|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ปตท.เคมิคอลเร่งเจรจาซื้อกิจการโรงงานปิโตรเคมีในอาเซียน หวังต่อยอดธุรกิจโอโลฟินส์ มั่นใจได้ข้อสรุปปีหน้า ฟุ้งมีเงินที่จะลงทุนถึง 6 หมื่นล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า ยันวางแผนรับมือหากโรงแยกฯ หน่วย 6 ไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนด โดยจะมีการหยุดโรงแครกเกอร์บางโรงเพื่อนำวัตถุดิบมาป้อนโรงเอทิลีนแครกเกอร์ล้านตันที่จะแล้วเสร็จปลายปี 2552 แย้มแผนควบรวมกิจการ 4 บริษัทในเครือ ปตท.ส่อแววเลื่อนจากปลายปีนี้ เหตุต้องรอความชัดเจนคดีมาบตาพุดก่อน ด้าน ปตท.หวั่นมาบตาพุดฉุดการใช้ก๊าซฯ หด 300 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน และต้องนำเข้าแอลพีจีต่างประเทศเพิ่ม
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการโรงงานปิโตรเคมีเพื่อต่อยอดธุรกิจโอเลฟินส์ โดยเน้นลงทุนในประเทศอาเซียน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2553 โดยบริษัทฯ มีขีดความสามารถในการลงทุนดังกล่าวถึง 6 หมื่นล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2553-2557) นอกเหนือจากการลงทุนตามปกติในแต่ละปี สาเหตุที่บริษัทฯ ให้ความสนใจในการขยายการลงทุนในอาเซียน เนื่องจาก อาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรสูงถึง 500 กว่าล้านคน เป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง การทำงานร่วมกับบริษัทในอาเซียนที่มีความใกล้เคียงด้านวัฒนธรรมมากกว่า ซึ่งขณะนี้ได้มีการเจรจาหลายโครงการและมีความคืบหน้าไปมาก โดยเน้นการลงทุนต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมีที่บริษัทดำเนินการอยู่ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วและกำลังสร้างใหม่ โดยการตัดสินใจลงทุนนั้นจะพิจารณาจากความต้องการของตลาดในอนาคต
นายวีรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯ มีแผนรับมือหากโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 6 ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนดภายในต้นปีหน้า เนื่องจากคำสั่งศาลฯ บริษัทฯ ก็อาจจะดีเลย์การเดินเครื่องโรงแครกเกอร์เดิม(I1) ออกไปต่ออีกระยะหนึ่ง เพื่อนำวัตถุดิบหรือก๊าซฯ ไปป้อนให้โรงงานเอทิลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตันของบริษัท พีทีที โพลีเอทิลีนจำกัด(PTTPE)ที่จะแล้วเสร็จปลายปีนี้ รวมทั้งหาช่องทางการจัดหาวัตถุดิบมาป้อนด้วย เนื่องจากโรงงานเอทิลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตันจะใช้ก๊าซฯเป็นวัตถุดิบจำนวนมา ซึ่งเดิมจะรับวัตถุดิบจากโรงแยกฯหน่วยที่ 6
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงโรง I1 จากเดิมปลายปีนี้เป็นต้นปีหน้าแทน ประมาณ 30-40 วัน เพื่อนำก๊าซฯ ที่ใช้ป้อนโรงงานดังกล่าวมาป้อนให้โรงเอทิลีนแครกเกอร์ล้านตันระหว่างที่โรงแยกฯ ไม่สามารถดำเนินการได้
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ คาดว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำวินิจฉัยการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครองชั่วคราว 76 โครงการในมาบตาพุดโดยใช้เวลาไม่นาน โดยกลุ่ม ปตท.พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ได้มีการเร่งศึกษาและดำเนินการทำผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) แม้ว่าจะไม่มีกฎระเบียบแน่ชัดออกมา จากปัญหาควาไม่แน่ชัดในกรณีมาบตาพุดดังกล่าว ทำให้แผนการควบรวมกิจการของ 4 บริษัทในเครือ ปตท. คือ บมจ.ปตท.เคมิคอล บมจ.ไทยออยล์ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น และบมจ.ไออาร์พีซี อาจต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้ในปลายปีนี้ เพราะต้องรอความชัดเจนคำสั่งศาลปกครองสูงสุดก่อน
นายวีรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า จากเดิมที่บริษัทฯ คาดการณ์ว่าไตรมาส 3 นี้จะกำลังการผลิตปิโตรเคมีในตะวันออกกลางและจีนที่จะเริ่มทยอยเข้ามา กดดันให้ต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบ(สเปรด)ลดลง แต่พบว่าไตรมาส 3 สเปรดมาร์จินก็ยังดีอยู่ เชื่อว่าไตรมาส 4/2552 ก็ยังดีอยู่ โดยตลาดในภูมิภาคนี้ยังมีความต้องการเอทิลีนอยู่มาก ขณะที่กำลังการผลิตใหม่จะทยอยเข้ามาในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2553 ประมาณ 7 ล้านตัน ส่วนสเปรดเม็ดพลาสติก HDPE จะอ่อนตัวลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 200 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่สเปรด MEG ค่อนข้างแคบมากเนื่องจากมีกำลังการผลิตล้นตลาด ทำให้บริษัทฯ ต้องหาตลาดเพิ่มเติม ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าสเปรดของเอทิลีนจะอยู่ที่ 308 เหรียญสหรัฐ/ตัน, HDPE อยู่ที่ 283 เหรียญสหรัฐ/ตัน, MEG 79 เหรียญสหรัฐ/ตัน, โอลิโอเคมี 202 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่วนฐานะการเงินของบริษัทฯ แข็งแกร่ง โดยมีภาระหนี้ที่จะต้องชำระในปีหน้าเพียง 1.4 พันล้านบาท ขณะที่มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษีประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้ไม่มีปัญหาด้านการเงินหากโครงการแครกเกอร์ล้านตันไม่สามารถเดินเครื่องจักรได้ตามกำหนด
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 6 ไม่สามารถเปิดได้ตามกำหนดในไตรมาส 1/2553 จะส่งผลให้การใช้ก๊าซฯ ลดลงวันละ 300 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน ไทยต้องมีการนำเข้าแอลพีจีเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของเครือ ปตท.ก็จะกระทบด้วย เนื่องจากโรงแยกก๊าซฯ นี้จะป้อนวัตถุดิบให้กับโรงเอทิลีนแครกเกอร์ 1 ล้านตันของ บมจ.ปตท.เคมิคอล เป็นลูกโซ่ ส่วนความเชื่อมั่นด้านการลงทุนนั้นยิ่งได้รับผลกระทบมาก
ทั้งนี้ ในปีหน้า ปตท.จะมีกำลังการผลิตใหม่จากแหล่งเจดีเอของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเข้ามา ทำให้ความต้องการใช้ก๊าซฯ ขยายตัวขึ้น 8-10% ส่วนกำลังการผลิตปิโตรเคมีจากบริษัทในเครือฯ จะเพิ่มขึ้นอีก 40% ส่งผลให้รายได้ของ ปตท.เติบโตขึ้นหากโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2552 แม้ว่าสถานการณ์มาร์จินปิโตรเคมีและค่าการกลั่นอาจจะอ่อนตัวลงบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 โดยค่าการกลั่นเหลือเพียง 1-2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล รวมทั้ง ปตท.สผ.บันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเกี่ยวกับอุบัติเหตุแหล่งมอนทาราที่ออสเตรเลียเข้ามา แต่ก็มีความหวัง ผลประกอบการของ ปตท.ในไตรมาส 4 ยังดีอยู่ โดยไตรมาส 3/2552 ปตท.มีกำไรสุทธิ 1.7หมื่นล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนแรกของปีนี้มีกำไรสุทธิ 4.4 หมื่นล้านบาท เทียบกับปีที่แล้ว ปตท.มีกำไรสุทธิ 5.1 หมื่นล้านบาท ทำให้มีโอกาสที่ปตท.จะมีกำไรสุทธิปีนี้สูงกว่าปี 2551 เป็นไปได้มาก
|
|
 |
|
|