Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน17 พฤศจิกายน 2552
ซีไอเอ็มบีกรุ๊ปประเดิมบจ.นอก ระดม4.5พันล.             
 


   
search resources

Investment
CIMB Group




นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัท ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป โฮลดิ้ง เบอร์ฮาร์ด (CIMB Group Holdings Berhad) ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 3 ของตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจะเข้ามาจดทะเบียน 2 ตลาด (ดูอัลลิสติ้ง)ในตลาดหุ้นไทย โดยจะเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบันในประเทศไม่เกิน 35 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าระดมทุนประมาณ 4,550 ล้านบาท จากราคาหุ้นของซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ในตลาดหุ้นมาเลเซีย อยู่ที่ 13 ริงกิต หรือประมาณหุ้นละ 130 บาท

ทั้งนี้ ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป จะเข้ามาจดทะเบียนในหมวดธนาคารพาณิชย์ประมาณกลางปีหน้า และถือเป็นบริษัทข้ามชาติรายแรกที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งจะติดอันดับ 1ใน3 บริษัทที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) สูงสุดในตลาดหุ้นไทย หรือมีขนาดใกล้เคียงกับหุ้นบมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (PTTEP) โดย ณ วันที่ 13 พ.ย. 52 มาร์เกตแคปซีไอเอ็มบีกรุ๊ป ในตลาดหุ้นมาเลเซียอยู่ที่ 455,900 ล้านบาท

“ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป อยู่ระหว่างการพิจารณาหุ้นที่จะนำมาเสนอขายให้แก่นักลงทุนไทย 35 ล้านหุ้น จะเป็นหุ้นเดิม หุ้นเพิ่มทุนใหม่ หรือรวมกันระหว่างหุ้นเดิมและหุ้นใหม่ ซึ่งการเข้ามาจดทะเบียนของซีไอเอ็มบี กรุ๊ป นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำงานในเรื่องดังกล่าวมากว่า1 ปี”นางภัทรียา กล่าว

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยการถือหุ้นในธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ในสัดส่วน 93.15% และจะยังคงสถานะเป็นบจ. หลังจากซีไอเอ็มบีกรุ๊ป เข้ามาจดทะเบียน โดยหุ้นที่จะนำมาเสนอขายจำนวน 35 ล้านหุ้นนั้น จะเสนอขายแก่นักลงทุนบุคคล นักลงทุนสถาบันในประเทศไทย ซึ่งอาจรวมถึงลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารซีไอเอ็มบีไทยด้วย

นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการเจรจากกับบริษัทต่างชาติเพื่อชักชวนให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยอีก 2-3 ราย หลังจากที่ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป เป็นบริษัทแรก ซึ่งในระยะแรกบริษัทที่จะเข้ามจดทะเบียนนั้นจะเป็นบริษัทที่มีการทำธุรกิจในประเทศไทยด้วยเพื่อสร้างความสนใจ โดยหลักทรัพย์ฯ ยังไม่ตั้งเป้าหมายการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ แต่ต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าการซื้อขายให้มากขึ้น

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่นับรวมมาร์เกตแคปของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพราะหุ้นดังกล่าวไม่ได้ขายหุ้นครั้งแรกที่ตลาดหุ้นไทย แต่การเข้ามาจดทะเบียนนั้นจะเป็นการเพิ่มวอลุ่มการซื้อขาย ประมาณ 0.75% ของมาร์เกตแคปของหุ้นบริษัทข้ามชาติ” นายวิเชฐ กล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเข้าจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติ โดยในช่วงแรกบริษัทต่างประเทศที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี มาร์เกตแคปติด 1 ใน 25 ของตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เป็นต้น

ขณะเดียวกัน บริษัทจดทะเบียนต่างชาติจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ฟรีโฟลท หากแสดงให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจว่าหุ้นของบริษัทต่างชาติจะมีการซื้อขายและมีสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทย เช่น ผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างชาติรแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งเข้ามาจดทะเบียนในประเทศไทย โดยจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมาร์เกตแคปไม่น้อกยว่า 300 ล้านบาท และบริษัทต่างชาติทำPO ในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว หรือมีมาร์เกตแคปของหุ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท โดยจะต้องมีผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไทย ไม่เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการแก้ไขคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us