Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
มหัศจรรย์พันธุกรรม             
โดย ชมพูนุท ช่วงโชติ
 


   
search resources

Knowledge and Theory




Juan Enriquez ผู้เขียน As the Future Catch You บอกว่า เมื่อมนุษย์จับเอาแอปเปิล ส้ม และแผ่นดิสก์มาผสมกันสำเร็จ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ องค์ความรู้ใหม่นี้มีพลานุภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวิถีชีวิต สุขภาพ การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และความมั่งคั่งของสังคมมนุษย์ในอนาคตอย่างไม่อาจคาดเดาได้

ความสามารถในการถอดรหัสพันธุกรรมของยีน เกิดจากการก้าวข้ามพรมแดนของวิทยาศาสตร์ต่างสาขา เป็นความสำเร็จของการผสมผสานกันระหว่างวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีดิจิตอล มนุษย์ ไขความลับของธรรมชาติได้แล้ว ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ละเอียดซับซ้อนมีข้อมูลมหาศาล ถูกบันทึก ค้นคว้า ถ่ายทอด ทดลอง ตัดต่อ และทำการเปลี่ยนแปลง จากนี้ไปมนุษย์จะสามารถควบคุมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ได้ทั้งหมด มนุษย์ ได้เครื่องมือสำคัญที่พร้อมสำหรับการพัฒนาศักยภาพเพื่อการสร้างสรรค์หรือจะสร้างอาวุธเพื่อการทำลายล้างก็ได้

หน่วยพันธุกรรมซ่อนความลับทุกอย่างของธรรมชาติเอาไว้ บันทึกประวัติศาสตร์แห่งชัยชนะของการต่อสู้และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ตลอดวิวัฒนาการอันยาวนานนับพันล้านปี การดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์ ย่อมพิสูจน์ถึงการครอบครองคุณสมบัติพิเศษหลายประการ คนสมัยก่อนแม้ไม่รู้จักรหัสพันธุกรรม ไม่รู้จักยีน แต่รู้ดีถึงคุณวิเศษอันหลากหลายของพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตรอบตัว ได้นำมาใช้ประโยชน์สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน สั่งสมเป็นภูมิปัญญาที่ผูกพันอยู่กับระบบนิเวศเฉพาะถิ่น

โลกของเรามีระบบนิเวศอยู่ราว 94 ระบบ ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิต ที่รวมเรียกว่า Biodiversity หรือความหลากหลายทางชีวภาพ นักชีววิทยาเฝ้าติดตามสำรวจชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันเราค้นพบแล้ว 1.7 ล้านสปีชีส์ แต่ชนิดพันธุ์ใหม่ยังถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกวัน คาดว่า ส่วนที่การสำรวจยังเข้าไม่ถึงนั้นอาจมีถึง 10-14 ล้านสปีชีส์

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์กำลังตื่นตาตื่นใจกับการค้นพบคุณสมบัติดีเลิศนานาประการของพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้จักจำนวนมาก นักอนุรักษ์กำลังตระหนกตกใจกับอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่รวดเร็วอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เมื่อ 30 ปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปวันละ 1 ชนิด ปัจจุบันคาดว่าทุก 20 นาทีจะมีสิ่งมีชีวิตบนโลกสูญพันธุ์ไป 1 ชนิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การบุกรุกทำลายป่า ภาวะโลกร้อน และการคุกคามทำร้ายจากมนุษย์ และการพัฒนาสมัยใหม่ จนมีแนวโน้มว่า ร้อยละ 50 ของสิ่งมีชีวิตในโลกจะหายไปในครึ่งหลังของศตวรรษหน้า จะทำให้บางระบบนิเวศเสียหายไปอย่างไม่สามารถฟื้นคืนได้ แน่นอนว่าพันธุกรรมที่มนุษย์ยังไม่ได้ค้นพบจำนวนมากก็สูญหายไปด้วยอย่าง ถาวร

นับแต่อดีต ทรัพยากรชีวภาพและพันธุกรรมถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งการทำยารักษาโรค มีประชากร 1 ใน 4 ของโลกที่พึ่งพิงการแพทย์พื้นบ้านและพืชสมุนไพร การแพทย์สมัยใหม่ก็ใช้ทรัพยากรพันธุกรรมในการผลิตตัวยาต่างๆ มีมูลค่าการตลาดราว 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในอนาคตอันใกล้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพจะทำให้พันธุกรรมพืชและสัตว์ที่หายากกลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

การตื่นตัวที่มาจากการขยายพรม แดนแห่งความรู้เกิดขึ้นทั่วโลก แต่การบรรจบผสานของสิ่งที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ร่วมกันยังไม่ครบถ้วนเพียงพอ ประเทศที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ไม่มีทรัพยากรชีวภาพ ประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพที่หลากหลายอุดมสมบูรณ์ ก็เป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือล้าหลังยากจน ขาดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นของตนเอง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่เชื่อมต่อกับทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ก็เปรียบเสมือนการงมเข็มในมหาสมุทร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้นคือแผนที่นำทาง ที่นำทรัพยากรชีวภาพและพันธุกรรมกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพบกัน ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ขบวนการค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรชีวภาพเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์แพร่กระจายไปทั่วโลก และพัฒนาไปสู่การจดสิทธิบัตรทางการค้า ที่ประเทศเจ้าของภูมิปัญญาและทรัพยากรอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ เลย

ประเทศยิ่งใหญ่อย่างอินเดีย ตื่นตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันการจดสิทธิบัตรยาในสหรัฐอเมริกามีจำนวนประมาณ 4,900 รายการ ราวร้อยละ 80 ของสิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดของอินเดีย ทั้งขมิ้นชัน สะเดา และสมุนไพรอื่นๆ ทำให้ประเทศอินเดียต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ ติดตาม และฟ้องร้องการจดสิทธิบัตรที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมากทุกๆ ปี รัฐบาลอินเดียจึงจัดทำโครงการบันทึกภูมิปัญญาดั้งเดิม รื้อฟื้นคัมภีร์โบราณอายุ 5,000 ปี ความยาวกว่า 6 ล้านหน้า ทั้งด้านอายุรเวช โยคะ Unani และ Sidha เพื่อจัดทำบันทึกเข้าสู่ระบบดิจิตอลสำหรับใช้อ้างอิงคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของอินเดียในระบบสากล โดยถือว่าเป็นการคุ้มครองมรดกของชาติ อินเดียสนับสนุนให้นำระบบนี้ไปใช้ทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ เช่น จีน บราซิล และประเทศในกลุ่มอาเซียน

ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยนั้นนับว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพียงจังหวัด เดียว มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตมากกว่าเกาะอังกฤษทั้งเกาะ พันธุ์ข้าวของประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายมากกว่า 5,000 ชื่อ สมุนไพรที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์มีอยู่ถึง 1,500 ชนิด ซึ่งรวมถึงชนิดของสมุนไพรที่มีค่าทางเศรษฐกิจหาได้ยาก หรืออยู่ในภาวะวิกฤติใกล้สูญพันธุ์ หากรวมถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ขุมทรัพย์ที่ยังไม่ได้สำรวจค้นพบของประเทศไทย มีมูลค่าเพียงใดไม่สามารถประเมินได้

คนในสังคมตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่เรียกว่าความหลากหลายทางชีวภาพ อันประกอบด้วยความหลากหลายของพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศน้อยมาก ป่าต้นน้ำบนเทือกเขาสูงที่มีพืชพันธุ์หลากชนิด สมุนไพร สัตว์ แมลง จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ ถูกโค่นทำลายทิ้งเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว พ่อค้าเมล็ดพันธุ์ สารเคมีการเกษตร ยาฆ่า หญ้า ขนสินค้าใส่ท้ายปิกอัพดั้นด้นเข้าไปทุกหนแห่งเพื่อช่วยเกษตรกรบุกเบิกแผ้วถางภูเขาทั้งลูกเพื่อปลูกข้าวโพด ระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าบุ่ง ป่าทาม ถูกเรียกว่าเป็นพื้นที่รกร้าง เสื่อมโทรม รอการพัฒนาที่สามารถคำนวณผลตอบแทนเป็นตัวเงินชัดเจน แต่ใครจะสามารถคิดคำนวณถึงมูลค่าความสูญเสียของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ระบบนิเวศของป่าต้นน้ำแห่งหนึ่งที่กลายไปเป็นไร่ข้าวโพดนั้น เป็นได้ทั้งแหล่งอาหาร ยาสมุนไพร และของป่าที่ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย และอาจหมายถึงชนิดพันธุ์และพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิดที่หมอยังไม่สามารถเอาชนะได้ในปัจจุบัน

กูรูทั้งหลายล้วนเห็นว่าโลกอนาคต เป็นโลกแห่งการบรรจบผสานของสิ่งที่ไม่เคยผสมรวมกันได้มาก่อน ระหว่างผลส้มกับแผ่นดิสก์ ระหว่างภูมิปัญญาชาวบ้านกับวิทยาศาสตร์ ระหว่างพันธุกรรมของปลาทะเลน้ำลึกกับต้นไม้ดึกดำบรรพ์ พรมแดนแห่งความรู้เปิดกว้าง ประเทศไม่มีอาณาเขต บ้านไม่มีรั้ว หากเราไม่ออกเดิน สำรวจบ้านและศักยภาพอันน่าทึ่งที่ซุกซ่อนอยู่ ก็จะมีผู้อื่นเข้ามาพร้อมด้วยเครื่องมืออันทรงพลัง หยิบฉวยเอาสิ่งที่เราทิ้งขว้างไม่รู้จักคุณค่าในอาณาเขตบ้าน นำออกไปใช้ประโยชน์และสร้างความมั่งคั่งไม่สิ้นสุด

ส่วนประเทศของเราก็ยังคงวิ่งไล่ล่า หาอดีต มุ่งหาเงินลงทุนจากอุตสาหกรรมปล่อยมลพิษ ทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เพื่อที่จะงัวเงียตื่นขึ้นสู่โลกของพันธุกรรมและส่วนผสมอันหลากหลายที่เราไม่รู้จักแม้แต่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us