Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
Megahertz Myth             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 

 
Charts & Figures

ตารางแสดงชิปที่เพิ่งวางตลาดของอินเทลในเดือนกันยายนที่ผ่านมา


   
www resources

โฮมเพจ อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์

   
search resources

อินเทล คอร์ปอเรชั่น
Hardware and Accesorries




อินเทลเพิ่งปล่อยโปรเซสเซอร์ชุดใหม่ออกมาวางตลาดเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเป็นไลน์สินค้าที่ทางอินเทลบอกว่าเป็นโปรเซสเซอร์ที่เร็วกว่าเล็กกว่า ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพในการจัดการเรื่องการใช้พลังงานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์ชุดนี้ นี่เป็นถ้อยคำทางการค้าหรือทางการตลาดสุดแท้แต่เราจะเรียก แต่ความจริงคือโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้ดีจริงอย่างนั้นหรือ

โปรเซสเซอร์ตัวใหม่นี้ อินเทลเรียกว่า Core i5 และ Core i7 คำถามที่เกิดขึ้นในหมู่แฟนพันธุ์แท้อินเทลก็คือ Core i7 คือโปรเซสเซอร์ตัวใหม่จริงๆ หรือ

จริงๆ แล้ว Core i7 ออกวางตลาด ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยอินเทลแปะป้ายโฆษณาไว้ว่า นี่คือโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลก แล้ว Core i7 ที่เพิ่งออกมานี่ล่ะคืออะไร ถ้าเราจะคิดไปว่า นี่คือโปรเซสเซอร์เวอร์ชั่นใหม่ที่เร็วขึ้น เป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่ดีขึ้นกว่า Core i7 อันเดิมล่ะ คำตอบก็ยังเป็นว่าไม่ใช่อยู่ดี แต่จริงๆ แล้ว โปรเซสเซอร์ตัวใหม่นี้กลับทำงานช้ากว่า Core i7 ของเดิมที่ออกวางตลาดตั้งแต่ปีที่แล้วเสียอีก

คำตอบจริงๆ ก็คือ อินเทลกำลังวางตำแหน่งทางการตลาดหรือ positioning ตัวโปรเซสเซอร์ Core i7 ตัวใหม่นี้ให้เป็นสินค้ากลุ่มตลาดระดับกลาง (midrange line) ปัจจุบันอินเทลขาย Core i7 สองตัวแยกจากกันเด็ดขาด โดย Core i7 ตัวเก่า จะมีประสิทธิภาพมากกว่า Core i7 ตัวใหม่ เป็นการทำลายกฎเหล็กของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่ว่า เวอร์ชั่นใหม่ย่อมดีกว่าเวอร์ชั่นเก่าเสมอ

อาจจะดูแปลกๆ และเข้าใจยากไปสักหน่อยสำหรับเรื่องที่เล่ามาข้างต้น ซึ่งถ้าเรามานั่งคิดถึงโปรเซสเซอร์ของอินเทล ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันก็จะเห็นว่า หลายๆ ครั้งโปรเซสเซอร์ของอินเทลที่วางตลาดมาก็สร้างความแปลกประหลาดใจหลายต่อหลายหน นี่ไม่ใช่แค่ว่า อินเทลวางตลาดสินค้าหลากหลายรุ่น และหลากหลายตลาด แต่เมื่อพิจารณาถึงสินค้าของอินเทลแต่ละตัวแล้วก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องยากที่จะบ่งบอกว่าสินค้าตัวไหนของอินเทลดีกว่าตัวไหน โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้ติดตามแนวทางการพัฒนาโปรเซสเซอร์ (development roadmap) ของอินเทลมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ซื้อคอมพิวเตอร์หน้าใหม่ เมื่อพิจารณาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ที่วางตลาด แล้ว เราจะไม่สามารถเลือกคอมพิวเตอร์ โดยมองเพียงเรื่อง clock rate ซึ่งจะอยู่ในรูปของจำนวนกิกะเฮิรซต์ ปกติเราจะใช้ มันเป็นตัวแทนของความเร็วในการทำงาน ของโปรเซสเซอร์ได้ เพราะการออกแบบของโปรเซสเซอร์ก็มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของโปรเซสเซอร์มากพอๆ กับ clock rate ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้เราเรียกว่า megahertz myth

เรื่อง Megahertz myth กลายเป็นประเด็นหลักที่เหล่าผู้ผลิตตัวชิปไมโครโปรเซสเซอร์ รวมถึงผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกพยายามฝ่าด่านอรหันต์ตรงนี้ไปให้ได้ เนื่องจากเรื่องความเร็วของโปรเซสเซอร์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมกะเฮิรซต์มาจนกลายเป็นกิกะเฮิรซต์ในทุกวันนี้นั้น กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาของผู้ซื้อคอมพิวเตอร์หลายล้านคนทั่วโลกที่เชื่อว่าจำนวนตัวเลขของความเร็วที่สูงย่อมหมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ดีกว่า และความเชื่อนี้กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมูลค่าหลายพันหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

แอปเปิลเป็นผู้ผลิตเจ้าแรกที่ออกมาพูดถึงเรื่อง Megahertz Myth หลังจากโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า ชิปพาวเวอร์พีซีของแอปเปิลทำงานช้ากว่าชิปของอินเทลมาก แอปเปิลบอกว่า สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันของชิปแต่ละแบบทำให้การเปรียบเทียบด้วยเรื่องความเร็วของชิปเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมนัก การที่มีจำนวนกิกะเฮิรซต์สูงกว่าไม่ได้หมายถึง ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเร็วกว่าเครื่องอื่นแต่อย่างไร

ก่อนหน้านี้จำนวน clock ของซีพียู ในแต่ละวินาทีหมายถึงความสามารถในการคำนวณของโปรเซสเซอร์นั้นๆ หนึ่ง clock คือ หนึ่งคำสั่งที่ทำงานได้ อย่างไรก็ตาม เหล่านักออกแบบชิปได้พยายามเพิ่มความสามารถในการทำงานของซีพียูโดยไม่เพียงแต่จะทำให้โปรเซสเซอร์ทำงาน เร็วขึ้นโดยการเพิ่มจำนวน clock เท่านั้น แต่พยายามทำให้ซีพียูสามารถคำนวณได้มากขึ้นด้วยโดยการเพิ่มจำนวนคำสั่งที่ทำงานได้ในแต่ละ clock ดังนั้น จำนวน clock ที่มากกว่าจึงไม่ได้หมายถึงว่าทำงาน ได้มากกว่าเสมอไป

อย่างไรก็ตาม อินเทลเข้าใจจิตวิทยาในเรื่องนี้ดี เลยพยายามออกชิปที่ทำงานด้วยจำนวน clock ที่มากกว่ามาเรื่อยๆ แล้วพวกเขาก็ครองตลาดคอมพิวเตอร์ไป 80 เปอร์เซ็นต์

จริงๆ แล้ว สิ่งที่จะต้องพิจารณาจึงต้องมองถึงชนิดหรือการออกแบบของโปรเซสเซอร์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน เช่นสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของอินเทลนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core Duo โดยทั่วๆ ไปจะช้ากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core 2 Duo ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core 2 Duo ก็จะช้ากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core 2 Quad แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core i5 จะดีกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core 2 Quad แต่ก็จะสู้คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Core i7 ไม่ได้ และอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อินเทลได้วางแผนที่จะวางตลาดโปรเซสเซอร์ Core i3 และ Core i9 ซึ่งจะมาช่วยอุดช่องว่างในกลุ่มโปรเซสเซอร์ Core 2 Duo และ Quad ที่ครองตลาดส่วนใหญ่ไว้

สิ่งเหล่านี้นำเราไปสู่ปัญหาพื้นฐานของการทำการตลาดของคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะซื้อคอมพิวเตอร์ตามร้านหรือซื้อออนไลน์ก็ตามที สินค้าคอมพิวเตอร์มักจะนำเสนอเราในรูปของกลุ่มตัวเลข มากมายที่สร้างความงุนงงให้กับเรา ยกตัวอย่างเช่น 2.80 GHz Core 2 Duo, 3 GB RAM memory, 320 GB hard drive (7200 RPM), 512 MB Video card, และอื่นๆ อีกมากมาย คนจำนวนหนึ่งเข้าใจกลุ่มตัวเลขเหล่านี้และสามารถใช้มันในการเปรียบเทียบคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นเพื่อเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับการใช้งานและราคาได้ แต่หลายคนก็ไม่เข้าใจและไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มตัวเลขเหล่านี้ได้ หลายๆ คนยังไม่สามารถแยกว่า RAM กับ Hard drive ต่างกันอย่างไร เพราะก็เป็นหน่วยความจำเหมือนกันไม่ใช่หรือ ทำไมต้องเลือกหน่วยความจำสองชุดไว้ในคอมพิวเตอร์ตัวเดียวกัน เป็นต้น

เพราะคอมพิวเตอร์กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ประจำบ้านชิ้นหนึ่งของเกือบทุกบ้านไปแล้ว มีคนเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการทำการตลาดคอมพิวเตอร์ที่น่าจะเข้าใจ ได้ดีกว่าวิธีการนำเสนอตัวเลขจำนวนมากมายอย่างทุกวันนี้ โดยการแสดงประสิทธิ ภาพของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ในการทำงานที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะใช้เวลากี่วินาทีในการเปิดโปรแกรมอย่าง Internet Explorer, Microsoft Word หรือ iTunes โดยเฉพาะถ้าต้องเปิดพร้อมๆ กัน, คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะใช้เวลาเท่าไรในการโหลดเมลจาก Hotmail ผ่านบรอดแบนด์ความเร็ว 1 เม็ก, คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะใช้เวลาเท่าไรในการ rip หรือแปลงจากแผ่นซีดีเพลงมาเป็นไฟล์ MP3, คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นสามารถเก็บภาพ เพลง หรือหนัง ได้มากแค่ไหนในฮาร์ดดิสก์, คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นสามารถเล่นหนังความละเอียดสูงได้ไหม, คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นใช้เวลานานแค่ไหนในการจัดการรูปภาพ หรือถ้าคอมพิวเตอร์นั้นเป็นโน้ตบุ๊กล่ะ แบตเตอรี่จะอยู่ได้นานแค่ไหน เป็นต้น

เพราะในแต่ละงานที่ยกตัวอย่างมา นั้น การใช้โปรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาแตกต่างกันหรือรวมถึงความเร็วของโปรเซสเซอร์ที่ต่างกันอาจจะไม่มีผลต่อการใช้งาน ทั่วๆ ไปแบบนั้นสักเท่าไร อย่างการใช้งาน อินเทอร์เน็ตอาจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของขนาดของแบนด์วิธของไฮสปีดที่บ้านแทนที่จะมองเรื่อง Core 2 Duo หรือ Core i7

ประเด็นเรื่อง Megahertz Myth อาจจะเป็นปริศนาดำไปอีกนานแสนนาน ถ้าเหล่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รวมถึงโปรเซสเซอร์เจ้าอื่นๆ ไม่สามารถฝ่ากำแพงนี้ออกไปได้และอินเทลรวมถึงผู้ผลิตชิปเจ้าอื่นๆ ก็คงต้องเล่นกับจิตวิทยาของตัวเลขไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะมีประเด็นใหม่ๆ มาให้เล่นกันอีก


อ่านเพิ่มเติม:
1. Smith, T. (2002), 'Megahertz Myth,' The Guardian, Thursday 28 February 2002, http://www.guardian.co.uk/technology/2002/feb/28/onlinesupplement3

2. Manjoo, F. (2009), 'Down with Megahertz!,' Slate, Wednesday 9 September 2009, http://www.slate.com/id/2227769/

3. Intel Launches Fastest Processor on the Planet, http://www.intel.com/pressroom/archive/releases/20081117comp_sm.htm#story

4. Intel Introduces Core i7, Xeon 3400 and First Core i5 Processors, http://www.intel.com/pressroom/archive/releases20090908comp.htm?iid=pr1_releasepri_20090908m

5. Angelini, C. (2009), 'What's In a Name?,' http://www.tomshardware.com/reviews/intel-core-i5,2410-2.html

6. Intel Processor Roadmap Update, http://www.firingsquad.com/hardware/intel_32nm_westmere_roadmap/   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us