Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กันยายน 2546
ปลดล็อกหุ้นไทยเหลือ51%ผุดสายการบินต้นทุนต่ำสิ้นปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.
ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ประภัสร์ จงสงวน
สมบัติ กิจจาลักษณ์
ชัยศักดิ์ อังสุวรรณ
Aviation




"สุริยะ" เร่งตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ (Low cost Airline) ให้ทันภายในปี 46 เตรียมประกาศนโยบายคลายล็อก ลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทยในสายการบินเหลือ 51% จากเดิม 70% เผยแอร์เอเชีย ของมาเลเซีย เสนอตัวบิน Low cost อีกราย มั่นใจค่าโดยสารลดลงกว่า 50% ฟุ้งศักยภาพไทยเหมาะเป็นศูนย์กลางการบิน ICAO ใช้เป็น สนง.สาขา 1 ใน 4 ของโลก สั่งทบทวนแผนแปรรูป 26 สนามบินภูมิภาคใหม่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายกรมการขนส่งทางอากาศ วานนี้ (29 ก.ย.) ว่าการขนส่งทางอากาศ มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่เน้นเรื่องความเร็ว (Economy of Speed) มากกว่าความใหญ่ โดยกรมการขนส่งทางอากาศจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อเปิดกว้างให้สายการบินต่างๆ สามารถขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเข้าประเทศได้มากขึ้น และเป็นการสนับสนุนข้อตกลง FTA ที่รัฐเจรจากับประเทศต่างๆ

นโยบายสำคัญในขณะนี้คือ การทำสายการบินต้นทุนต่ำ (Low cost Airline) ให้เกิดภายในสิ้นปี 2546 โดยในส่วนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้อนุมัติให้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศแล้ว ส่วนสายการบินอื่นๆ ได้แสดงความสนใจเข้ามาดำเนินการ บ้างแล้ว เช่น สายการบิน แอร์เอเชียของประเทศ มาเลเซีย ซึ่งประสบความสำเร็จในการทำสายการบินต้นทุนต่ำในมาเลเซียได้ติดต่อผ่านกรมการขนส่งทางอากาศเข้ามา แต่ทั้งนี้การผลักดันให้สายการบินต้นทุนต่ำเกิดได้ จะต้องแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อให้เกิดความพร้อมมากที่สุด

ลดหุ้นไทยเหลือ 51%

นายสุริยะ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกรมการขนส่ง ทางอากาศ เพื่อพิจารณาถึงปัญหาอุปสรรคในการทำสายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมดและหาแนวทางแก้ไข โดยจะมีการประกาศนโยบายเกี่ยวกับสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เดิมกำหนดให้ต้องมีผู้ถือหุ้นคนไทยถือหุ้น 70% ต่างชาติ 30% เพื่อปกป้องธุรกิจการบินสำหรับคนไทยมาเป็นคนไทย 51% ต่างชาติ 49% เช่นเดียวกับที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด

"เป้าหมายเรื่องสายการบินต้นทุนต่ำ คือ ต้องการดึงให้มีสายการบินที่มีประสบการณ์ และมีศักยภาพเข้ามาเปิดให้บริการในประเทศให้มากที่สุด เพราะจะเป็นส่วนทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนส่งเสริมให้คนไทยสามารถเดินทางภายในประเทศโดยเครื่องบินได้ในราคาต่ำ และเป็นส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคให้ประชาชนเกิดรายได้ ลดการเดินทางเข้าเมืองใหญ่ ส่วนการบินไทยก็ต้องมีสายการบินต้นทุนต่ำเพื่อแข่งขัน รวมทั้งตัวการบินไทยเองก็ต้องปรับตัวด้วย ส่วนสายการบินเอกชนภายในประเทศก็ต้อง เตรียมปรับตัวเพื่อเข้าสู่การแข่งขันด้านการบินที่เปิดเสรีนี้ด้วย โดยหากมีปัญหาอุปสรรคใดๆ ที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ ก็เสนอเรื่องมาได้"

อย่างไรก็ตาม จะมีการกำหนดกรอบเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งคาดว่าจะต่ำกว่าค่าโดยสารปกติประมาณ 50% รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัย และจะเป็นการแข่งขันกันด้วยราคาและคุณภาพบริการอย่างแท้จริง ซึ่งมีสายการบินหลายสายในโลกที่ประสบความสำเร็จเรื่องนี้ เช่น สายการบินเซาท์เวสต์ของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ค่าโดยสารต่ำมาก ขณะที่บริการดีมากด้วย ซึ่งจะให้การบินไทยไปศึกษาดูว่าทำอย่าง ไร แม้แต่เหตุการณ์ 11 ก.ย. 2544 เซาท์เวสต์ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการสายการบิน กล่าวว่าสายการบินต้นทุนต่ำเกิดยาก เพราะประเทศไทยมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้โดยสาร จึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบหรือใช้หลักการเช่นเดียวกับสายการบินเซาท์เวสต์ของอเมริกาได้ เพราะที่นั่นมีตลาดที่ใหญ่มาก ประกอบกับไทยควบคุมเรื่องราคา และเปิดให้บินภายในประเทศ เป็นหลัก แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่เรื่องราคาและเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต้องแก้ไขอย่างรอบคอบ

นายสุริยะ กล่าวถึงนโยบายการแปรรูปสนามบินภูมิภาค 26 แห่ง ของกรมการขนส่งทาง อากาศ ว่า ขณะนี้มีข้อเสนอ 3 แนวทาง คือ 1. จัดตั้งองค์การมหาชน 2. ให้เอกชนเข้ามาบริหาร 3. โอนให้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.บริหารแทน ซึ่งทั้ง 3 แนวทาง ยังไม่มีความชัดเจน จึงให้กรมฯ ทำการหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การดำเนินงานของสนามบินแต่ละแห่งมีผลประกอบการและปัญหาอุปสรรคอย่างไร ส่วนการตัดสินใจนั้นไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็นสนามบินที่มีกำไรอย่างเดียว แต่จะดูที่ศักยภาพของสนามบินด้วย ดังนั้นหากขาดทุนแต่ศักยภาพดีรัฐก็พร้อมสนับสนุน

นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ รองอธิบดีฝ่ายเศรษฐกิจ กรมการขนส่งทางอากาศ กล่าวว่า กรมฯว่าจ้าง PricewaterhouseCoopers FAS Limited เป็นที่ปรึกษา ศึกษาพบว่าการจัดตั้งสำนักงานกิจการท่าอากาศ (องค์การมหาชน) 3 องค์การคือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีความเป็นไปได้ การให้เอกชนบริการมีปัญหาเรื่องผลขาดทุน ส่วนการโอนให้ ทอท. ผลขาดทุนเป็นปัญหาเช่นกัน เพราะทอท. กำลังจะเข้าตลาดผลขาดทุนของสนามบินภูมิภาค จะกระทบต่อราคาหุ้นได้ ดังนั้น กรมฯ จะนำผลศึกษาของ Pricewaterhouse มาทบทวนใหม่ อย่างไรก็ตาม การแปรรูปสนามบินจะเป็นไปได้แค่ไหน ไม่ได้เพราะสนามบินไม่ดี แต่เพราะไม่มีสายการบินมาลงเอง

อย่างไรก็ตาม ในวันที่15 ม.ค.47 นี้ องค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จะเปิดสำนักงานสาขาในภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 4 สาขาของโลกในไทย ซึ่งเป็นการยืนยันว่า ประเทศไทยมีความเหมาะสม และพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

นายสุริยะ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในการประชุมผู้นำด้านเศรษฐกิจ หรือเอเปก ในเดือนต.ค.46 นี้ว่า ไทยมีแผนและการเตรียมความพร้อมทุกเรื่องอย่างเต็มที่ แต่ไม่สามารถให้ข่าวได้มาก ซึ่งในส่วนของ ทอท. ซึ่งรับผิดชอบดูแลสนามบินดอนเมือง ก็เตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยแล้ว นอกจากนี้การที่ไทยไม่มีปัญหาความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา รัฐพยายามติดตามข่าวเชิงลึกดูแลอย่างดี เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดคงไม่มี

หัวรถไฟฟ้าถึงไทย 11 ต.ค.

วานนี้ (29 ก.ย.) นายประภัสร์ จงสงวน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วย นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (บีเอ็นซีแอล) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้ามหานคร และ มร.ดีเทอร์ สติงเกอ รองประธานอาวุโส และหัวหน้ากลุ่มระบบขนส่ง บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ได้ ร่วมกันแถลงถึงการรับมองรถไฟฟ้าจากประเทศ ออสเตรเลียซึ่งซีเมนส์เป็นผู้ผลิตขบวนแรก(3ตู้) จะทยอยจัดส่งมาทางเครื่องบิน Antonov AN 124-100 ของรัสเซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักบรรทุก 120 ตัน ความเร็วในการบินสูงสุด 865 กม.ต่อ ชม.

เครื่องบินลำแรกจะบรรทุกหัวรถไฟฟ้าคันแรก จะถึงไทยวันที่ 11 ต.ค. 46 ลำที่สองบรรทุก รถไฟฟ้าคันกลางถึงวันที่ 13 ต.ค. และลำที่สามถึง 15 ต.ค. 46 โดยมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานรับมอบที่ท่าอากาศยานกอง บัญชาการกองทัพอากาศ ส่วนที่เหลือจะทยอยส่ง ทางเรือจนครบภายในเดือนมี.ค. 47

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us