|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีคาดขายส่ง 3G หรือ MVNO เอกชน 5 ราย ทำรายได้เดือนละ 150 ล้านบาท ให้เบอร์ขายรายละ 2 หมื่นเลขหมายเปิดบริการพร้อมกัน 3 ธ.ค.นี้ ลูกค้าเก่าไทยโมบายหมื่นคนส้มหล่น รอรับมือถือ 3G ฟรี
นายวิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอทีกล่าวว่า ทีโอทีคาดการณ์รายได้จากการขายส่งการให้เช่าโครงข่าย (MVNO หรือ Mobile Virtual Network Operator) โทรศัพท์มือถือ 3G ของบริษัทเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้บริการ 5 ราย คือบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท ไออีซี และบริษัท เอ็ม คอนซัลต์ เอเซีย ในช่วงเริ่มต้นเดือนละประมาณ 150 ล้านบาท หรือเฉลี่ยขั้นต่ำรายได้ 300 บาท/เดือน/เลขหมาย ซึ่งหากทีโอทีมีรายได้ตามที่คาดไว้ถือว่าคุ้มทุนจากการดำเนินการแล้ว โดยผู้ประกอบการ MVNO ทั้ง 5 รายจะเปิดให้บริการ 3G พร้อมกันวันที่ 3 ธ.ค.นี้ จากเดิมทีโอทีคาดว่าจะมีเพียงสามารถไอ-โมบาย และ บริษัท 365 เท่านั้นที่จะมีความพร้อมในการดำเนินการ
สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกของ 3G ทีโอทีในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ทีโอทีจะจัดสรรเลขหมายให้ผู้ประกอบการ MVNO ไปจำหน่ายรายละ 20,000 เลขหมาย หลังจากนั้นจะพิจารณาจัดสรรเลขหมายเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการทีละราย ส่วนการทำตลาด การเลือกกลุ่มเป้าหมาย และโปรโมชั่น ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายต้องดำเนินการเองโดยจุดดึงดูดลูกค้าอยู่ที่คอนเทนต์ที่แตกต่างกันของแต่ละรายสำหรับในส่วนที่ทีโอทีจะทำตลาด 3G เองจำนวน 1 แสนเลขหมายจะเน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรเป็นหลัก
‘การที่ทีโอทีเปิดให้บริการ 3G เฟสแรกก่อนที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของทีโอที ดังนั้นทีโอทีต้องดึงให้ลูกค้ามาใช้งาน 3Gของทีโอทีให้ได้มากที่สุด เบื้องต้นจะขยายสถานีฐานซึ่งรองรับการใช้งาน 3G ในอาคารเพิ่มอีก 200 แห่ง ด้วยงบ 600 ล้านบาท จากเดิมที่มีสถานีฐานครอบคลุมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 548 สถานีฐาน’
ทีโอทียังมีแผนจะแจกโทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบ 3G ให้กับลูกค้าไทยโมบายเดิมจำนวน 10,000 รายหรือแจกคูปองพิเศษสำหรับเป็นส่วนลดซื้อเครื่องใหม่ โดยโทรศัพท์มือถือที่ทีโอทีสั่งผลิตจากประเทศจีนมีราคาอยู่ที่ 4,000 บาท/เครื่องและในวันที่19-23 พ.ย.นี้ ทีโอทีจะเปิดขายซิมการ์ด 3G ซึ่งเป็นโปรโมชั่นพิเศษให้พนักงานและมีแผนทำโปรโมชั่นพิเศษให้กับลูกค้าโทรศัพท์บ้านของทีโอทีที่มีอยู่ 2 ล้านรายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลด้วย
นายวิเชียรกล่าวต่อว่าเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาสภาฯได้ผ่านความเห็นชอบโครงการ 3G เฟส 2 ทั่วประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงบโครงการไทยเข้มแข็ง ด้วยคะแนนเสียง300 เสียงต่อ 20 เสียง โดยกระทรวงการคลังได้นำเสนอโครงการ 3G มูลค่า 29,000 ล้านบาทตามมติครม.เมื่อวันที่ 9 ก.ย.51 ซึ่งทีโอทีจะกู้เงินจำนวน 80% หรือราว 23,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 20% ทีโอทีจะเป็นผู้ลงทุนเอง สำหรับการทำโครงข่ายด้วยงบประมาณดังกล่าวสามารถรองรับเลขหมายให้บริการได้ 5 ล้านเลขหมายทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะต้องเสนอเรื่องนี้ให้กระทรวงการคลังพิจารณาว่าจะเป็นผู้รับรองค้ำประกันเงินกู้ให้ทีโอทีหรือไม่ ซึ่งตามมติครม.เดิมระบุชัดเจนว่าคลังต้องเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ในเงื่อนไขการประมูลระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เสนอราคาต้องยื่นแหล่งเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและชนะการประมูลทีโอทีก็จะเสนอแหล่งเงินกู้ที่ผู้ชนะเสนอต่อคลังหากคลังเห็นชอบก็เดินหน้าตามขั้นตอนต่อไปได้ แต่หากคลังไม่เห็นชอบคลังจะต้องเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ที่ดีกว่าให้
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ทีโอที ได้รับอนุมัติแผนงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม หรือUniversal Service Obligation (USO) จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2549 ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ซึ่งทีโอทีดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2550ปัจจุบันทีโอทีดำเนินงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงในระยะแรกเสร็จแล้ว ซึ่งการดำเนินการเน้นการเข้าถึงบริการโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ห่างไกล ทั้งหมู่บ้าน โรงเรียน และสถานีอนามัย รวมทั้งติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์สาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว การมองเห็นและการได้ยินโดยการดำเนินงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงในระยะที่สองจะเน้นการให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช. กล่าวว่าการดำเนินการจัดทำประกาศโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงในระยะที่สอง กทช.ได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)ในการให้คำปรึกษา ซึ่งขณะนี้ประกาศดังกล่าวได้ใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค.52โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ 4% ก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 2 และ 3 จำนวน 24 ราย โดยคาดว่าจะมีวงเงินใช้จ่ายในโครงการดังกล่าวไม่เกินปีละ 4,000 ล้านบาท
นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ กรรมการกทช. กล่าวว่า หลังจากนี้อีก 2-3 ปี อุปกรณ์ที่ติดตั้งเพื่อให้บริการโทรศัพท์สาธารณะในโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงก็ต้องมีค่าบำรุงรักษา ซึ่งทีโอทีสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาหักลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตโทรคมนาคมที่ต้องจ่ายให้กับ กทช.ได้โดยการให้บริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานจะอิงตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก ซึ่งในอนาคตอาจนำเทคโนโลยี 3G มาให้บริการโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานก็ได้
|
|
|
|
|