|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.เผยธุรกิจบัตรเครดิตยอดเอ็นพีแอลพุ่ง 13.71% ทั้งนอนแบงก์และธนาคารพาณิชย์ ส่วนปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 354 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนเป็นผลจากการใช้จ่ายบัตรในต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 20% ขณะที่การใช้จ่ายบัตรในประเทศและยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลงตามการระมัดระวังของผู้ถือบัตรในช่วงเศรษฐกิจซบเซา
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโนยบายสถาบันการเงินของธปท.ได้ประกาศตัวเลขบัตรเครดิตในระบบล่าสุดเดือนก.ย.หรือไตรมาส 3 ของปีนี้ พบว่า ธุรกิจบัตรเครดิตโดยรวมในส่วนของปริมาณบัตรและยอดสินเชื่อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในส่วนของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศ แต่ในส่วนของยอดการใช้จ่ายในประเทศและและยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ากลับลดลง
ทั้งนี้ ธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาสนี้มียอดเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 6.72 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 810 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 13.71% โดยบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาสบันการเงิน(นอนแบงก์)มียอดเอ็นพีแอล ทั้งสิ้น 3.14 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 735 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ไทยมียอด 2.63 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติมียอดทั้งสิ้น 928 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน7 ล้านบาท
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 13.23 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.23 แสนใบ หรือเพิ่มขึ้น 0.94% โดยธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 8.07 หมื่นใบ นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 4.56 หมื่นใบ ส่วนสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 3.51 พันล้านบาท ด้านยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 320.94 ล้านบาท คิดเป็น 0.18% โดยนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาตลดลง 637 ล้านบาท และ50 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังคงมียอดสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1.01 พันล้านบาท
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมมีทั้งสิ้น 7.50 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน 354 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.48% หากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 5.66 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย 160 ล้านบาท หรือลดลง 0.28% โดยในส่วนของสาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์ลดลง 376 ล้านบาท และ201 ล้านบาท ตามลำดับ มีเพียงธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่ยังมียอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตในประเทศเพิ่มขึ้น 418 ล้านบาท
นอกจากนี้ การเบิกเงินสดล่วงหน้าที่มีอยู่ทั้งสิ้น 1.52หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 17.69 ล้านบาท หรือลดลง 0.12% โดยนอนแบงก์ลดลงมากที่สุด 240 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติลดลง 18.15 ล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 3.17 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 532 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.14% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการบัตรเครดิตทุกประเภท โดยนอนแบงก์เพิ่มขึ้น 260 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 210 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 63 ล้านบาท
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธปท.นั้น ในระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 8.90 ล้านบัญชี ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.46 แสนบัญชี หรือลดลง 2.69% ซึ่งสถาบันการเงินทุกประเภทต่างมียอดบัญชีลดลงถ้วนหน้า ด้านยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 2.16 แสนล้านบาท ลดลง 6.01 พันล้านบาท หรือลดลง 2.70% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทต่างมียอดลดลง โดยธนาคารพาณิชย์ 3.44 พันล้านบาท นอนแบงก์ 1.98 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 595 ล้านบาท
ขณะที่ยอดเอ็นพีแอลของธุรกิจนี้มียอดทั้งสิ้น 7.45 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนกว่า 1 พันล้านบาท หรือลดลง 11.88% ซึ่งนอนแบงก์ ธนาคารพาณิชย์ และสาขาธนาคารต่างชาติต่างมียอดลดลง 605 ล้านบาท 227 ล้านบาท และ173 ล้านบาท ตามลำดับ
|
|
|
|
|