Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กันยายน 2546
ซันเบลท์ฯนั่งเก็บหัวคิวเกาะธุรกิจแฟรนไชส์กิน             
 


   
search resources

ซันเบสท์ เอเชีย
แอนนาคาเฟ่
ซับเวย์
อัลลัน แอนด์ แอสโซซิเอท
นราวดี วรวณิชชา
Franchises




ซันเบลท์ เอเชีย สบช่องธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยเฟื่อง เปิดอีกธุรกิจรับเป็นโบรกเกอร์จับคู่เจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทั้งในและต่างประเทศ กินค่าหัวคิวสบายๆ เล็งธุรกิจร้านอาหารและบริการ ประเดิมเป็นโบรกเกอร์ให้ร้านแอนนาคาเฟ่ เผยรายชื่อแฟรนไชส์ต่างประเทศยกพลบุกไทยผ่านซันเบลท์

นางสาวนราวดี วรวณิชชา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ซันเบลท์ เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ตัวกลาง ในการเจรจาการซื้อขายธุรกิจและแฟรนไชส์ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่าเนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีการเติบโตอย่างมาก ทั้งในส่วนของกิจการคนไทย และกิจการของชาวต่างชาติที่จะทำตลาดในไทยและในต่างประเทศ ทำให้บริษัทฯตัดสินใจขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นมารองรับในธุรกิจแฟรนไชส์นี้ โดยที่ผ่านมาเน้นหนักการทำธุรกิจเป็นตัวกลางในการ เจรจาซื้อขายกิจการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายกิจการเท่านั้นไม่ใช่ซื้อขายแฟรนไชส์

นอกจากนั้นยังเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์เหล่านี้บางครั้งมีขนาดเล็กถึงกลาง ประสบกับปัญหาการไม่มีแหล่งข้อมูลหรือช่องทางในการที่จะติดต่อกับผู้สนใจ ตรงนี้คือโอกาสของบริษัทฯที่จะทำธุรกิจนี้ ซึ่งในเบื้องต้นนี้ให้ความสำคัญกับธุรกิจบริการกับร้านอาหาร เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอนาคตและมีแนวโน้มที่ดีได้รับการยอมรับจากตลาด

"ขณะนี้คนอเมริกา ส่วนใหญ่คิดว่าเมืองไทยของเรานั้นยังน่าสนใจอยู่อีกมาก เขาพยายาม ที่จะส่งออกแฟรนไชส์ของเขามายังเอเชียโดยเฉพาะที่ไทย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงมากในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ ขณะที่ตลาดในอเมริกากำลังถดถอย"

นำร่องขายแฟรนไชส์แอนนาคาเฟ่

ทั้งนี้ธุรกิจร้านอาหารแอนนาคาเฟ่ของคนไทยจะเป็นตัวแรกที่บริษัทเข้ามารับผิดชอบในการเจรจาเป็นตัวกลางหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดในวันอังคารที่ 30 กันยายนนี้ ในเบื้องต้นนี้วางเป้าหมายการขายแฟรนไชส์โดยเก็บค่ารอยัลตี้ฟี 6% จากยอดขาย ใช้พื้นที่ตั้งแต่ 50 ตร.ม.ขึ้นไป คิดค่าแฟรนไชส์ฟี 500,000 บาท ส่วนมูลค่าการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ คาด ว่าจะไปเปิดตลาดที่ยุโรปและอเมริกาก่อน

นางสาวนราวดี กล่าวด้วยว่า ส่วนธุรกิจการเป็นตัวกลางเทกโอเวอร์กิจการยังคงเป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัทฯ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นตัวกลางเจรจาให้กับธุรกิจไปแล้วกว่า 350 กิจการ มีทั้งธุรกิจร้านอาหาร ผับบาร์ สำนักงานให้เช่า ปั๊มน้ำมัน คาราโอเกะ ร้านถ่ายเอกสาร สวนสนุก เป็นต้น มีวงเงินการซื้อขายกิจการตั้งแต่ 2-50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งกว่า 80% เป็นรายได้ที่มาจากสัดส่วนธุรกิจร้านอาหาร

การเป็นโบรกเกอร์ของซันเบลท์นั้นถือเป็นการมองหาช่องทางทำเงินอย่างง่ายๆ เพราะจะมีรายได้มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมการเป็นตัวกลาง ซึ่งจะมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละขนาดของกิจการที่เทกโอเวอร์และที่ซื้อขายแฟรน ไชส์กัน โดยมี 2 แบบคือ ถ้าคิดจากวงเงินลงทุน จะได้เปอร์เซ็นต์น้อยกว่า แต่ถ้าคิดจากค่าธรรมเนียมการลงทุนจะได้เปอร์เซ็นต์มากกว่า

แหล่งข่าวจากวงการแฟรนไชส์กล่าวว่าที่ผ่านมาซันเบลท์เอเชีย ได้เป็นตัวกลางในการเจรจาซื้อขายแฟรนไชส์ของต่างประเทศให้กับนักลงทุนคนไทยที่สนใจแล้ว 2 รายคือ ร้านซับเวย์ เป็นร้านฟาสต์ฟูดแซนด์วิชจากอเมริกา โดยมีบริษัท อร่อยเบรด จำกัด เปิดสาขาแรกที่นานาในร้านคอฟฟี่เวิลด์ กับอีกรายคือ คือ อัลลัน แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด ซึ่งมีนายไมเคิล เจมส์ อัลลัน อดีตซีอีโอของ อินเตอร์ไลฟ์ จอห์น แฮนคอค เป็นกรรมการผู้จัดการและนางสาวสลิลทิพย์ ทิพย์ธรานุกูล อดีตผู้บริหารนิวยอร์กไลฟ์เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด เปิดสาขาแรกที่ถนนสีลม

ซับเวย์ทั่วโลกมีทั้งหมด 19,000 สาขา ที่อเมริกามากที่สุด 15,000 สาขา ออสเตรเลีย 500 กว่าสาขา ที่เหลือคือยุโรปและในเอเชีย ไทยเป็น ประเทศล่าสุดที่เข้ามาขยายกิจการ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้หลายปีมาแล้ว ซับเวย์เคยเข้ามาเปิดตลาดไทย มีสาขารวม 3 แห่ง คือที่ ปิ่นเกล้า เอแบคและสุขุมวิท 26 จากการลงทุนของหลายบริษัทแต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงทยอยปิดร้านและเลิกไปในที่สุด

ทั้งนี้ บริษัทอัลลันฯวางเป้าหมายเปิดสาขา 5 แห่ง โดยจะเปิดปีละ 1 แห่ง เป็นการลงทุนเองทั้งหมด เงื่อนไขหลักคือ ต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์ฟี ประมาณ 4 แสนกว่าบาท และค่ารอยัลตี้ค่าการตลาดตามที่กำหนด พื้นที่ขั้นต่ำ 9 ตร.ม.ลงทุน 2-3 ล้านบาท มากที่สุดคือ 250 ตร.ม. สาขาแรก ที่สีลมมีลูกค้าคนไทย 20% และต่างชาติ 80%

ซันเบลท์เปิดโผแฟรนไชส์

นางสาวนราวดี กล่าวต่อว่า สำหรับธุรกิจของต่างประเทศที่ซันเบลท์เป็นตัวกลางในการหา มาสเตอร์แฟรนไชส์ในประเทศไทยนั้นมีหลายรายเช่น 1. เดอะเกรทเฟรมอัพ ธุรกิจบริการและ ตกแต่งทางด้านบ้านและสำนักงาน ค่ามาสเตอร์ แฟรนไชส์ 50,000-600,000 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าลงทุนประมาณ 147,000-743,000 ดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมเอเชีย 2. เด็ค เดอะ วอลล์ ธุรกิจรับ ทำกรอบรูป ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 276,000- 875,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย 3. มิลลิแคร์ คอมเมอร์เชียล คาร์เพท แคร์ ธุรกิจบริการดูแล รักษาความสะอาดพรม ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าลงทุนประมาณ 165,000-205,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย

4. โรเทลลี่ พิซซ่า แอนด์ พาสต้า ค่ามาส-เตอร์แฟรนไชส์ 100,000 ดอลลาร์ มูลค่าลงทุน 375,000-450,000 ดอลลาร์ 5. แซงส์เตอร์ เฮลท์ เซ็นเตอร์ส ศูนย์บริการสุขภาพ ค่ามาสเตอร์ แฟรนไชส์ 75,000 ดอลลาร์ มูลค่าการลงทุนรวม 200,000-235,000 ดอลลาร์

6. เปยเลสคาร์เร็นทัล ศูนย์ให้เช่ารถซึ่งมีเครือข่าย 121 แห่งใน 15 ประเทศ ค่ามาสเตอร์ แฟรนไชส์ สำหรับในสิงคโปร์และไทย 150,000 ดอลลาร์ มูลค่าการลงทุนประมาณ 400,000-6,000,000 ดอลลาร์ 7. เพนท์บูล ศูนย์บริการซ่อม สีและรอยบุบรถยนต์ 8. สวิชเชอร์ ธุรกิจให้บริการสินค้าปลอดสารพิษ ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 75,000 ดอลลาร์ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 165,000-250,000 ดอลลาร์

9. เดอะโฟร์ทอาร์ ศูนย์ฝึกอบรม และให้บริการทางด้านคอมพิวเตอร์ ค่ามาสเตอร์ไลเซนส์ 15,000 และ 40,000 ดอลลาร์ ขึ้นอยู่กับขนาดของ ประเทศ และสูงที่สุดคือ 90,000 ดอลลาร์ สำหรับ ประเทศขนาดใหญ่ 10. เบลนซ์ ธุรกิจร้านค้าปลีกกาแฟและเครื่องดื่ม ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 1,000,000 ดอลลาร์ มูลค่าการลงทุนรวม ทุกพื้นที่ ในเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

11. ไวน์ เมด ซิมเพิ้ล ธุรกิจร้านค้าปลีกขาย ไวน์ ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 100,000 ดอลลาร์ มูลค่าลงทุนรวม 150,000-200,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย 12. ไบกูเดน เครป ธุรกิจร้าน ขายเครป ค่าแฟรนไชส์ 12,500-25,000 ดอลลาร์ มูลค่าลงทุนรวม 90,000-175,000 ดอลลาร์ ครอบ คลุมเอเชีย 13. ออฟฟิศ วัน ซูเปอร์สโตร์ ร้าน ขายอุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักรและเฟอร์นิเจอร์ สำหรับสำนักงาน ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 200,000 ดอลลาร์ มูลค่าลงทุนรวม 500,000-1,000,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ยกเว้นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

14.เรด แบควู้ดส์ บาร์บีคิว ธุรกิจร้านขายบาร์บีคิว ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 100,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย 15. ไอส์แลนด์ อิงค์เจ๊ท ธุรกิจให้บริการพิมพ์ด้วยระบบอิงค์เจ็ท มูลค่าลงทุน 159,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย 16. แอคคูแทรค อินเวนทอรี่ สเปเชียลลิสต์ ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 22,500 ดอลล่าร์ ครอบคลุมเอเชีย 17. โปรโฮม ค่ามาสเตอร์แฟรนไชส์ 50,000-150,000 ดอลลาร์ มูลค่าลงทุนรวม 150,000-250,000 ดอลลาร์ ครอบคลุมเอเชีย

สำหรับบริษัท ซันเบลท์ เอเชีย นี้ ก็เป็นธุรกิจที่ซื้อแฟรนไชส์มาจากอเมริกาเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันซันเบลท์ทั่วโลกมีจำนวน 349 สาขาใน 16 ประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us