยึดมั่นในเทคโนโลยีสมัยใหม่เชื่อว่า เมื่อภาวะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าสู่จุดวิกฤติจริงๆ มนุษย์นั้นย่อมปราดเปรื่องสามารถเอาตัวรอดได้เสมอ ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ก็สามารถที่จะหาทางยักย้ายถ่ายเท แก้ไขสถานการณ์ไปได้เสมอ เช่น แหล่งน้ำมันหมด ก็สามารถหาพลังงานอย่างอื่นมาทดแทนได้ เกิดของเสียออกมาก็สามารถบำบัดได้ เกิด ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็สามารถปรับตัวได้ ดังนั้นการจับความร่ำรวยและหาความสุขสะดวกสบายเอาไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งเติมเต็มให้แก่ชีวิต
การถกเถียงระหว่างผู้ที่เห็นต่างกันมิใช่มีอยู่ระหว่างบุคคล แต่มีอยู่ทั้งในระดับ ประเทศ และในเวทีเจรจาของโลกด้วยซ้ำ ยิ่งโลกก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติมากขึ้นเท่าไร การถกเถียงกันระหว่างพวก "อนุรักษนิยม" พวก "ทุนนิยม" และพวก "วัตถุนิยม" ก็ยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ มาบตาพุด-กรณีตัวอย่างของหลักเศรษฐศาสตร์ใหม่
กรณีที่เกิดขึ้นที่เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดของเมืองไทยเป็นกรณีตัวอย่าง ที่ดีของการประกอบอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นอยู่ของผู้คนและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกิดจากช่องว่างทางกฎหมายและนโยบาย ของรัฐที่ไม่ชัดเจน การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อ่อนแอ มองให้ดีจะเห็นได้ว่า เป็นกรณีตัวอย่างที่ให้บทเรียนในหลายๆ ด้าน ซึ่งรัฐไทยควรจะเรียนรู้ไว้แก้ไขจุดอ่อนจุดบกพร่อง แต่จะมีกี่คน กี่หน่วยงาน ที่จะยอมรับและตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพของตนเอง เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เคยแต่ใช้อำนาจ แต่ไม่เคยรับฟัง
ส่วนผู้ประกอบการต่างๆ ก็ควรจะแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนทิศทางการประกอบการไปสู่แนวหลักเศรษฐศาสตร์ใหม่ ที่คำนึงถึงทรัพยากรส่วนกลางและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลโดยการนำของคุณอภิสิทธิ์ที่ประชาชนคาดหวัง จะแก้ไขที่ปลายเหตุมิได้ แต่ควรหันกลับมาดูที่ต้นเหตุ และสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติที่ดี (best practices) บนพื้นฐานของความเป็นธรรม และความยั่งยืน วิกฤติโลกร้อนก็ต้องแกไขที่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
การจัดการกับภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกกรณีหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย เพราะการแข่งขันกันในการตลาด แต่ผลกระทบของภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดการเปลี่ยนภูมิอากาศอย่างรุนแรง ที่จะนำหายนภัยมาสู่ทุกๆ ส่วนของโลก ประเทศต่างๆ จึงจำเป็นที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหา ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศ EU ได้ออกมาเป็นผู้นำในการลดโลกร้อน ด้วยการแปรเปลี่ยนสังคมของตนให้เป็น 'low-carbon economy' ซึ่งก็คือตามแนวทางของหลักเศรษฐศาสตร์ใหม่
แต่การปฏิบัติให้ได้ตามหลักการก็มิใช่ง่ายนัก ทุกวันนี้ ในเวทีโลกก็ยังมิวายที่จะต้องโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นว่า ใครจะเป็นผู้ลดก๊าซเรือนกระจกแค่ไหน อย่างไร จน ณ วันนี้ก็ยังตกลงกันไม่ได้ (ยังไงก็จำเป็นจะต้องได้ข้อสรุป เมื่อมีการประชุมภาคีใหญ่ของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โคเปนเฮเกนในกลางเดือนธันวาคมนี้) การโต้แย้งกันเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศร่ำรวยที่พัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศยากจนที่กำลังพัฒนา
Developing countries ที่รวมกลุ่มกันเป็น G77 โดยมีจีนเป็นผู้นำ อ้างว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ developed ทั้งหลาย เมื่อร้อยปีก่อน ที่บัดนี้กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยมีความเป็นอยู่ที่ดี ประเทศ กำลังพัฒนาหรือเรียกง่ายๆ ว่า กลุ่ม G77 คิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ตนควรจะมีโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดได้บ้าง แต่การลดก๊าซเรือนกระจก (ลดการใช้เชื้อเพลิง) หมายถึงลดกิจกรรมการผลิตและใช้เชื้อเพลิงลง อาจกระทบต่อเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต (แบบดั้งเดิม) ลงได้
ส่วนประเทศร่ำรวยที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย รวมตัวกันเป็น G8 บ้าง G20 บ้าง ก็คิดว่า ตนจะดำเนินการลดก๊าซอย่างแข็งขันอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องให้ประเทศในกลุ่ม G77 ร่วมรับผิดชอบด้วย เล็งเป้าไปที่ประเทศจีนและอินเดีย โดยประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มีกลไกต่างๆ ออกมาจากเวทีเจรจาโลก ภายใต้ UNFCCC และ Kyoto Protocol ได้แก่ กลไก CDM (Clean Development Mechanism) ซึ่งเป็นการซื้อขาย carbon credit
ในโครงการริเริ่มต่างๆ ของผู้ประกอบการโดยมีรัฐเป็นผู้รับรองกลไก REDD (Reducing emission from deforestation and forest degradation in developing countries) โดยมีป่าไม้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลไก carbon footprint ที่กำหนดให้สินค้าต่างๆ ระบุการปล่อยก๊าซจากการผลิตไปจนถึงการใช้และการทิ้ง ตลอดจนกลไกที่พยายามทำกันอยู่แล้ว เช่น energy efficiency, renewable energy
ดูเหมือนว่า ทุกๆ ประเทศตระหนัก ถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการใช้เชื้อเพลิง ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกลง แต่ทำอย่างไรจึงจะไม่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ในทัศนะของกลุ่มประเทศ European Union (EU) เห็นว่า (จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงทางด้านสิ่งแวดล้อมของ EU เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้)
กลุ่มประเทศ EU ได้เตรียมพร้อมที่จะลดก๊าซลงให้ได้ตามเป้าหมาย และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านการลดก๊าซ (mitigation) และการปรับตัวต่อผลกระทบและภัยพิบัติ (adaptation) ส่วนการให้เงินทุนที่ต้องการ ย่อมขึ้นอยู่กับ ว่า ประเทศ developing countries เตรียมตัวที่จะดำเนินการไว้จริงจังแค่ไหน และมีศักยภาพ มีความพร้อมอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ย้ำว่า การลดก๊าซเรือนกระจกจากประเทศพัฒนาฝ่ายเดียว จะไม่ช่วยลดปัญหาลงได้มากนัก หากประเทศกำลังพัฒนาไม่ร่วมรับผิดชอบในการลดด้วย เพราะปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนานั่นแหละ (โดยเฉพาะ จีนและอินเดีย) ที่ปล่อยก๊าซออกมาเพิ่มขึ้นๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศในเวทีการประชุมสุดยอด G20 ที่ผ่านมาเมื่อเดือนกันยายนศกนี้ว่า ประเทศไทยจะไม่ลังเลเลยที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการลดภาวะโลกร้อน แต่แล้ว! เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย คุณอภิสิทธิ์ก็ไม่มีเวลาทำอะไรให้คืบหน้าต่อไป เพราะต้องแก้ปัญหาวุ่นวายทางการเมืองที่พัวพันกันอย่างหาทาง ออกแทบไม่ได้ ชีวิตของท่านเองก็แทบจะเอาตัวไม่รอด ท่านจึงมิได้ทำอะไรที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อน แต่กลับไปจับเรื่องกรณีมาบตาพุดอย่างคลำผิดคลำถูก หน่วยงานและแผนงานเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อนก็ยังค้างคาอยู่ ขาดงบประมาณดำเนินการ ขาดบุคลากร ขาดอุปกรณ์ และขาดทักษะ
ถ้ารัฐจะหันมาสนใจสักนิด ร่วมมือประสานกันอย่างจริงจัง ลดช่องว่าง เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างสัมพันธ์กับภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ประเทศไทยก็คงจะกลายเป็น 'low-carbon economy' ได้อย่างสบายๆ ด้วยเรามีหลักการและวิธีการทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริรองรับอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมผสมผสาน การป้องกันน้ำท่วมโดยการผันน้ำแบบแก้มลิง การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝก ล่าสุดคือ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าประยุกต์ใช้กับประตูระบายน้ำ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เพื่อแสดงความเชื่อมโยงระหว่างระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ว่าสามารถพัฒนาให้ควบคู่กัน ไปได้อย่างยั่งยืน ความเข้าใจในความสัมพันธ์นี้สำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในภาวะปัจจุบันที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการท้าทายที่มีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศที่ก้าวหน้าอย่างญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มตื่นตัวกันอย่างจริงจังแล้ว ที่จะผัน แปรระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเขาเข้าสู่ 'low-carbon economy' อย่างมีเป้าหมายให้ได้ในอนาคตอันใกล้
|
|
|
|
|