Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กันยายน 2546
ธปท.ห่วงค่าบาททำพังจี้รัฐช่วยเอสเอ็มอีด่วน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ




แบงก์ชาติห่วงเอสเอ็มอี ปรับตัวไม่ทันเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง เตรียมปรับสัดส่วนเพิ่มเทียบค่าบาทเงินประเทศต่างๆ ในเอเชียมากขึ้น แนะผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าที่สำคัญ รัฐบาลควรหามาตรการช่วยเหลือด่วน ระบุ เอสเอ็มอี รับผลกระทบมากกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะมีความสามารถปรับตัวได้น้อยกว่า ขณะที่คลังยังยืนยันค่าบาทแข็งไม่กระทบส่งออก ระบุบาทต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน 3% เท่านั้น ขณะที่บาทวานนี้แข็งต่อเนื่อง 40.06 บาทต่อดอลลาร์ หลังเงินมะกันระทวยตามเศรษฐกิจ ขณะที่เยนทะลุ110.95 แล้ว

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองผู้ว่า การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ฝ่ายเสถียรภาพการเงิน เปิดเผยวานนี้ (29 ก.ย.) ว่าจากการติดตามสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ ไม่ส่งผลกระทบผู้ส่งออกในภาพรวมมากนัก แต่กระทบต่อผู้ส่งออกบางกลุ่ม โดยเฉพาะภาคธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค

ผู้ประกอบการสินค้าดังกล่าว เป็นอุตสาหกรรมต้องใช้แรงงานสูง ส่งผลอัตราขยายตัวการ ส่งออกบางกลุ่มติดลบ ตัวเลขส่งออกช่วง 7 เดือน แรกปีนี้ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาถึง 18%

ส่งออกท็อป 10 ขาใหญ่กวาด

เมื่อวิเคราะห์การขยายตัวการส่งออก สินค้า 10 ประเภทที่ขยายตัวสูงสุด หลายรายการเป็นสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรม (industrial products) หรือสินค้าผลิตโดยบริษัทขนาดใหญ่

ยอดส่งออกของสินค้า10 ประเภทดังกล่าว มูลค่าประมาณ 5.7 แสนล้านบาท คิดเป็น30% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ด้านสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรมที่ขยายสูงสุด ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์โลหะพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งขยายตัวระหว่าง 60% และ 20% ต่อปี

ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ขยายตัวสูงหลายรายการ เป็นสินค้าผลิตโดยบริษัทขนาดใหญ่ ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวระหว่าง 41% และ 26% ต่อปี

นายธีระชัย กล่าวว่า สินค้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม เป็นโรงงานเงินลงทุนด้านเครื่อง จักรสูง (capital intensive) ผู้ผลิตแต่ละรายยอดขายสูง เป็นสินค้าต้นน้ำ จึงมีสัดส่วนจ้างงาน ไม่มากเท่าสินค้าปลายน้ำ และธุรกิจต่อเนื่องกับเอสเอ็มอีในประเทศไม่มาก

สินค้า 7 ชนิดขยายตัวต่ำ

ผู้ผลิตกลุ่มนี้ ปรับตัวเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นได้ดี ประกอบกับสินค้าหลายรายการ อ้างอิงราคาตลาดโลก ยอดส่งออกกลุ่มนี้จึงขยายตัวสูง ส่วนสินค้าผลิตโดยบริษัทข้ามชาติ อาศัยเครือข่ายบริษัทแม่ส่งออกได้ จึงสามารถปรับตัวรับเงินบาท ที่แข็งได้ดีเช่นกัน กลับกันผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค (consumer products) ส่วนใหญ่เป็น เอสเอ็มอี ประสบปัญหาการปรับตัวจากการวิเคราะห์สินค้าใช้แรงงานสูง 7 ชนิด คือเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าเดินทาง รองเท้า อุปกรณ์กีฬา ของเด็กเล่น และดอกไม้ประดิษฐ์ ขยายตัวเฉลี่ยเพียง 2.9% ต่อปี

มี 4 ชนิดที่ติดลบ ระหว่างลบ 2% ถึง ลบ 26% ต่อปี สินค้า 7 รายการดังกล่าว แม้ยอดการ ส่งออกน้อยกว่าสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรม หรือ สินค้าบริษัทใหญ่ แต่ก็สำคัญไม่น้อย โดยยอดส่งออกช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ เกือบ 1.5 แสนล้านบาท สัดส่วน 7.8% ของการส่งออกทั้งหมด

แนะรัฐพุ่งเป้าช่วยเอสเอ็มอีส่งออก

อย่างไรก็ตาม ทางการจำเป็นต้องให้ความสำคัญผู้ผลิตเอสเอ็มอีดังกล่าวด้วย เพราะจำนวน เอสเอ็มอีที่เกี่ยวข้องมาก ทั้งในฐานะผู้ผลิต หรือ ผู้ส่งออกโดยตรง และในฐานะธุรกิจต่อเนื่อง

สินค้าประเภท consumer products จะอาศัยแรงงานมากกว่า อนาคตจะเป็นฐานพัฒนาความรู้การออกแบบ และการตลาด ดังนั้นหากผู้ผลิตกลุ่มนี้ไม่สามารถปรับตัวรับการแข็งค่าบาทได้ จะส่งผลกระทบระดับรากหญ้า

ทั้งด้านจ้างงาน การเสียภาษีให้รัฐบาล และความเสี่ยงเป็นเอ็นพีแอลต่อระบบสถาบันการเงิน สาเหตุที่ผู้ผลิตกลุ่มนี้ไม่สามารถปรับตัวง่าย เนื่องจากคู่แข่งสินค้า consumer products คือประเทศเอเชียด้วยกัน บางประเทศผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ การบาทแข็งขึ้นเทียบดอลลาร์ จึงกระทบสินค้าประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่นๆ

ด้านมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีปรับตัว อาจพิจารณาหลายทาง เช่น ช่วยพัฒนาเพิ่มคุณค่า สินค้า ช่วยลดต้นทุนดำเนินการ หรือช่วยหาตลาดใหม่ๆ สำหรับการบริหารค่าเงินบาท นอกจากดูแล ไม่ให้ผันผวน ซึ่งเป็นนโยบายปัจจุบัน ยังอาจเพิ่มเติมการเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินประเทศ ต่างๆ ในเอเชียควบคู่ด้วย

"หากดอลลาร์ยังอ่อนตัวต่อเนื่องเช่นปัจจุบัน จะยิ่งทำให้ปัญหานี้หนักขึ้น เพราะการส่ง ออกสินค้า capital intensive ที่ขยายตัวเร็ว มีผลบวกทำให้การค้าไทยเกินดุล ซึ่งส่งผลเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ขณะเดียวกัน กลับมีผลลบสินค้า labor intensive สภาวะเช่นนี้ เขากล่าวว่าการส่งออกของไทย จึงมีลักษณะ 2 ขั้ว ที่มีความสามารถปรับตัวไม่เท่ากัน" นายธีระชัย กล่าว ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ยังปล่อยเงินเยนแข็งค่า ตามแรงบีบรัฐบาลมะกัน

บาทแข็งต่อวานนี้

สถานการณ์เงินบาท วานนี้ (29 ก.ย.) ยังแข็งค่าขึ้น โดยเปิดตลาดซื้อขายระหว่าง 40.03-40.06 บาท ต่อดอลลาร์ สาเหตุจากดอลลาร์อ่อนค่า เพราะนักลงทุนยังไม่มั่นใจทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังตัวเลขเศรษฐกิจมะกันหลายตัวที่ประกาศออกมาไม่ดี ส่งผลเงินสกุลหลักอื่นๆเมื่อ เทียบดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

โดยเฉพาะเยนญี่ปุ่น แข็งค่าถึง 110.95 เยนต่อดอลลาร์ ใกล้สถิติเดิมเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ 110.80 เยนต่อดอลลาร์ ก่อนอ่อนค่าลงมาเคลื่อน ไหวที่ 111.24 เยน นักลงทุนวิตกว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) อาจแทรกแซงสิ้น ก.ย. หลังปิดงบบัญชีงวดครึ่งปี เพื่อไม่ให้เยนแข็งค่าเกินไป

เพราะหลังประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 7 ชาติ (G 7) ครั้งล่าสุดที่มีมติปล่อยเงินเยนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด บีโอเจไม่มีมาตรการแทรกแซงเยน คาดว่าหากไร้การแทรกแซง เยนมีโอกาสทะลุ 110 เยน

ส่วนเงินสกุลเอเชียอื่นๆ เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ เคลื่อนไหว 54.92 เปโซต่อดอลลาร์เงินรูเปียะห์อินโดนีเซีย 8,420 รูเปียะห์ต่อดอลลาร์ ดอลลาร์สิงคโปร์ ซื้อขาย 1.729 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอล ลาร์สหรัฐ

คลังยังยันค่าบาทแข็งไม่กระทบส่งออก

ทางด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยวานนี้ กรณีเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะกระทบการส่งออก ว่าภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ยังไม่กระทบการส่งออกช่วงนี้

การพิจารณาดูค่าเงินบาท ต้องดูหลายด้าน ไม่ใช่ดูเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทต่อดอลลาร์ ต้องดูเทียบประเทศคู่ค้าหลัก ทั้ง 11 ประเทศด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องผลกระทบค่าบาทที่แท้จริง ซึ่งขณะนี้ เพียง 5% เมื่อเทียบปลายปีที่แล้ว ถือว่าน้อยมาก

สัดส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ ตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบัน แข็งค่าขึ้นเพียง 3% ซึ่งต้องดูผลกระทบภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทั้ง 11 ประเทศเป็นหลักมากกว่า

ส่วนค่าเงินก็มีผลกระทบเช่นกัน แต่เป็นผลกระทบอัตราส่วนที่น้อย เนื่องจากการส่งออก ขึ้นกับปัจจัยนอกประเทศเป็นหลัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us