Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน30 พฤศจิกายน 2552
คลังจ่อฟ้อง 3ค่ายมือถือ แก้สัมปทาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส - AIS
โฮมเพจ DTAC
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
กระทรวงการคลัง
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Mobile Phone




แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะนำเสนอเรื่องให้นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังพิจารณาความเสียหายที่เกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคม ที่บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำร่วมกับเอกชน เนื่องจากระยะเวลาตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นมาที่มีการแก้สัญญาสัมปทานหลายครั้ง ซ้ำซ้อน และไม่ทำตามขั้นตอนทำให้รัฐเสียหายรวมถึง 1.3 แสนล้านบาท จากนั้นจะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นสัญญาสัมปทานของ บริษัท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งได้รับสัมปทานจากทีโอที แก้ไขสัญญากรณีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจ่ายก่อนหรือ บัตรเติมเงิน (พรีเพด) และแก้ไขสัญญาระบบเหมาจ่ายรายเดือนตั้งแต่ปี 2549 - 2553 ที่จะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้จำนวน 30% กลับแก้ไขให้เหลือเพียง 25% เท่านั้น

ขณะเดียวกันยังได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในช่วงปี 2554 – 2558 ซึ่งเป็นปีที่หมดอายุสัญญาสัมปทานจากเดิมที่กำหนดให้จ่ายส่วนแบ่งรายได้ จำนวน 35% ก็แก้ไขให้จ่ายเพียง 25% เช่นกัน ทำให้รัฐสูญเสียรายได้รวมทั้งสิ้น 8.7 หมื่นล้านบาท

ในส่วนของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ก็มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ทำกับบมจ. กสท สร้างความเสียหายแก่รัฐกว่า 2 หมื่นล้านบาท และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ทำกับบมจ. กสท รัฐเสียรายได้ 7.9 พันล้านบาท ดังนั้นเพื่อปกป้องความเสียหายของรัฐจะเสนอให้ครม.พิจารณาเรียกร้องค่าเสีย หายกลับคืน

“ที่ผ่านมามีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความการแก้ไขสัญญาสัมปทาน โทรศัพท์มือถือของบริษัทเอกชนที่ทำกับทีโอทีและกสท กฤษฎีกาก็ระบุชัดว่าการแก้ไขไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ผ่านกระบวนการกฎหมายร่วมทุนรัฐและเอกชน แต่ก็ยังแก้ไขบ่อยครั้งและรัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมากถึงแสนกว่าล้านบาท มาคราวนี้จึงต้องเรียกร้องกลับคืน และเอกชนที่กระทำกับรัฐก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการเมืองทำให้ที่ผ่านมาไม่ มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับอายุสัมปทานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสจะสิ้นสุดปี 2558 สัญญาสัมปทานของ กสท กับ ดีแทค จะสิ้นสุดปี 2560 และสัญญาสัมปทานระหว่าง กสท กับ ทรูมูฟ สิ้นสุดปี 2556.

เตือนรัฐได้ไม่คุ้มเสีย

นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เคยกล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าหากจะมองว่าเอกชนทำไม่ถูกต้องฝ่ายเดียวคงไม่ได้ เพราะหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นคู่สัญญามีหน้าที่ต้องนำเรื่องเข้าสู่ครม.เพื่อ ปฏิบัติตามกม.ร่วมทุนปี 2535โดยกรณีของสัมปทานของทั้ง 3 บริษัทมีความแตกต่างกันอยู่คือกรณีดีแทคกับเอไอเอส คณะกรรมการพิจารณามาตรา 22 ของพ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐ-เอกชน พ.ศ. 2535 กำลังพิจารณาว่าการแก้สัญญาเพิ่มเติมต่อท้ายนั้น มีผลผูกพันหรือไม่มี

ทั้งนี้ หมายความว่า สัญญาสัมปทานเดิมนั้นมีผลอยู่แล้ว แต่พิจารณาส่วนที่แก้ไขเพิ่มหลายๆครั้งถูกหรือผิด ซึ่งมีทั้งการแก้สัญญาเพื่อปรับส่วนแบ่งรายได้และแก้ไขเพื่อต่ออายุสัญญา หากกรรมการพิจารณาว่าผิด ก็จะส่งเรื่องไปที่ครม.เพื่อพิจารณาตัดสิน เพราะ คณะกรรมการไม่มีอำนาจตัดสินเอง

ส่วนกรณีทรูมูฟ ถูกพิจารณาว่าสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งต้องให้คณะกรรมการมาตรา 13 ของพรบ.ร่วมทุนฯพิจารณาซึ่งหากว่าไม่ถูกต้อง หมายความว่า สัญญานี้ไม่ผูกพันตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งหากคณะกรรมการชงเรื่องให้ครม.ว่า ทั้งหมดไม่ถูกต้องรัฐก็มีแต่เดือดร้อนเพราะหากรัฐบอกว่าทรูมูฟ ดำเนินการด้วยสัมปทานที่เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น บริษัทก็จะขอเรียกทรัพย์สินทั้งหมดที่โอนให้กับบริษัท กสท โทรคมนาคมตามเงื่อนไขบีทีโอ (สร้างแล้วยกให้เป็นทรัพย์สินของรัฐก่อนได้สิทธิบริหาร)กลับคืนมา

นอกจากนี้ยังจะขอเงินที่เป็นส่วนแบ่งรายได้ที่จ่ายไปแล้วในอดีตทั้งหมดคืน ด้วยหากรัฐทำได้ก็พร้อมที่จะยุติบริการลงหรือเหมือนไม่เคยมีสัญญาระหว่างกัน ส่วนลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากการยุติบริการรัฐก็ต้องรับผิดชอบเอง ซึ่งหากครม.ชี้ขาดในชั้นสุดท้ายให้ดำเนินการเอาผิดหรือเรียกค่าชดใช้คืนรัฐ เอกชนคงต้องฟ้องศาลปกครอง

ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะผู้บริหารเอไอเอส เคยกล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการหารือในคณะกรรมการมาตรา 22 หลายครั้งแต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปคงต้องรอให้ครม.เป็นผู้ตัดสินใจ แต่หากตัดสินให้บริษัทชดใช้คืนรัฐจากส่วนแบ่งรายได้ที่ลดลงก็คงเป็นเรื่อง ที่รับไม่ได้และคงต้องดำเนินการทางกม.เพราะที่ผ่านมาบริษัททำมากกว่า เงื่อนไขที่กำหนดในการแก้สัญญาด้วย เช่นกำหนดว่าบริษัทต้องปรับลดค่าบริการพรีเพด ลงไม่น้อยกว่า 5% แต่ในความเป็นจริงค่าบริการลดลงมากกว่านั้นจากนาทีละ 3 บาทก็เคยเหลือถึงระดับ 25 สต.หรือ 50 สต.ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมาก

สำหรับรายละเอียดการแก้ไขสัญญาร่วมการงานกับเอกชน รายหลักๆ ประกอบด้วย 1.การแก้ไขสัญญาร่วมการงานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอส รวม 7 ครั้ง โดยแก้ไขสาระสำคัญของสัญญาเกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้ที่ทีโอทีพึงได้รับ และการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ของโทรศัพท์มือถือแบบพรีเพด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 87,390 ล้านบาท 2.การแก้ไขสัญญาร่วมการงานระหว่างกสทกับดีแทค 3 ครั้ง ซึ่งแก้ไขสาระสำคัญของสัญญาเกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้ คิดมูลค่าความเสียหายเป็นเงินประมาณ 20,427 ล้านบาท 3.การแก้ไขสัญญากสทกับทรูมูฟซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถูกต้อง ตั้งแต่ต้นและยังแก้ไขสัญญาร่วมการงานอีก 2 ครั้ง โดยปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ ทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 7,938 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us