Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
4 อนุรักษ์ของลีโอนิค             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

สำเริง เกรียงปรารถนา SME ตัวจริง

   
search resources

ลีโอนิคส์, บจก.
สำเริง เกรียงปรารถนา




ภายในห้องประชุมในโรงงานของบริษัทลีโอนิค ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ มีป้ายขนาดใหญ่ เขียนเนื้อความไว้ว่า "4 อนุรักษ์" ซึ่งประกอบไปด้วย 1. อนุรักษ์ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่

2. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งใกล้ไกล

3. อนุรักษ์พลังงานทรัพยากรไว้

4. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย สำเริงบอกว่า การที่จะต้องปลูกฝังให้พนักงานของลีโอนิค ยึดมั่นในคำ "อนุรักษ์-" ทั้ง 4 ข้อ เพราะเขาเห็นว่าด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ทำให้คนส่วนใหญ่ลืมถึงธาตุแท้ของตัวตนของเราว่ามาจากอะไร กำลังทำอะไร และจะเดินต่อไปทางไหน

ความพยายามที่จะอนุรักษ์สิ่งดีๆ ที่มีอยู่ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด น่าจะเป็นการเตือนใจคนให้ย้อนกลับมาดูตนเอง ให้เห็นว่าสิ่งที่คนรุ่นเก่าเคยทำเอาไว้ยังคงมีสิ่งที่ดีๆ อยู่อีกมาก

เขาอธิบายความหมายของคำ "อนุรักษ์" ทั้ง 4 ข้อว่า ข้อ 1 และ 2 คือ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม คือ ในการตั้งโรงงานจะต้องไม่ไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้รอบๆโรงงาน เพื่อให้โรงงานมีความเป็นสีเขียว

ต้นไม้ที่สำเริงนำมาปลูก ทุกต้นจะเป็นไม้ไทย ดอกหอม เพื่อให้พนักงานทุกคนสำนึกในความเป็น คนไทย ประกอบด้วยต้นปีบ ต้นโมก ต้นหว้า ฯลฯ นอกจากนี้ในบริเวณด้านหลังของโรงงานยังปลูกต้นขนุน เพื่อทำตามความเชื่อของคนไทยโบราณ ที่จะได้มีแรงหนุนส่งให้ประสบความสำเร็จในการกระทำทุกอย่าง

ขณะเดียวกัน เขายังได้กันพื้นที่จำนวนหนึ่ง จากเนื้อที่ทั้งหมด 4 ไร่ที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงงาน เพื่อขุดบ่อ ไว้เลี้ยงปลา เพื่อสร้างทัศนียภาพของโรงงานให้มีความเย็นสบาย

ส่วนข้อ 3 คือ การอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรนั้น เขาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การจะเป็น SMEs ประสบความสำเร็จ เพราะพลังงานถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เพราะฉะนั้นภายในโรงงานเขาจะเน้นในเรื่องของการประหยัดเป็นอันดับแรก

ในบริเวณโรงงาน หากในจุดไหนที่ไม่มีพนักงานเข้าไปทำงาน จะปิดไฟไว้ตลอด โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นโกดังเก็บวัตถุดิบ และหากพนักงานจะต้องเข้าไปหา วัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิต จะมีรถเข็นที่ติดไฟนีออนไว้ เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการหาของ ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟทั้งหมด

และในส่วนที่พนักงานทำงาน ก็จะใช้การเปิดไฟสลับดวง เพื่อให้แสงสว่างสามารถครอบคลุมถึงเพียงพอต่อการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องเปิดทุกดวง

ในกระบวนการผลิต หากขั้นตอนใดที่เขาเห็นว่าสามารถใช้กำลังฝีมือแรงงานคนมาผลิตได้ โดยไม่ต้องสั่งซื้อเครื่องจักร เขาก็จะใช้คนให้มากที่สุด ส่วนในขั้นตอนใดที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักร เขาจะพยายามสร้างเครื่องจักรชิ้นนั้นด้วยทรัพยากรที่มีอยู่เอง

ในโรงงานของลีโอนิค เครื่องจักรเพียงชิ้นเดียว ที่มีราคาแพงที่สุด คือ เครื่องประกอบแผงวงจร ซึ่งสามารถประกอบได้ถึง 2 แสนแผ่นต่อเดือน ซึ่งสำเริง ซื้อมาในราคา 20 ล้านบาท

ส่วนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น สำเริงใช้วิธีนำสิ่งของ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย มาวางไว้ตามจุดต่างๆ ภายในโรงงาน โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้า มีการวางเกวียนเก่าไว้คู่กับแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นวิวัฒนาการของมนุษย์ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงตามกาลเวลา

นอกจากนี้ในบริเวณห้องประชุม เขายังได้จัดมุมวางผลิตภัณฑ์ที่มาจากงานฝีมือคนไทย จากทั่วทุกๆ ภาค ซึ่งเขาใช้ทุนส่วนตัวซื้อสะสมไว้นานแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us