|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การประชุมสุดยอดผู้นำ ASEAN ครั้งที่ 15 ผ่านพ้นไปแล้ว หากแต่การประเมินค่าความสำเร็จหรือล้มเหลว ย่อมเป็นไปภายใต้วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายและมาตรฐานของแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้อง
หลักไมล์สำคัญของ ASEAN นับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1967 กำลังเดินทางมาสู่จุดที่มิติความร่วมมือระดับภูมิภาคแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่บริบทใหม่ที่พร้อมเปิดให้เห็นโอกาสที่กว้างขวางขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้ของ ASEAN Free Trade Area (AFTA) และข้อตกลงว่าด้วย ASEAN Comprehensive Investment Area (ACIA) ในปี 2010 หรือแม้กระทั่งความพยายามก้าวสู่การเป็น ASEAN Community ในปี 2015
ภายใต้คำขวัญ "Enhancing Connectivity, Empowering People" หรือ "เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน" ได้ชี้ให้เห็นว่า ASEAN มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องการเชื่อมโยงทางกายภาพของเส้นทางคมนาคมและระบบ logistics ระหว่างกันในเชิง hardware เท่านั้น
หากยังมีมิติของการเชื่อมโยงองค์ความรู้ (Knowledge Connectivity) รวมถึงการเสริมสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมให้ใกล้ชิดมากขึ้นในอนาคตด้วย
ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับสมาชิกในประชาคม ASEAN ไปพร้อมกัน
เพราะในความเป็นจริง วิวัฒนาการของ ASEAN ที่กำลังดำเนินไปนี้ไม่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความหมายที่ทุกประเทศหรือทุกคนใน ASEAN จะได้ประโยชน์
หากแต่เป็นกรณีที่ผู้มีความสามารถในการปรับตัวและประเมินศักยภาพการแข่งขันเท่านั้นที่จะแสวงประโยชน์จากบริบทที่เปลี่ยนไปนี้
ภาวะแวดล้อมที่ดำเนินอยู่รอบข้าง ซึ่งผู้จัดการ 360 ํ พยายามนำเสนอในฉบับนี้ ในด้านหนึ่งอาจประเมินในฐานะที่ไม่ต่างจากการนำเสนอข่าว Corporate news ที่ให้ภาพความเคลื่อนไหวในระดับจุลภาค (micro) ของบรรษัทธุรกิจ ซึ่งอาจพบเห็นได้ทั่วไป
หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง ยุทธศาสตร์หรือแนวนโยบายที่ดำเนินเป็นฉากหลัง กลับกำลังฉายภาพที่กว้างและสามารถส่งผลกระทบได้ในระดับมหภาค (macro) อย่างมีนัยสำคัญ
เป็นยุทธศาสตร์ที่บ่มเพาะขึ้นจากแนวความคิดและผลิตสร้างออกมาเป็นนโยบายที่ต้องอาศัยองค์ความรู้และความเข้าใจทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างรอบด้าน
นี่คือมิติที่ท้าทายภูมิปัญญาของผู้มีอำนาจและเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายทั้งในกลไกระดับรัฐและในบริบทของภาคธุรกิจเอกชน
เป็นความท้าทายทางภูมิปัญญา เพราะองค์ความรู้ที่จะนำมาผลิตสร้างให้เกิดยุทธศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถได้มาด้วย การเดินทางเสาะแสวงหาไปในแหล่งใด หากแต่เป็นผลผลิตของการบีบกลั่นและตกผลึกความคิดคำนึงจากการสังเกต เฝ้ามองและไตร่ตรอง ก่อนนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของแต่ละภาคส่วน
ความเป็นไปของผู้แสดงที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมานำเสนอในแต่ละกรณี อาจเป็นเพียงภาพสะท้อนที่ชี้ให้เห็นถึงจังหวะก้าวและการปรับตัวเข้ากับบริบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง
บรรษัทธุรกิจเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจในบทบาทและตอบคำถามเกี่ยวกับความต้องการที่มุ่งหมายจะเป็น ภายใต้การพัฒนาศักยภาพจากมิติภายในที่เข้มข้น แข็งขันก่อนที่จะรุกคืบออกสู่ภายนอกในฐานะผู้มีบทบาทนำ
การประเมินศักยภาพเพื่อให้เข้าใจถึงจุดเด่น-จุดด้อยภายในสำหรับการแข่งขันในระดับสากล ก่อนการก้าวย่างเข้าสู่กรอบความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นและทำให้พื้นที่ของ ASEAN บีบแคบเข้ามานี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ
ปัญหาอยู่ที่ว่าภาครัฐและภาคเอกชนไทยจะสามารถข้ามพ้นมิติแห่งความท้าทายดังกล่าวไปสู่การผลิตสร้างโอกาสทางยุทธศาสตร์นี้ได้หรือไม่และอย่างไร
|
|
|
|
|