|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติยันยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เหตุเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง ส่วนที่เงินเฟื้อพื้นฐานไตรมาส 2-3 ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน มั่นใจไม่ใช่สัญญาณเข้าสู่ภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อจะดีดกลับเข้าสู่เป้านโยบายการเงินไม่เกินไตรมาส 2 ของปีหน้า แม้ภาครัฐต่อมาตรการค่าครองชีพในสิ้นปีนี้ ส่วนกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินปีหน้ายังคงใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5-3% เหมือนในปี 52
นายอัมพร แสงมณี ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงอยู่ ทั้งด้านการฟื้นตัวเศรษฐกิจอย่างช้าๆ และการขยายตัวประเทศในกลุ่มประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะเชื่อว่าจะช่วยในการสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไปอยู่
ส่วนในปีหน้าที่ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์คาดว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นนั้น ธปท.มองว่าหากต่อไปเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงเป็นแรงขับเคลื่อนด้วยตัวมันเองได้ การผ่อนคลายนโยบายการเงินมากอาจไม่ค่อยมีความจำเป็น แต่ขึ้นอยู่กับมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)
ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้จะติดลบอยู่ที่ระดับ 0.1% และ 0.5% ตามลำดับ ซึ่งอยู่นอกเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงิน คือ 0.5-3% ในปีนี้ เนื่องจากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง ประกอบกับมาตรการเพื่อการลดค่าครองชีพของรัฐ ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากปกติอีก 1.8% ในช่วงไตรมาส 2 และ 1% ในไตรมาส 3 รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะหลุดจากกรอบเป้าหมายถึง 2 ไตรมาสติดต่อกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณที่ชี้ว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืดในอนาคต เนื่องจากมองว่าราคาสินค้าทุกประเภทไม่ได้ปรับลงพร้อมกัน และภาคเอกชนไม่ได้คาดการณ์ว่าต่อไปอัตราเงินเฟ้อจะติดลบ รวมถึงผลจากมาตรการเพื่อลดค่าครองชีพของรัฐจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น แต่หากหักมาตรการออกไปอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่กำหนดอยู่ โดยไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 1.7% และไตรมาส 3 อยู่ที่ 0.6%
สำหรับในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงต่ำกว่าเป้าอยู่ ซึ่งกนง.ประเมินไว้ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนต.ค.ที่ผ่านมาว่าจะติดลบ 0.5%-0.5% แต่คาดว่าตัวเลขจริงจะเป็นบวกอยู่ แต่ไม่ถึงขอบล่างของเป้าหมาย คือ 0.5% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อระดับดังกล่าวได้รวมมาตรการภาครัฐไว้แล้วด้วย เนื่องจากฐานอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปีก่อนต่ำผลจากราคาน้ำมัน
นายอัมพร กล่าวว่า แม้หากในช่วงสิ้นปีนี้ภาครัฐจะตัดสินใจต่ออายุมาตรการค่าครองชีพเช่นเดิม ทำให้การกลับเข้าสู่เป้าหมายอาจต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่ประเมินไว้ จากไตรมาสแรกของปีหน้าจะเป็นไตรมาส 2 แทน ซึ่งมาตรการของภาครัฐจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานแค่ 1 ปีเท่านั้น
สำหรับเป้าหมายนโยบายการเงินในปี 53 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตกลงระหว่างธปท.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยคาดว่ายังคงใช้เป้าหมายเดิมในปี 52 ที่ได้ใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา คือ กำหนดให้กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 0.5-3%ต่อปี ซึ่งเป้าหมายที่เสนอให้คลังได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวแล้ว และมองว่าเป้าหมายควรนิ่ง โดยหากเทียบกับในต่างประเทศส่วนใหญ่จะใช้เป้าหมายเดิม ซึ่งในแต่ละปีจะพิจารณาว่าเป้าหมายดังกล่าวจะครอบคลุมหรือไม่เท่านั้น จึงเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปเป้าหมายนโยบายการเงินในปีหน้าได้ภายในเดือนธ.ค.ของปีนี้
|
|
|
|
|