Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
PETRONAS: The New Seven Sisters             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

ASEAN Strategic Opportunities & Intellectually Challenges
PROTON: Driving the Dreams
AIR ASIA: Flying High
CIMB: Regional Networking
F&N: Expanding Future

   
www resources

PETRONAS Homepage

   
search resources

Oil and gas
ปิโตรนาส รีเทล (ประเทศไทย), บจก.
Petroliam Nasional Berhad




ไม่เพียงเป็นบรรษัทที่ได้รับการจัดลำดับให้อยู่ในบัญชีของ Fortune 500 ในฐานะที่เป็นบรรษัทขนาดใหญ่ลำดับที่ 95 ในปี 2008 และลำดับที่ 80 ในปี 2009 แต่การที่ Financial Times ระบุถึง PETRONAS ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งใน "new seven sisters" ซึ่งหมายถึงบรรษัทด้านพลังงานจากประเทศนอกกลุ่ม OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในห้วงเวลาปัจจุบันกำลังฉายภาพบทบาทและสถานะของ PETRONAS ในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี

นิยามเกี่ยวกับ seven sisters ในวงการพลังงานในอดีต อาจหมายถึงกลุ่มบรรษัทด้านพลังงาน 7 แห่งที่ครอบงำและ ผูกขาดกลไกทางตลาดพลังงานของโลก ก่อนที่ OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) จะก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และทำให้อิทธิพลของกลุ่มบรรษัทเหล่านี้ลดลงไป

มรดกของ seven sisters ดังกล่าวไม่ได้จบสิ้นลง เพราะสมาชิกในกลุ่มเดิมได้ผ่านการควบรวมและผนวกกิจการกันเองอีกหลายครั้ง ซึ่งปัจจุบันกลุ่มบรรษัทเหล่านี้ได้รับการกล่าวถึงในฐานะ "Supermajors Group" ประกอบด้วย ExxonMobil, Chevron, Royal Dutch Shell และ British Petroleum ที่ล้วนแต่มีบทบาทนำในตลาดพลังงานของโลก

ในกรณีของอินโดนีเซีย ซึ่งแม้จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OPEC แต่ PERTAMINA (Perusahaan Tambang Minyak Negara: State Oil Extraction Company) ก็ไม่ได้ ดำเนินกิจการสำรวจหรือขุดเจาะเองมากนัก หากยังต้องพึ่งพาบรรษัทพลังงานข้ามชาติรายใหญ่ในการผลิต ทำให้ PERTAMINA กลายเป็นองค์กรที่สร้างหนี้ให้กับรัฐบาลอินโดนีเซีย อย่างมหาศาลในเวลาต่อมา

สำหรับมาเลเซีย การสำรวจและขุดเจาะหาน้ำมันทั้งใน Sarawak และ Sabah บนเกาะ Borneo ดำเนินการโดยมี Royal Dutch Shell เป็นผู้รับสัมปทานหลัก ขณะที่แหล่งพลังงานในพื้นที่คาบสมุทร ก็มีบรรษัทพลังงานข้ามชาติ ทั้ง Esso Continental Oil และ Mobil เป็นผู้เข้าแสวงประโยชน์อยู่เช่นกัน

การเกิดขึ้นของ PETRONAS หรือ Petroliam Nasional Berhad ในปี 1974 แม้จะได้รับแรงบันดาลใจและอาศัย PERTAMINA ของอินโดนีเซียเป็นต้นแบบในการจัดตั้งองค์กรในระยะเบื้องต้น หากวิถีปฏิบัติของ PETRONAS กลับให้ภาพและผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

ในด้านหนึ่ง อาจเป็นเพราะแผนการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่ได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (New Economic Policy) มาตั้งแต่เมื่อปี 1971 เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ดุลยภาพในอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานของโลกกำลังเคลื่อนย้ายจากบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ไปอยู่ที่กลุ่ม OPEC มากขึ้น

วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน (Oil Crisis) ในปี 1973-1974 กลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ รัฐบาลมาเลเซียพยายามแสวงหาหนทางที่จะลดทอนการพึ่งพิงพลังงานจากต่างประเทศ รวมถึงจำกัดการลงทุนเพื่อสำรวจและผลิตของบรรษัทน้ำมันข้ามชาติให้อยู่ในระดับที่น้อยลงไปด้วย

ภารกิจแรกๆ ของ PETRONAS อยู่ที่การเข้าเจรจากับ Royal Dutch Shell และESSO เพื่อปรับเปลี่ยนสัญญาสัมปทาน โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยการแบ่งสัดส่วนผลผลิต และการเข้าร่วมทุนของ PETRONAS

การได้รับส่วนแบ่งผลผลิตน้ำมันทำให้ PETRONAS สามารถนำน้ำมันที่ได้จากคู่สัญญามาจำหน่ายในตลาดมาเลเซียได้โดยตรง ซึ่งสามารถลดทอนปริมาณการนำเข้าน้ำมันลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ส่งน้ำมันที่ได้ไปสู่ตลาดโลก ซึ่งทำให้มาเลเซียกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิอีกรายหนึ่งของโลก

แต่ปริมาณการส่งออกของมาเลเซียยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ที่จะทำให้มาเลเซียได้รับสิทธิในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OPEC

ขณะเดียวกันจังหวะก้าวของ PETRONAS ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความสามารถในการสร้างโอกาสจากกรอบความร่วมมือ ASEAN อย่างสำคัญอยู่ที่การได้รับเลือกให้สร้างโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย ภายใต้ชื่อ ASEAN Bintulu Fertilizer (ABF) ตามโครงการลงทุนร่วมด้านอุตสาหกรรมของ ASEAN ในปี 1976 หรือเพียง 2 ปีภายหลังการจัดตั้ง PETRONAS เท่านั้น

ความเคลื่อนไหวของ PETRONAS ดังกล่าวสะท้อนความมุ่งหมายของรัฐบาลมาเลเซียในการจัดตั้ง PETRONAS ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะกรณีของน้ำมันเท่านั้น หากยังแผ่ครอบคลุมไปสู่อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและรวมถึงการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติเหลว (liquefied natural gas: LNG) ด้วย

ยุทธศาสตร์ของมาเลเซียเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ LNG โดย PETRONAS เริ่มขึ้นด้วยการต่อเรือบรรทุกก๊าซ (tanker) เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ก๊าซธรรมชาติเหล่านี้ แทนการเช่าเรือของผู้ประกอบการต่างชาติ และเป็นการสร้างระบบการขนส่งก๊าซที่มาเลเซียเป็นผู้ควบคุมเอง

LNG กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญสำหรับ PETRONAS และมาเลเซีย เนื่องเพราะปริมาณน้ำมันสำรองที่สำรวจและขุดเจาะอยู่ในมาเลเซียมีแนวโน้มจะหมดสิ้นลงในอนาคตอันใกล้ และการแสวงหาแหล่งพลังงานอื่นเพื่อทดแทนน้ำมันจึงเป็นประหนึ่งยุทธศาสตร์ทางเลือกที่เติมเต็มวิสัยทัศน์การพัฒนาของมาเลเซีย มาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 และได้รับการเน้นย้ำความสำคัญจากแนวนโยบายเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างมาเลเซียไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมด้วย

การลงทุนของ PETRONAS โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการ Peninsular Gas Utilization Project (Projek Penggunaan Gas Semenanjung) มีเป้าหมายจะสร้างหลักประกันให้ทุกส่วนของพื้นที่ในแหลมมลายูสามารถเข้าถึงและใช้ก๊าซธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันสำรองที่ลดลงส่งผลให้ PETRONAS และรัฐบาลมาเลเซีย ต้องดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกในการเข้าไปสำรวจและผลิตน้ำมันในต่างแดนไปโดยปริยาย

PETRONAS Carigali Overseas Sdn. Bhd. หน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1990 กลายเป็นจักรกลสำคัญในการรุกคืบไปยังแหล่งทรัพยากรของประเทศรอบข้าง ทั้งการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบรรษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ Idemitsu Myanmar Oil Exploration ซึ่งถือเป็นการสำรวจแหล่งน้ำมันนอกอาณาเขตมาเลเซียเป็นครั้งแรกของ PETRONAS ด้วย

ยังไม่นับรวมถึงการรุกเข้าไปสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในเวียดนามและความร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนนอกชายฝั่งทะเล (Joint Development Area) และการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งก็คือการเติมเต็มพัฒนาการในระยะที่สามให้กับระบบของ Peninsular Gas Utilization Project ที่ดำเนินการวางแนวท่อส่งก๊าซตามแนวชายฝั่งทั้งด้านตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียมาก่อนหน้านี้แล้ว

การเข้าสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของ PETRONAS มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพียงพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิก ASEAN เท่านั้น หากยังรุกเข้าสู่เอเชียใต้และตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสำรวจแหล่งน้ำมันในปากีสถานหรือการลงนามในสัญญาแบ่งส่วนผลผลิต (production sharing contracts: PSCs) ในแหล่งผลิต ของอิหร่าน

นอกจากนี้ PETRONAS ยังรุกเข้าสู่ทวีปแอฟริกา ทั้งในกรณีของ Chad-Cameroon Integrated Oil Development and Pipeline Project และถือครองสัญญา PSCs ที่จะเป็นหลักประกันในปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งผลิต 8 แห่งใน 8 ประเทศ ซึ่งรวม ถึงการผลิตจากแหล่งผลิตใน Gabon Niger Egypt และ Yemen ด้วย

ขณะเดียวกันพัฒนาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ LNG หลังจากที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ Tiga เสร็จสมบูรณ์ในปี 2003 ได้ส่งผลให้มาเลเซียเบียดแซง Algeria ขึ้นมาอยู่ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิต LNG รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกในปัจจุบัน

PETRONAS กำลังก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าร่วมกับ Saudi Aramco ของซาอุดีอาระเบีย JSC Gazprom จากรัสเซีย CNPC ของจีน NIOC ของอิหร่าน PDVSA ของเวเนซูเอลา และ PETROBRAS จากบราซิล ที่เป็นประหนึ่ง new seven sisters ในวงการพลังงานในยุคปัจจุบัน

จังหวะก้าวของ PETRONAS ดังกล่าว ทำให้สำนักข่าว Bernama ของมาเลเซียกล่าวถึงบรรษัทน้ำมันที่จัดตั้งโดยรัฐบาลแห่งนี้ว่า "มีสถานะเป็นมากกว่าบรรษัทพลังงานระดับโลก หากกำลังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของวิสัยทัศน์ในการพัฒนามาเลเซีย" เลยทีเดียว

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือในขณะที่ PETRONAS ทำหน้าที่ประหนึ่ง "ผู้ถือธงนำ" ภายใต้การสร้างหลักประกันด้านพลังงาน สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้กับมาเลเซียอย่างมีเอกภาพและสอดรับกับเข็มมุ่งที่จะก้าวสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมของมาเลเซีย

ประเทศไทยกลับไม่สามารถผลิตสร้างหรือวางนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่เด่นชัดมากนัก

บางทีสังคมไทยอาจต้องเริ่มถอยห่างจากมายาภาพ และกลับมาทบทวนประเมินบทบาทที่ผ่านมา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติอย่างจริงจังกันได้แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us