|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และบรูไน มีข้อผูกพันจะต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในบัญชีสินค้าปกติ (Inclusion List: IL) เป็นร้อยละ 0 ขณะที่กลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพม่า จะลดภาษีสินค้าทั้งหมดที่อยู่ในบัญชีสินค้าปกติเป็นร้อยละ 0 ภายในปี 2558
นอกจากนี้ ภายใต้กรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA ยังมีรายการสินค้าภายใต้บัญชีอ่อนไหว (Sensitive List: SL) และบัญชีอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List: HSL) ที่จะยังไม่ลดภาษีเป็นร้อยละ 0 อีก 93 รายการจากรายการสินค้าทั้งหมด 8,300 รายการ
ในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหมดที่อยู่ในบัญชีสินค้าปกติที่ไทยต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 นั้น สินค้าข้าวเป็นสินค้าที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบต่อชาวนาและผู้เกี่ยวข้องในวงการค้าข้าว เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก โดยไทยต้องลดภาษีนำเข้าข้าวจากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0
ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้นข้าวอยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง ดังนั้น มาเลเซียจะลดภาษีนำเข้าข้าวลงจากร้อยละ 40 ในปี 2552 เหลือร้อยละ 20 ในปี 2553 อินโดนีเซียขอไว้เท่ากับอัตราเดิมที่ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลกคือ ร้อยละ 30 และจะลดลงเหลือร้อยละ 25 ในปี 2558 ส่วนฟิลิปปินส์จะคงภาษีนำเข้าไว้ที่ร้อยละ 40 ไปจนถึงปี 2557 และลดภาษีเหลือร้อยละ 35 ในปี 2558
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมา หลังจากการลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 คือปริมาณการนำเข้าข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจข้าวของไทย ตั้งแต่ชาวนา โรงสี โรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากข้าว ผู้บริโภคข้าวในประเทศ ไปจนถึงผู้ส่งออกข้าว ประเด็นที่ยังต้องติดตาม คือ การตัดสินใจของทั้งฟิลิปปินส์และรัฐบาลไทยเองว่าจะเลือกปฏิบัติตามกรอบข้อตกลง AFTA หรือไม่ เนื่องจากสินค้าข้าวทั้งของฟิลิปปินส์และไทยเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองสูง และมีผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะชาวนาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น รัฐบาลทั้งสองประเทศต้องใช้ความรอบคอบอย่างมากในการตัดสินใจ เพราะหากพิจารณาเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามกรอบข้อตกลง AFTA โดยไทยยังคงภาษีนำเข้าข้าวไว้ที่ร้อยละ 5 โดยอ้างว่าฟิลิปปินส์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ส่งผลให้ไทยไม่สามารถเรียกร้องชดเชยความเสียหายจากฟิลิปปินส์ได้ และยังอาจถูกประเทศอาเซียนอื่นๆ ที่ได้รับความเสียหายคือ พม่า กัมพูชา และลาว เรียกร้องให้ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศเหล่านี้ต้องเสียภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 5 แทนที่จะเสียภาษีร้อยละ 0
ทางเลือกดังกล่าวอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของไทยในการเจรจาในระดับพหุภาคีในอนาคต เนื่องจากถือว่าเป็นการไม่รักษา พันธกรณีที่มีการตกลงกันไว้แล้ว ขณะที่หากเลือกปฏิบัติตามกรอบข้อตกลง AFTA โดยลดภาษีนำเข้าข้าวเหลือร้อยละ 0 แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โดยไทยก็สามารถเจรจาเรียกร้องให้ฟิลิปปินส์ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่รัฐบาลคงต้องติดตามดูแลเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างตั้งแต่ชาวนา โรงสี โรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ผู้บริโภคข้าวในประเทศ ไปจนถึงผู้ส่งออกข้าว ความอ่อนไหวของข้าวภายใต้ข้อผูกพัน AFTA นับจากนี้อาจเป็นเพียงตัวอย่างใกล้ตัวจากผลของการค้าเสรี ซึ่งทางเลือกของสังคมไทยอาจไม่สามารถพิจารณาจากพื้นฐานที่อ่อนด้อยของผู้ประกอบการแต่เพียงลำพัง
หากแต่อาจถึงเวลาที่ต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติของสินค้าเกษตรชนิดนี้และชนิดอื่นๆ ที่ข้ามพ้นวาทกรรมทางการเมืองอย่างฉาบฉวยอย่างจริงจังเสียที
|
|
|
|
|