Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน16 พฤศจิกายน 2552
ชาเขียวโละภาพรีเฟรชสู่สุขภาพปรับตัวรับมือฟังก์ชันนัลดริงก์บูม             
 


   
www resources

โฮมเพจ โออิชิ กรุ๊ป

   
search resources

โออิชิ กรุ๊ป, บมจ.
Green Tea




ตลาดชาเขียวหนีตาย ปรับตัวปั้นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สลัดคาบภาพลักษณ์เครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นทิ้ง หวังเจาะกลุ่มรักสุขภาพดันตลาดโตพรวด “โออิชิ” ชี้ปีหน้าทัพสินค้าแข่งเดือดสู้ศึกตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลบูม “ยูนิฟ” ปั้นชาสมุนไพร ชูคอนเซปต์รีแลกซ์และรีเฟรช ด้านอะมิโน โอเค จ่อคิวรีแบรนด์ครั้งใหญ่

นายธนพันธ์ คงนันทะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดชาเขียวพร้อมดื่มปรับเปลี่ยนการทำตลาดจากเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นมาสู่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อขยายตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน และนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งมีพฤติกรรมหันมาดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น สำหรับชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ วางแผนปรับภาพลักษณ์สินค้าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพควบคู่กับความอร่อย จากเดิมภาพลักษณ์ของสินค้ามีทั้งกลุ่มที่ดื่มเพื่อความสดชื่น 50% และดื่มเพื่อสุขภาพ 50%

“ยุคแรกของการทำตลาด ผู้บริโภคมองว่าชาเขียวพร้อมดื่ม เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่หลังจากที่มีกระแสลบของชาเขียวพร้อมดื่ม ทำให้ลบภาพลักษณ์ความเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่น”

นายธนพันธ์ กล่าวว่า สภาพตลาดชาเขียวในปีหน้านี้ ผู้ประกอบการมุ่งโฟกัสชาเขียวพร้อมดื่มที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งนโยบายการตลาดชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ บริษัทมุ่งเน้นแตกไลน์สินค้าที่มีฟังก์ชันนัล เพื่อรองรับกับตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ที่มาแรง และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ต้องการสินค้าที่มีรสชาติดีและดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามสำหรับชาเขียวพร้อมดื่มรสชาติอื่นๆ อาทิ ออริจินัล มองว่ายังมีโอกาสทำตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด เพราะสามารถเติบโตและขยายได้อีกมาก เมื่อเทียบกับชาเขียวฟังก์ชันนัล เจาะกลุ่มเป้าหมายคนเมืองมากกว่า

สำหรับความเคลื่อนไหวตลาดชาพร้อมดื่ม ล่าสุดพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการแต่ละค่ายเริ่มปรับตัว หันมาเน้นตลาดชาพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพหรือเพิ่มมูลค่าสินค้า อาทิ ยูนิฟ เปิดตัวชาพร้อมดื่มสมุนไพร ด้วยกัน 2รสชาติ ได้แก่ ชาเขียวสมุนไพร ยูนิฟ รีแลกซ์ รสตะไคร้และเวอร์บีน่า และชาดำสมุนไพร ยูนิฟ รีเฟรช รสคาโมมายล์ จำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น แห่งเดียว ขนาด 500มล. ราคา 18 บาท และก่อนหน้านี้ลิปตันไนน์ ส่งชาดำพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม โดยมีส่วนผสมจากธรรมชาติ 9ชนิด คือ พุทธาจีน เก๋ากี้ ข้าวกล้อง ตะไคร้ ฯลฯ ขณะที่โออิชิ เปิดตัวชาเขียวพร้อมดื่มและชานมมัทฉะ เป็นต้น

สภาพตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมูลค่า 5,400-5,600ล้านบาท ในช่วง 9 เดือน มีอัตราการเติบโต 22-24% โดยปัจจุบัน โออิชิ เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 64% เพียวริคุ 14% ลิปตัน 12% และยูนิฟ มีส่วนแบ่งต่ำกว่า 10% อย่างไรก็ตามคาดว่าปรับตัวของผู้ประกอบการหันมาทำตลาดชาเขียวพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น จะผลักดันให้ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในปีหน้ามีอัตราการเติบโต 20%

นายธนพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทเตรียมรีแบรนด์เครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ อะมิโน โอเค ครั้งใหญ่ หลังจากเปิดตัวลงสู่ตลาดมานาน แต่ไม่ค่อยได้รับการตอบรับที่ดีมากนัก เนื่องจากการวางตำแหน่งของสินค้าไม่ชัดเจน และจับต้องได้ยาก จากปัจจุบันอะมิโน โอเค วางคอนเซปต์เป็นเครื่องดื่มปรับสมดุลย์ให้กับร่างกาย ทั้งนี้การปรับตัวดังกล่าวเพื่อรองรับกับแนวโน้มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังมาแรง หรือกระทั่งคู่แข่งทางอ้อมอย่างน้ำผลไม้ ที่หันมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้ามากขึ้น เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคต้องการเครื่องดื่มที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะเจาะจง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us