|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (16 พ.ย.) มีงานสัมมนา "อนาคตไทย...ภายใต้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง" จัดโดยธนาคารกรุงไทย (KTB) ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่น บี 2 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการธนาคารและกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปี 2553 ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท หรือเติบโต 7% จากปี 2552 ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อทุกประเภท โดยธนาคารจะพยายามปล่อยสินเชื่อให้ได้มากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการสนับสนุนสินเชื่อของธนาคารเองแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย
ส่วนการร่วมประมูลโครงการของภาครัฐบาลปี 2553 ธนาคารจจะเข้าร่วมประมูลทุกโครงการโดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็ง โดยคาดว่าจะเป็นธนาคารที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด(มาร์เก็ตแชร์) เป็นอันดับ 1 อยู่แล้วจากการร่วมประมูลโครงการที่ผ่านมามีมาร์เก็ตแชร์คิดเป็น 40% ของระบ เนื่องจากธนาคารมีต้นทุนต่ำ
สำหรับโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับระดับรากหญ้า (ไมโครไฟแนนซ์)นั้น ธนาคารพร้อมที่จะเข้ารวมเพื่อตอบสนองนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งธนาคารจะเข้ารวมในลักษณะการสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน บริการทางเทคโนโลยีและความรู้ด้านต่างๆ แก่สหกรณ์ กองทุนหมูบ้าน กองทุนชุมนุมเป็นต้น ส่วนการปล่อยกู้สินเชื่อโดยตรงนั้นจะเป็นธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกตรและสหกรณ์การเกตร(ธ.ก.ส.)
**สินเชื่อปีนี้โตต่ำกว่าเป้า**
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เม็ดเงินของโครงการไทยเข้มแข็งที่ลงไปในระบบเศรษฐกิจโดยมีมูลค่า 1.43 ล้านล้านบาท และจะลงทุนใน 13 โครงการด้วยกัน โดยโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการขนส่งจะใช้งบประมาณลงทุนมากที่สุด ซึ่งในส่วนของธนาคารกรุงไทยเองก็จะเข้าไปร่วมประมูลทุกโครงการและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ธนาคารเชื่อว่าหากเม็ดเงินดังกล่าวกระจายลงไปในทุกอุตสาหกรรม ก็จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยธนาคารประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2553 ว่าจะมีการฟื้นตัวมากขึ้นในหลายๆด้าน จากในปัจจุบันหลายธุรกิจมีตัวเลขดีขึ้น ซึ่งรวมไปถึงตัวเลขของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยเฉพาะสินเชื่อรวมที่มีจำนวนผู้มาขอสินเชื่อกับธนาคารเพิ่มมากขึ้นในไตรมาส 3 ประมาณ 5% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 อันเป็นมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจึงทำให้ยอดการปล่อยกู้สินเชื่อดีขึ้นตามไปด้วย
“ตัวเลขผลประกอบการของทุกธนาคารออกมาในลักษณะที่ดีขึ้น จากที่เคยมีตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงเกือบทุกธนาคาร แต่พอเศรษฐกิจดี ลูกหนี้ก็มีเงินมาชำระหนี้ตามระยะยเวลาที่กำหนดจึงทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอลมีการปรับลดลงและคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง"นายอภิศักดิ์ กล่าว
ส่วนโครงการหนังสือค้ำประกันทันใจ ไทยเข้มแข็ง 2555 โดยสามารถออกหนังสือค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการ ภายใน 1 วัน มีลูกค้ามาขอใช้บริการดังกล่าวประมาณ 2 พันราย ภายใน 2 อาทิตย์หลังจากออกโครงการไป ซึ่งธนาคารมีการอนุมัติไปแล้ว 1.5 พันราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น
นอกจากนี้ ในส่วนของเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อรวมของธนาคารกรุงไทยในปีหน้านั้นจะมีการเติบโตสุทธิ 6- 7% หรือคิดเป็นมูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท โดยจะเน้นสินเชื่อโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งธนาคารตั้งเป้าจะให้มีมาร์เก็ตแชร์จากโครงการดังกล่าวประมาณ 25% หรือคิดเป็นวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท
“ปกติธนาคารกรุงไทยมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ในโครงการไทยเข้มแข็งประมาณ 20% เพราะเรามีลูกค้าก่อสร้างเยอะ ส่วนสินเชื่อก่อสร้างในปีนี้คาดว่าจะเบิกจ่ายได้หมดภายในปีหน้า แต่เรื่องต่างๆ ต้องทำให้ได้ถ้ามาบตาพุดจบ เพราะค้างอยู่เยอะ ยอดให้กู้ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ที่เบิกไปแล้วประมาณ 4 หมื่นล้านบาท หลายปีที่ผ่านมาสินเชื่อก่อสร้างเหลือน้อยลงมาก แต่ปีหน้าก็จะได้จากไทยเข้มแข็ง” นายอภิศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่ายอดสินเชื่อรวมสุทธิในปี 2552 นี้จะโตเพียง 3-4% หรือคิดเป็นมูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ในปีนี้โต 5-6% เนื่องจากธนาคารได้รับชำระคืนจากภาครัฐกลับมาจำนวน 3.5 แสนล้าน ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้าธนาคารคาดว่ามีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 และคาดว่าทั้งปีอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นขึ้นอีกประมาณ 0.75 - 1% เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นอีกราว 2-3%
***นายกฯ ลั่นปีหน้าจีดีพีโตเกิน 3%
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษว่า งานสำคัญของรัฐบาลที่กำลังทำคือ วางรากฐานประเทศหลังจากที่เราเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรง ซึ่งตนขอแสดงความชื่นชมที่ธนาคารกรุงไทย เข้ามา สนับสนุนให้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสมากยิ่งขึ้น นายกฯ ยืนยันว่า ปลายปีนี้ตัวเลขเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นบวกอย่างแน่นอน และปีหน้ามั่นใจว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3-3.5 หรือสูงกว่านั้น รวมทั้งไตรมาสสองในปีหน้าจะเห็นเรื่องการลงทุนภาครัฐมากขึ้น และภาคธุรกิจที่สนับสนุนด้านบริการการท่องเที่ยวจะมีลู่ทางการเจริญเติบโตต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นเศรษฐกิจใน 2 ลักษณะ คือ 1. ทำอย่างไรให้ประชาชนโดยเฉพาะคนยากจนจะได้รับการคุ้มครองปกป้องไม่ได้รับความเดือดร้อนมากเกินไป และ 2. ใช้โอกาสที่รัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจในการปรับโครงสร้างและวางรากฐานพร้อมกันไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นนายกฯ ได้กล่าวย้ำถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกทีละโครงการ เช่น การแทรกแซงพืชผลทางการเกษตร ต้นกล้าอาชีพ เช็คช่วยชาติ นโยบายหลายเรื่องลดค่าใช้จ่ายและเสริมรายได้ อาทิ การศึกษาฟรี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ลดภาระค่าน้ำ ค่าไฟ ฯ
"นับตั้งแต่เม.ย.เป็นต้นมา ตัวชี้วัดความเคลื่อนไหวไปทางบวกทั้งสิ้น นั่นคือเราสามารถหยุดยั้งการหดตัวของเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราสามารถหยุดยั้งไม่ให้ภาวะการว่างงานเพิ่มขึ้น และขณะนี้กำลังลดลงแล้ว" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการประชุมเอเปก ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านต่างๆ ด้วยว่า สิ่งที่เห็นชัดว่าแม้ประเทศส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตกลับมาเป็นบวก แต่ว่ามีประเทศจำนวนมาก ที่การว่างงานยังเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความวิตกให้กับผู้นำประเทศอย่างชัดเจน แต่รัฐบาลทราบดีว่า มาตรการรอบแรกเป็นการลดผลกระทบเท่านั้น และมีส่วนในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอในการทำให้มั่นใจว่า จะขยายตัวและพร้อมแข่งขันในเศรษฐกิจโลกต่อไป รัฐบาลจึงผลักดันให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
|
|
|
|
|