|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE เปิดเผยว่า ทรูยืนยันในการเข้าร่วมขบวนการคัดเลือกเพื่อรับใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และมีแนวทางในการระดมทุนหลายแนวทางรวมทั้งการใช้กระแสเงินสด ซึ่งมีจำนวนกว่า 10,000 ล้านบาทในปลายไตรมาส 3 ปี 2552 เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของบริการ 3G และมีความพร้อมที่จะให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบ การณ์ 3G ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ ด้วยคอนเทนต์ โครงข่าย และบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มหลากหลาย ภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู
'เราเตรียมเงินไว้กว่า 1 หมื่นล้านบาทเพื่อเข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต 3G'
สำหรับผลประกอบการกลุ่มทรูสิ้นไตรมาส 3 ปีนี้มีกำไรสุทธิจำนวน 123 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC) ของกลุ่มทรูในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 2.4% จากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูวิชั่นส์หลัง การปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ EBITDA (กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่าย) โดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตรา0.9% เป็น 4.8 พันล้านบาท หลังหักรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในไตรมาส 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านคอนเทนท์ของทรูวิชั่นส์ หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า รายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น 1.6% เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูออนไลน์
นอกจากนี้ EBITDA โดยรวมเพิ่มขึ้น 9.8% เนื่องจากรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จในการควบคุมรายจ่ายค่า IC สุทธิได้อย่างต่อเนื่อง
นายศุภชัยกล่าวว่าในไตรมาส 3กลุ่มทรูมีความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน โดยผลประกอบการของทรูมูฟปรับตัวดีขึ้นมากจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-voice) ในขณะที่บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (International Roaming หรือIR) เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งความสำเร็จของทรูมูฟในการบริหารค่า IC สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เติบโตต่อเนื่อง และสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิในอัตราก้าวกระโดด
นอกจากนั้น ทรูวิชั่นส์ยังได้รับอนุญาตจากบริษัท อสมท ให้ดำเนินการหารายได้จากโฆษณาในช่องรายการของทรูวิชั่นส์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการผลิตคอนเทนท์ต่างๆ เพิ่มขึ้นและค่าโฆษณาจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่มีความสำคัญต่อไปในอนาคต
สำหรับในไตรมาส 4 คาดว่าทรูมูฟจะได้รับประโยชน์จากการที่ตลาดโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่บริการแบบรายเดือนและบริการที่ไม่ใช่เสียงจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ การเปิดให้บริการบรอดแบนด์ความเร็ว 16 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงสุดในประเทศ ควบคู่กับการให้บริการทรูวิชั่นส์ สำหรับลูกค้าทั่วไป จะมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีความผูกพันกับบริการมากขึ้น และเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบรอดแบนด์ของกลุ่มทรู
****ธุรกิจในเครือเติบโตต่อเนื่อง***
สำหรับผลประกอบการของทรูมูฟ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น4.6% จากไตรมาส 2 เป็น 5.9 พันล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียงและการฟื้นตัวของบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ EBITDA ยังเพิ่มขึ้นอย่างมาก 17.7% เป็น 1.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายและค่า IC ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ รายได้จากการให้บริการโดยรวมเติบโต 6.8% ส่วนใหญ่มาจากบริการแบบรายเดือน และ EBITDA ยังเติบโต 32.3% ด้วยรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและรายจ่ายค่า IC สุทธิที่ลดลง
ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดโทรศัพท์มือถือจะเข้าใกล้จุดอิ่มตัว แต่ทรูมูฟสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่ในไตรมาส 3 ได้ 117,559 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 15.4 ล้านราย ในขณะที่บริการแบบรายเดือนยังคงเติบโดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 6.7% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 22.5% จากปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการดำเนินกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ และการขายไอโฟน 3G และ 3G S รวมทั้ง แบล็คเบอร์รี่
ด้านทรูออนไลน์ มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เป็น 6.5 พันล้านบาท โดยรายได้จากบริการบรอดแบนด์ บริการคอนเวอร์เจนซ์ และรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ (IDD) และธุรกิจดาต้าเกตเวย์เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถชดเชยรายได้จากบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ลดลง สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 11.7% จากปีก่อนหน้าเป็น 1.4 พันล้านบาท
ในขณะที่ทรูวิชั่นส์ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 25.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าเป็น 1.64 ล้านรายในขณะที่การเริ่มรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ช่วยทำให้ยอดสมาชิกแพ็คเกจพรีเมี่ยมเติบโตขึ้น หลังจากได้รับผลกระทบจากฤดูกาลในไตรมาส 2 ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการเปลี่ยนแพ็คเกจสำหรับลูกค้าในระดับกลาง-ล่างมาใช้แพ็คเกจที่มีราคาสูงกว่าของทรูวิชั่นส์ เพิ่มขึ้นเป็น 36.8% จาก 26.3% ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ทรูวิชั่นส์มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 4.2% จากไตรมาสที่ผ่านมาเป็น 2.3 พันล้านบาท
นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน กล่าวว่าสถานะทางการเงินของกลุ่มทรูปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทเพื่อชำระคืนหนี้ของทรูออนไลน์ประสบความสำเร็จโดยสามารถระดมทุนได้ประมาณ 7 พันล้านบาท และหลังจากการจัดทำรีไฟแนนซิ่งให้กับธุรกิจ ทรูออนไลน์เรียบร้อยแล้ว บริษัทมีแผนที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับธุรกิจทรูมูฟและธุรกิจทรูวิชั่นส์ต่อไป
'ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2552 กลุ่มบริษัททรูได้ชำระคืนหนี้จำนวน 4.9 พันล้านบาท ทำให้ปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ลดลงเป็น 2.9 เท่า เมื่อเทียบกับ 3.6 เท่าในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า'
****คลังหนุนเร่งประมูล 3G***
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีการเร่งออกใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน ว่า รัฐบาลเห็นด้วยที่จะต้องเร่งออกใบอนุญาตโดยเร็ว แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังและรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลคือการร่างหลักเกณฑ์ที่จะป้องกันรายได้ที่จะสูญเสียจากสัญญาสัมปทานของบริษัทเอกชนที่มีต่อ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งจากเทคโนโลยีที่สูงขึ้นจะมีผลให้เอกชนที่เคยรับสัมปทานให้บริการ 2G สามารถเปลี่ยนลูกค้าไปเป็น 3Gได้ทั้งหมด รายได้ที่รัฐเคยได้รับจากส่วนนี้ก็จะหายไป ดังนั้นถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังจะปกป้องผลประโยชน์ส่วนนี้ โดยหลักเกณฑ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังนี้จะต้องให้มีผลกระทบกับรายได้น้อยที่สุด
ขณะที่หากทีโอที จะลงทุน 3G แข่งขันกับเอกชนรายใหญ่ ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก กระทรวงการคลังจะค้ำประกันหรือไม่นั้น นายกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมองระบบ 3G เป็นธุรกิจ ทีโอทีซึ่งแม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ก็เป็นเชิงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องการให้ยืนได้บนขาตัวเอง เช่นบมจ.การบินไทย ที่ตอนแรกก็ต้องการเพิ่มทุนเช่นกัน แต่กระทรวงการคลังก็ยืนกรานให้ปรับโครงสร้างภายในและที่สุดก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนและไม่เป็นภาระกับรัฐและประชาชนโดยทั่วไป
***ADVANCทุ่ม 5 หมื่นล.ลง 3G
นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์การตลาด บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) กล่าวว่า หากบริษัทมีการลงทุนวางโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการระบบ 3G ในช่วง 3 ปีข้างหน้า จะส่งผลอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงประมาณ 2-3% ในช่วง 2 ปีแรก ให้ในช่วง 2 ปีแรก เนื่องจากจะต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลที่ตั้งเป้าหมายจะจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าปีนี้ที่จ่ายในอัตราหุ้นละ 6.30บาท
ทั้งนี้ หากมีการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G ในปี 53 คาดว่าใช้เงินลงทุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ปีละประมาณ 1.5-1.7 หมื่นล้านบาท ภายใต้งบลงทุนรวมทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปี
|
|
|
|
|