Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน20 พฤศจิกายน 2552
กสิกรฯปรับจีดีพีเหลือติดลบ3.3%เตือนการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณเศรษฐกิจทั้งปีเป็นติดลบ 3.3% จากเดิมที่คาดว่าติดลบ 3.5-4.1% จากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ที่ดีเกินคาด แต่เตือนยังมีจุดเสี่ยงจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยเฉพาะเสถียรภาพทางการเมือง-ความสัมพันธ์เพื่อนบ้านที่อาจกระทบบรรยากาศการลงทุน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่เท่าๆ กับไตรมาส 2/2552 และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จีดีพีอาจติดลบร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 2/2552

ทั้งนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงทำให้นอกจากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแล้ว ยังปรากฏภาพการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมเศรษฐกิจในหลายสาขา เช่น การก่อสร้าง ขนส่ง และค้าปลีก เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดๆ ไป แม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จะมีการเติบโตเป็นบวกได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 อาจมีทิศทางที่ชะลอลง โดยแม้เศรษฐกิจน่าจะได้รับผลบวกจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและปัจจัยในประเทศ

โดยปัจจัยเสี่ยงเป็นส่วของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G-3 ยังมีความเปราะบาง โดยปัญหาการว่างงานสูงจะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดรั้งการฟื้นตัว ด้านเศรษฐกิจเอเชียแม้มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะการเติบโตที่มาจากเร่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ในทางกลับกัน อาจนำมาซึ่งความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะฟองสบู่หรือปัญหาอุปทานล้นเกิน (Oversupply) ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้ ขณะที่แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อน อาจเป็นปัจจัยเร่งเงินเฟ้อ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะยิ่งกดดันการใช้จ่ายของภาคการบริโภคในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย

และปัญหาการเมืองในประเทศของไทยรวมถึงการเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยปัญหาการเมืองอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การท่องเที่ยว และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อความคืบหน้าในดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะสร้างความรู้สึกไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งอาจสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจหากปัญหาลุกลามออกไป

นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมายจะกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจบางประเภท เช่น การลงทุนในกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังกรณีการระงับโครงการลงทุน 76 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด นอกจากนี้ ยังมีกรณีข้อติดขัดของการให้อนุญาตเอกชนลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3/2552 ที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 มาเป็นหดตัวร้อยละ 3.3 จากเดิมคาดว่าอาจจะหดตัวร้อยละ 3.5-4.1 ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2553 อาจขยายตัวได้ในระดับปานกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us