Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2552
แผนกู้โลกความจริงที่อยู่แค่เอื้อม             
 

   
related stories

Al Gore กับแผนการใหม่ในการกู้โลก
ฉีกร่างกฎหมายแก้ปัญหาโลกร้อน

   
search resources

Environment
Al Gore




เนื้อหาบางส่วนจาก Our Chance: A Plan to Solve the Climate Crisis
หนังสือเล่มใหม่ที่เขียนโดย Al Gore

อีกไม่นานหลังจากนี้ คนรุ่นลูกรุ่นหลานของเราจะมองกลับมาที่เราในวันนี้ วันที่เรากำลังตัดสินใจเลือก เพื่อที่พวกเขาจะถามคำถามใดคำถามหนึ่งใน 2 คำถามนี้ พวกเขา อาจจะถามว่า "พวกคุณกำลังคิดอะไรกันอยู่ ไม่เห็นหรือว่า น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายอยู่ต่อหน้าต่อตาพวกคุณ คุณไม่สนใจกันเลยหรือ"

หรือพวกเขาอาจจะถามว่า "คุณทำอย่างไร จึงได้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม จนกล้าลุกขึ้นแก้ปัญหาวิกฤติ ที่มีแต่คนบอกว่า ไม่มีทางจะแก้ไขได้"

เราต้องเลือกว่า คำถามใดคือคำถามที่เราต้องการจะตอบ และเราต้องตอบตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่ด้วยคำพูด แต่ด้วยการกระทำ

คำตอบของคำถามแรก เรากำลังคิดอะไรกันอยู่เป็นคำตอบ ที่เจ็บปวดจนผมแทบจะเขียนออกมาไม่ได้

"เรากำลังเถียงกันเอง เราไม่ต้องการจะเชื่อว่า ปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นจริงๆ เรารีรอนานเกินไป

เรามีปัญหาอื่นอีกเยอะแยะมากมายที่ต้องสนใจ แต่เราก็ได้พยายามแล้วจริงๆ เราขอโทษ"

คำถามที่ 2 เราแก้ไขมันได้อย่างไร เป็นคำถามที่ผมปรารถนาจะให้พวกเราได้ตอบมากกว่า และนี่เป็นคำตอบที่ผมหวังว่า เราจะตอบคนรุ่นหลังได้

"จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในปี 2009 ปีที่เริ่มต้นด้วยการมีประธานาธิบดีคนใหม่ ผู้เปลี่ยนแปลงนโยบายหันมาให้ความสำคัญกับการเน้นการวางรากฐานสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้คาร์บอนต่ำ แรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นดุเดือดรุนแรงนัก โดยเฉพาะที่มาจากบริษัททั้งหลายซึ่งทำเงินมหาศาลจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซ

"แต่ความจริงที่ว่าโลกกำลัง เผชิญปัญหาฉุกเฉินได้รับการยอมรับ หลักฐานที่มาจากนักวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้จะช้าในตอนแรก แต่หลังจากนั้น คนที่เคยไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงก็กลับเปลี่ยนแปลงตัวเอง

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม แต่มันได้สร้างความแตกต่างที่ทรงพลัง เมื่อคนที่เคยคัดค้านกลับกลายมาเป็นคนที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางใหม่ กระแสเริ่มเปลี่ยนทิศ คนอื่นๆ เริ่มทยอยเข้าร่วมทีละคนๆ ด้วยความรู้สึกที่เห็นพ้องต้อง กันเป็นเอกฉันท์อย่างมีพลังว่า เราจะต้องลงมือทำอย่างกล้าหาญ และรวดเร็ว เมื่อถึงสิ้นปี 2009 สหรัฐฯ สามารถผ่านกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงวิธีที่ธุรกิจและผู้นำพลเรือนใช้ในการวางแผนเพื่ออนาคต

ด้วยการกำหนดราคาที่ต้องจ่ายเมื่อสร้างมลพิษซึ่งเป็นสิ่งที่เคยถูกละเลยในอดีต สหรัฐฯ ได้สร้างสิ่งจูงใจครั้งใหญ่ที่ทำให้ประวัติศาสตร์เริ่มเปลี่ยนแปลง สิ่งจูงใจใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงการผลิตพลังงานของเรา จากเชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และความร้อนใต้พิภพ ก่อให้เกิด คลื่นแห่งการปรับปรุงเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน

เมื่อทุกคนเริ่มมีจิตสำนึกเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ทำให้ผู้คนทั่วโลกที่เป็นห่วงคนรุ่นหลังซึ่งก็คือพวกเธอ ต่างหาวิธีกดดันผู้นำของพวกเขา ก่อเกิดเป็นเครือข่ายคนรากหญ้านับแสนนับล้าน เครือข่าย

แม้ว่าจะมีหลายๆ ประเทศได้ก้าวขึ้นเป็นมาเป็นผู้นำ แต่ทันทีที่สหรัฐฯ ตื่นขึ้นมารับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน สหรัฐฯ ก็ได้ฟื้นการทำหน้าที่ทางจริยธรรมของตน อันเป็นสิ่งที่โลกคาดหวัง จะได้เห็นจากประเทศนี้อีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางในการแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายเป็นคำพูด จู่ๆ วิธีคิดของเราเปลี่ยนไป โลกเริ่มเข้ามายึดครองความคิดของเรา เราเกิดความรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมของโลก

ผมรู้ว่ารีรอนานเกินไป ผมคิดว่าเราควรลงมือทำเร็วกว่านั้น แต่ตอนนี้อนาคตข้างหน้าของพวกเธอก็ดูสดใสแล้ว บาดแผลที่เราสร้างไว้กับชั้นบรรยากาศและระบบนิเวศของโลกได้รับการเยียวยารักษาแล้ว

และน่าประหลาดใจที่สิ่งที่เราได้ทำในช่วง Great Transformation เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนต่ำ ได้กลับกลายเป็นสิ่งที่ช่วยฟื้นความรุ่งเรืองมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่เรา ทันทีที่เราเริ่มเดินไปบนเส้นทางแห่งการพิทักษ์โลกและปกป้องอนาคตของพวกเธอ งานใหม่นับสิบๆ ล้านตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงอาชีพใหม่เอี่ยมที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็ได้เริ่มเกิดขึ้น

ผมขอร้องพวกเธอสักอย่างได้ไหม หลังจากที่พวกเราได้ทำเพื่อพวกเธอมาแล้ว โปรดส่งต่อความกล้าหาญและความ มุ่งมั่นนี้ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปด้วย เพื่อให้พวกเขาลงมือแก้ปัญหาอย่างกล้าหาญและชาญฉลาด เมื่อใดก็ตามที่กำลังจะเกิดอันตรายต่ออนาคต พวกเธอจะต้องเผชิญกับการท้าทาย เหมือนกับที่พวกเราเคยเผชิญมาก่อนเช่นกัน แต่ผมรู้ว่า พวกเธอจะไม่ทำให้คนรุ่นหลังต้องผิดหวัง เช่นเดียวกับที่พวกเราไม่เคยทำให้พวกเธอผิดหวัง

การเลือกครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและจะคงอยู่ ไปชั่วนิรันดร์ มันอยู่ในมือของคนรุ่นนี้ เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงและเป็นการเลือกที่อาจถูกประณามหรือได้รับการสดุดีจากคนรุ่นหลังของเราตลอดไป"

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 9 พฤศจิกายน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us