|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท.จ่อขยายธุรกิจถ่านหินที่อินโดนีเซียเพิ่มเติม คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ หลังจากที่เมื่อต้นปีได้ลงทุนธุรกิจถ่านหินเป็นครั้งแรก ตั้งเป้า 5ปีข้างหน้าผลิตถ่านหินไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัน จากปีนี้ที่มีรายได้จากการขายถ่านหิน500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ เตรียมถือหุ้นกึ่งหนึ่งในโครงการFLNG ร่วมกับปตท.สผ.ในออสเตรเลียด้วย
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือปตท. กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อเหมืองถ่านหินที่เกาะกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซียเพิ่มเติม นอกเหนือจากเหมืองถ่านหินเดิม โดยเหมืองถ่านหินดังกล่าวได้เสร็จสิ้นการสำรวจและพร้อมที่จะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 6เดือนข้างหน้านี้
ในปีนี้บริษัทวางแผนจะผลิตถ่านหินจากเหมืองที่มีอยู่ราว 9 ล้านตัน จากราว 7-8 ล้านตัน/ปีในปีที่แล้ว คาดว่าจะทำให้มีรายได้จากการขายถ่านหินประมาณ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ และปีหน้าจะขยายการผลิตเพิ่มเป็น 11-12 ล้านตัน และเพิ่มเป็นอย่างน้อย 20 ล้านตันภายใน 5 ปีข้างหน้า
การลงทุนเหมืองถ่านหินในอินโดฯมีความก้าวหน้าตามลำดับ และพยายามหาแหล่งใหม่ๆเข้ามาเพิ่ม ซึ่งถ่านหินที่ผลิตได้จะส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น ฮ่องกง และจีน แต่ไม่ส่งกลับมายังประเทศไทย ซึ่งการขยายธุรกิจทำเหมืองถ่านหินเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซฯและน้ำมัน และเพิ่มโอกาสในการเติบโตของปตท.ในระยะยาว โดยประเมินรายได้จากการทำเหมืองถ่านหินน่าจะอยู่ที่ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปตท.ถือหุ้นในธุรกิจถ่านหินนี้อยู่ 60%”นายจิตรพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ ปตท.ได้เข้าลงทุนในธุรกิจถ่านหินผ่านทางพีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อต้นปีนี้ โดยถือหุ้น 60% ใน PTT Asia Pacific Mining Pty Limited (PTTAPM) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ขณะที่ PTTAPM ถือหุ้น 47.1% ใน Straits Asia Resources (SAR) ซึ่งมีเหมืองถ่านหินใน อินโดนีเซีย 2 เหมืองที่มีการผลิตแล้ว ได้แก่ Sebuku และ Jambayan ขณะที่มีโครงการ สำรวจอีก 1 เหมือง
นอกจากนี้ PTTAPM ยังถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจถ่านหินในบรูไน และเกาะมาดากัสกา
นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้ลงทุนโครงการปลูกปาล์ม บนพื้นที่ 8.75 หมื่นไร่ในประเทศอินโดนีเซีย โดยได้ปลูกปาล์มไปแล้วเกือบ 2 หมื่นไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะทยอยปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีแผนจะลงทุนสร้างโรงงานน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซล (บี100) คาดว่าจะแล้วเสร็จผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2554-2555 นับเป็นการกระจายความเสี่ยงด้านธุรกิจน้ำมัน ไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน
รวมทั้งมีแผนจะเข้าไปร่วมทุนพัฒนาโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ(FLNG) ของปตท.สผ. ในแหล่งCash Maple ที่ออสเตรเลีย โดยปตท.จะเข้าไปถือหุ้นร้อยละ 50 ร่วมกับปตท.สผ. ประเมินว่าแหล่งดังกล่าวจะผลิตFLNGได้ในปี 2556-2557
ก่อนหน้านี้นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.วางแผนที่เพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 20% ของรายได้รวมภายใน 5 ปีจาก ปัจจุบันที่มีกว่า 10% ซึ่งมาจากธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนในต่างประเทศ
นายวีระศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาการระงับการดำเนิน 76 กิจการในนิคมฯมาบตาพุด คงจะจบได้ประมาณ 1-2 เดือนนี้ เพราะเชื่อว่าคณะทำงาน 4 ฝ่ายที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน จะกำหนดแนวทางแก้ปัญหาได้ ขณะที่ภาคเอกชนก็พร้อมจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6 ของปตท.สามารถเปิดดำเนินการได้
“ ระหว่างที่ โรงแยกก๊าซฯหน่วย 6 ยังไม่สามารถเปิดผลิตได้ ทางปตท.เคมิคอลได้เลื่อนเวลาการปิดซ่อมบำรุงโรงแครกเกอร์ 1 จากไตรมาส 3 เป็นปลายปีนี้ และหลังจากที่แครกเกอร์ 1 ปิดแล้ว ก็จะนำเอทิลีนมาใช้ในโรงเอทิลีนแครกเกอร์ล้านตันแทน แต่จะทดแทน 60% เท่านั้น จึงหวังว่าปัญหามาบตาพุดจะจบโดยเร็ว” นายวีระศักดิ์ กล่าว
|
|
|
|
|