|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
2 บลจ. ออกโรงแจงลูกค้า กองทุนมิดเดิ้ลอีสท์ปลอดบอนด์ดูไบ ย้ำการลงทุนตราสารหนี้ใน UAE มีเพียงอาบูดาบี เเละกาตาร์ เท่านั้น "กรุงไทย" ระบุ เห็นความเสี่ยงฟองสบู่อสังหาฯ ก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมเชื่อมั่นเศรษฐกิจรัฐอาบูดาบี ไม่สะเทือนตาม เช่นเดียวกับ "ยูโอบี" มองรัฐอาบูดาบีมีเสถียรภาพมากกว่า เหตุพึ่งพารายได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวที่บริษัทดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนของทางการดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ประกาศเลื่อนชำระหนี้จำนวน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐออกไปอีก 6 เดือน จนส่งผลทำให้ตลาดเกิดความเกรงกลัวต่อความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐอื่นๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และประเทศอื่นในภูมิภาคด้วยนั้น ในส่วนของกองทุนกองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ เอฟไอเอฟ 2 (KTFF2) ที่ปิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐดูไบแต่อย่างใด เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทได้มีการติดตามสถานการณ์ของรัฐดูไบมาโดยตลอด และเล็งเห็นถึงความเสี่ยงที่มากเกินไป จึงไม่ได้มีการลงทุน
ทั้งนี้ กองทุนรวมกรุงไทยตราสารหนี้ต่างประเทศ เอฟไอเอฟ 2 (KTFF2) เป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 2 ปี11 เดือน มูลค่าโครงการ 400 ล้านบาท เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรของรัฐอาบูดาบี ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดใน UAE ลงทุนในบริษัท ลาส รัฟฟาน ลิควีไฟด์ เนเชอรัล แก๊ส จำกัด ลงทุนในบริษัทอาบูดาบี เนชั่นแนล เอ็นเนอร์จี จำกัด (มหาชน) และลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ ในสัดส่วนสถาบันละประมาณ 25 %ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 3% ต่อปี
นายสมชัยกล่าวว่า สาเหตุกองทุนไม่ได้รับผลกระทบจากสถานะการดังกล่าว เนื่องจากรัฐอาบูดาบีมีความเข้มแข็งกว่ามาก เป็นรัฐขนาดใหญ่สุดของสหรัฐอาหรับอามิเรตส์ มีรายได้สูงสุด มาจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาบูดาบีมีปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองคิดเป็นประมาณ 95% ของปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองของประเทศทั้งหมด และถือเป็นปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสำรองมากเป็นลำดับที่ 7 ของโลก ดังนั้น รัฐอาบูดาบีจึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแปลงเป็นเงินทุนได้อีกเป็นจำนวน มาก ซึ่งแตกต่างจากดูไบที่ไม่มีน้ำมันดิบสำรองเหลืออยู่แล้ว
ส่วนประเทศกาตาร์นับเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อคนสูงที่สุดในโลก มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติสำรองที่มากเป็นอันดับที่ 3 ของ โลก และเพียงพอที่จะผลิตได้อีกมากกว่า 100 ปี ณ ระดับการผลิตในปี 2008 รายได้จากการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ทำให้กาตาร์มีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการชำระหนี้สูง นอกจากนี้ กาตาร์ยังได้รับอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aa2 จาก Moody’s และ AA- จาก S&P
ทางด้านนายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าบริหาร บลจ.ยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า บริษัทไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนของทางการดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เลย เพราะว่ารัฐดูไบมีการพึ่งพารายได้จากอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก และค่อนข้างมาก ซึ่งมีเค้าลางย่ำแย่มาตั้งแต่ปลายปี 2551 แล้ว โดยกองทุนเปิดยูโอบี มิดเดิ้ลอีสท์ บอนด์ได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของการตาร์ และรัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางเหมือนกัน แต่ในแง่ของปัจจัยพื้นฐานแล้ว กาตาร์ และรัฐอาบูดาบีมีเสถียรภาพมากกว่า โดยกาตาร์ มีก๊าซแอลเอ็นจีเป็นอันดัน 1 ของโลก มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ขณะที่รัฐอาบูดาบีก็มีการพึ่งพารายได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 59% ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทำให้มีเสถียรภาพทางรายได้มากกว่ารัฐดูไบที่พึ่งพาอสังหาริมทรัพย์เพียง อย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ รัฐดูไบยังมีเครดิต ดีฟอลท์ สวอปค่อนข้างสูงด้วย และมีการผุดโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากเกินไป ซึ่งมีการก่อสร้างเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลให้มีปริมาณอสังหาริมทรัพย์ (ซัปพลาย) มีล้นจนเกินความต้องการ (ดีมานด์) โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 20 ปีจึงจะรองรับได้ทั้งหมด
|
|
|
|
|