Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน9 พฤศจิกายน 2552
MAIวอนคลังต่ออายุลดภาษี หนุนดึงบจ.จดทะเบียนเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ - MAI
Stock Exchange




ชมรม เอ็มเอไอ ซีอีโอ ยื่นหนังสือต่อ รมว.คลัง ขอขยายเวลาให้สิทธิลดภาษีนิติบุคคลแก่บริษัทในตลาดเอ็มเอไอ เหลือ 20% ตลอดไป หรือ 5 รอบบัญชี หลังครบกำหนดในปีนี้ ชี้ลดภาระค่าใช้จ่ายการดำรงฐานะ หนุนผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง ยืนยันแม้ลดภาษีแต่รัฐสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น ทั้งช่วยดึงบริษัทเข้าจดทะเบียนมากขึ้น

นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานชมรม เอ็มเอไอ ซีอีโอ (mai CEO) และประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ ILINK เปิดเผยว่า วานนี้(9 พ.ย.)ชมรมเอ็มเอไอ ซีอีโอ ได้มีการเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้ขยายเวลามาตรการให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ โดยลดการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ตลอดไป หรือ ต่ออีก 5 รอบบัญชี เนื่องจาก บริษัทส่วนใหญ่ในตลาดmai หรือ ประมาณ 20 แห่งที่ได้รับสิทธิประโยชน์จะครบกำหนดในปี 2552

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเป็นบริษัทจดทะเบียน จากการที่รับภาระในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพยฯและยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าตรวจสอบบัญชี ค่าตอบแทนกรรมการชุดต่างๆ เงินสมทบกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ค่าจ้างบุคลากรที่เพิ่มขึ้น เช่น เลขานุการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการชุดต่างๆ

นอกจากนี้มีค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติตามวิธีการของตลาด เช่น การลงประกาศผ่านหนังสือพิมพ์ การเผยแพร่ข่าวสารฯลฯ รวมถึงมีขั้นตอนการปฏิบัติที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป เช่น การปฏิบัติตามเกณฑ์ของก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อปฏิบัติเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การดำเนินการโดยโปร่งใส การจัดให้มีคณะกรรมการอิสระ และข้อบังคับที่ต้องมีคณะกรรมกรรมการตรวจสอบภายนอก

“บริษัทส่วนใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดดmai จะครบกำหนดที่จะได้รับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% จาก 30% นั้นจะครบกำหนดในปี 2552 เราจึงมีการปรึกษาร่วมกันกับบริษัทที่อยู่ในตลาดเอ็มเอไอเสนอให้ทางกระทรวงการคลังมีการขยายเวลาให้สิทธิประโยชน์ภาษีดังกล่าวตลอดไป แต่เราเข้าใจรัฐบาลอาจจะอึดอัดจึงได้เปิดอีกช่องทางจึงขอได้ต่อไปอีก 5 ปี เพื่อให้บริษัทในmaiมีการเตรียมตัวบ้าง ซึ่งมีผู้บริหารบริษัทในตลาดเอ็มเอไอ ลงชื่อจำนวน 26 บริษัท ”นายสมบัติ กล่าว

นายสมบัติ กล่าวว่า การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้บริษัทในตลาดเอ็มเอไอ เหลือ 20% จาก 30% นั้นส่งผลดีต่อรัฐบาลที่สามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น โดยในปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทเข้าจดทะเบียนจำนวนมากนั้น รัฐบาลมีการเก็บภาษีจากบริษัทดังกล่าวจำนวน 1,624 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนบริษัทดังกล่าวจ่ายภาษีเฉลี่ยปีละ 239 ล้านบาท และส่งผลให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอ เพิ่ม 49 บริษัท

ทั้งนี้ หากกระทรวงการคลังขยายเวลาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวนั้น จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทจดทะเบียนแล้ว ยังจะส่งผลดีทำให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น ทำให้ขนาดตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อภาพรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซึ่งหากกระทรวงการคลังไม่เห็นชอบดังล่าวนั้นจะส่งผลให้บริษัทในตลาดเอ็มเอไอ มีกำไรที่ลดลง จากมีค่าใช้จ่ายในการเป็นบริษัทจดทะเบียนจำนวนมาก และส่งผลให้บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนน้อยลง ทำให้ตลาดเอ็มเอไอ เติบโตได้ช้า

นายไทยลักษณ์ ลี้ถาวร กรรมการ บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)หรือ UEC กล่าวว่า การขอขยายเวลาสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวที่ชมรมฯได้มีการยื่นต่อกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะให้ทางการรับทราบถึงผลกระทบของบริษัทในตลาดเอ็มเอไอ โดยตรง แม้ทางสมาคมบริษัทจดทะเบียนและตลาดหลักทรัพย์ฯมีการเสนอเรื่องดังกล่าว แต่หากทางการไม่เห็นชอบเรื่องดังกล่าวทางชมรมเอ็มเอไอ ซีอีโอ จะมีการยื่นหนังสืออีกครั้งต่อ ไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us