Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
สูงสุดคืนสู่สามัญ             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

เจเนอรัล มอเตอร์
Auto Manufacturers
Fritz Henderson




สิ่งที่ GM ต้องการเพียงอย่างเดียวในยามนี้คือ ผลิตรถที่จะมีคนซื้อ

Fritz Henderson CEO คนใหม่ของ GM จะไม่มีวันทำอะไรแบบ GoFast โครงการที่ริเริ่มโดย Rick Wagoner CEO GM คนก่อนหน้าเขา

หากจะมีสิ่งใดที่จะช่วยให้เข้าใจได้ว่า เหตุใดค่ายรถยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีอายุยืนนานถึง 101 ปีอย่าง GM จึงล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 30 ปีหลัง จนถึงขั้นล้มละลายในปีนี้ ให้ดูเรื่อง GoFast เป็นตัวอย่าง

Wagoner ริเริ่มโครงการนี้ในปี 2000 จุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าในระบบการทำงานของ GM GoFast มีแนวคิดที่ง่ายมากคือ หากการเจรจาใดถึงทางตันให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไปประชุม workshop กัน จนกว่าจะตกลงกันได้สำเร็จ GM ระดมทรัพยากรเป็นการใหญ่เพื่องานนี้ เพื่อให้สามารถกระจาย GoFast ไปทั่วทั้งองค์กร เริ่มตั้งแต่ฝึกอบรมโค้ช GoFast เตรียมทำ workshop เป็นพันๆ ครั้ง เช็กการตอบรับจากพนักงานไปจนถึงการแจกถ้วยกาแฟ GoFast GM อวดว่า โครงการนี้สามารถประหยัดเงินให้บริษัทได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่การประชุม workshop ของ GoFast กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงการประชุมอื่นๆ จนในที่สุด การทำ workshop ภายใต้ GoFast เกิดขึ้นมากกว่า 7,000 ครั้ง หรือจะพูดให้ตรงก็คือ GM จัดการประชุมกว่า 7,000 ครั้ง เพียงเพื่อจะปรึกษากันว่าจะจัดประชุมน้อยลงได้อย่างไร การประเมินผลงาน พนักงานมีการพิจารณาเรื่อง GoFast ด้วย ผลสุดท้าย GoFast กลับทำให้ระบบการทำงานใน GM เชื่องช้าลงยิ่งกว่าเดิม

Fritz Henderson พูดถึง GoFast เพียงสั้นๆ ว่า ไม่ได้ช่วยให้ GM สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นเลย

ค่ายรถคู่แข่งของ GM รายหนึ่งใน Detroit อธิบายสถานการณ์ที่ Henderson กำลังเผชิญที่ GM ว่า GM ยังมีศักยภาพในการแข่งขันซ่อนอยู่ แต่ Henderson จะสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาได้หรือไม่ ตัว Henderson เองเป็นคนที่พร้อมจะไม่ทำตามกฎ หากต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เรื่องที่ GM ยุคเก่าเคย ใช้เวลาตัดสินใจนานหลายเดือน แต่ Henderson อาจใช้เวลาเพียงข้ามคืน เมื่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่ายหน้าไม่ยอมรับรถ crossover ของ Buick เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Henderson สั่งยกเลิกโครงการรถดังกล่าวทันที ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และกล่าวว่าการจะทำให้พนักงานตระหนักว่า เราจำเป็นต้องทำงานให้รวดเร็วกว่านี้ และกล้าเสี่ยงมากกว่านี้ ต้องเริ่มที่ระดับผู้บริหารสูงสุดลงไปถึงระดับล่างสุด แล้วพนักงานก็จะตระหนักเองว่า ความเร็วเป็นเรื่องสำคัญเพียงใด และพวกเขาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ของ GM ไม่ได้เป็นผู้เลือก Henderson เป็น CEO แต่เขาถูกส่งตรงมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ คณะกรรมการชุดนี้เคยยับยั้งการขาย Opel ของ Henderson เพื่อขอวิเคราะห์ทางเลือกทุกทางอย่างรอบคอบมาแล้ว ดังนั้นงานของ Henderson ที่ GM จึงไม่ใช่เรื่องหมูๆ

มีข่าวลืออยู่บ่อยๆ ว่า GM อาจจะย้ายออกจาก Detroit ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเมืองที่ได้ชื่อว่า Motor City หรือ Motown เนื่องจากเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมรถยนต์แต่เพียงอย่างเดียว จนถึงขั้นที่ไม่อาจฟื้นตัวกลับมาดังเดิมได้อีก แม้หลังจากค่ายรถคู่แข่งอย่าง Chrysler และ Ford จะย้ายออกจากเมืองนี้ไปแล้ว แต่ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 GM กลับลงทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์ ย้ายสำนักงานใหญ่เข้าไปยังเขตที่เรียกว่า Renaissance Center ริมฝั่งแม่น้ำ Detroit ซึ่งอยู่ใจกลางเมือง แต่เดี๋ยวนี้สำนักงานใหญ่ของ GM ที่นั่น กลับต้องว่างลงถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ร้านค้าและภัตตาคารต่างๆ ที่เคยเปิดให้บริการพนักงาน GM ก็ต้องปิดตัวไป

3 ปีต่อจากนี้ Henderson จะต้องพยายามขายรถรุ่นใหม่ๆ เช่น รถ crossover รุ่น Chevrolet Equinox และ Buick LaCrosse ให้ได้ ดูเหมือนว่าการตอบรับจากลูกค้าจะไม่เลวนัก แต่ GM กลับ ช้ากว่าชาวบ้านในการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆ Merrill Lynch วิเคราะห์ว่า อัตราการออกรถรุ่นใหม่ของ GM เฉลี่ยจะอยู่ที่เพียง 11% เท่านั้นในช่วงปี 2010-2013 เทียบกับคู่แข่งอย่าง Toyota ที่ 17% และ Ford ที่ 25% และ Merill Lynch ยังไม่เชื่อด้วยว่า GM จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 18-19% แต่น่าจะได้เพียง 15-16% เท่านั้น

Henderson บอกว่าวันเวลาที่ GM เคยออกรถรุ่นใหม่รวดเดียว 8 หรือ 9 รุ่น เพียงเพื่อจะมีเพียง 2 รุ่นเท่านั้นที่ได้รับความนิยม อีก 4 รุ่นได้รับความนิยมปานกลาง ส่วนที่เหลือมียอดขายงั้นๆ ได้จบสิ้นไปแล้ว เพราะ "เราไม่มีเงินที่จะทำอย่างนั้นได้อีกและตลาดเรียกร้องจากเราสูงกว่านั้น"

อย่างไรก็ตาม สภาพของ GM ตอนนี้นับว่ายังดีกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมาก GM เพิ่งพ้นจากการล้มละลายเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีขนาดเล็กลง คล่องตัวขึ้น และชัดเจนมากขึ้น ภาระหนี้ถูกปลดเปลื้อง GM ใหม่จะมีโรงงานประกอบรถ 34 แห่งในปี 2010 ลดลงจาก 47 แห่งในปี 2008 มีพนักงาน 68,500 คนในปี 2009 ลดลงจาก 91,650 คน ในปี 2008 มีแบรนด์รถเหลือเพียง 4 แบรนด์กับ 34 รุ่น ลดลงจาก 8 แบรนด์กับ 48 รุ่น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายประจำก็จะลดลงด้วย คาดว่าจะลดลงจาก 51,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2009 เหลือเพียง 30,400 ล้านดอลลาร์ ในปี 2010 ส่วนค่าจ้างแรงงานรายชั่วโมงลดลงจาก 7.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2008 เหลือประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2010

ภายในสิ้นปีนี้ Henderson จะต้องปลดพนักงานระดับบริหารของ GM ออก 450 คน จากทั้งหมด 1,300 คนและเปลี่ยน เป็นผู้จัดการรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อย ซึ่งไม่เคยได้สัมผัสช่วงเวลาที่ GM g8p ครองตลาดรถยนต์อเมริกันมาก่อน ยังมีการสลับตำแหน่ง ระดับบริหารอีกหลายคน หนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือ Bob Lutz ซึ่งเปลี่ยนจากตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ ดูแลเรื่องการตลาดและการสื่อสารโดยเฉพาะ Lutz มีอายุมากถึง 77 ปีแล้ว มีประสบการณ์คร่ำหวอดมาก เคยทำงาน ทั้งกับ BMW, Ford และ Chrysler ก่อนจะมาร่วมงานกับ GM ในปี 2001 Lutz เป็นคนที่รณรงค์ต่อต้านระบบการทำงานของ GM ที่แสนจะเชื่องช้าและขัดกับสัญชาตญาณมาตลอด เขาบอกว่า GM มีกฎเป็นล้านข้อในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ Fritz เกลียดการเสียเวลา เชื่อในการมีองค์กรที่เพรียว และการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว

Ron Bloom ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และ หัวหน้าหน่วยเฉพาะกิจกอบกู้อุตสาหกรรมรถยนต์ของรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้รับผิดชอบการเข้าอุ้ม GM มาตั้งแต่ต้น ยังคงมีอำนาจในการตรวจสอบดูแล GM และทีมบริหารใหม่ของ GM อย่างเต็มที่ เขาต้องการให้ GM เริ่มจ่ายคืนหนี้ให้แก่รัฐบาลตั้งแต่ปีหน้า และต้องการเห็น GM ผลิตแต่รถที่ต้องยอดเยี่ยมเท่านั้น มิใช่แค่รถที่พอไปได้ เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา

Henderson ในวัย 50 นับเป็น CEO ที่อายุน้อยที่สุดคนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ 101 ปีของ GM แต่เป็นคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล เพราะขณะนี้รัฐบาลอเมริกันคือผู้ถือหุ้นใหญ่ใน GM หลังจากได้นำเงินภาษีของประชาชน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ไปอุ้ม GM จนเป็นเจ้าของหุ้น 60.8% ของ GM รัฐบาลยังแต่งตั้งกรรมการ 10 ในทั้งหมด 13 คนของคณะกรรมการบริหาร GM ซึ่งรวมถึงตังประธานคณะกรรมการคือ Ed Whitacre อดีตผู้บริหาร AT&T ด้วย ส่วนกรรมการอีก 1 คนเป็นตัวแทนร่วมของรัฐบาลแคนาดากับรัฐออนทาริโอของแคนาดา ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 11.7%

ใน GM ใหม่ ในบรรดากรรมการบริหารทั้งหมดมี Henderson เพียงคนเดียวที่เป็นลูกหม้อของ GM

เขาเริ่มงานกับ GM มาตั้งแต่ปี 1984 เมื่อครั้งที่ GM ยังครองส่วนแบ่งตลาดถึง 40% ในสหรัฐฯ และมีแบรนด์รถดังๆ ถึง 5 แบรนด์ ในตอนนั้น Toyota ยังไม่มีตำแหน่งใดเลยในตลาดรถอเมริกัน ส่วน Hyundai ยังไม่มีตัวตนในสหรัฐฯ ด้วยซ้ำ นอกจาก จะเป็นแชมป์ในด้านยอดขายแล้ว GM ยังเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีด้วย แต่วันนี้ GM ทำยอดขายได้ไม่ถึง 1 ใน 5 ในตลาดสหรัฐฯ และกำลังถูก Toyota และ Ford แย่งตำแหน่งผู้นำตลาด ไปครอง แม้แต่ Hyundai ก็แซงหน้าแบรนด์ของ GM ทุกแบรนด์ ในด้านคุณภาพและแซงหน้าในด้านยอดขายด้วย จะมียกเว้นก็เพียงแบรนด์ Chevy เพียงแบรนด์เดียว

GM ยังไม่เคยประสบความสำเร็จในการพัฒนารถที่ใช้พลังงานทางเลือก เหมือนกับ Toyota มาก่อนเลยและยังยอมรับด้วยว่า Chevy Volt รถพลังงานไฟฟ้าคันแรกของ GM คงจะยังไม่อาจทำกำไรได้ไปอีกหลายปี

Henderson เติบโตใน Detroit บิดาของเขาเป็นนักขายระดับบริหารของรถ Buick ในเครือ GM และทำงานกับ GM นานถึง 39 ปี ตัว Henderson หลังจบบัญชีและการเงินจากมหาวิทยาลัย Michigan Henderson ก็เข้าศึกษาต่อที่ Harvard Business School และเข้าทำงานกับสำนักบัญชีอันมีชื่อเสียงโด่งดังของ GM ตามด้วยการทำงานใน GMAC อดีตบริษัทการเงินในเครือของ GM และบริษัทชิ้นส่วนรถยนต์ Automotive Components Group (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Delphi Auto-motive) ประวัติการทำงานของ Henderson ได้รับการประทับคำว่า "มีศักยภาพสูง"

เมื่ออายุ 38 Henderson เดินทางไปบราซิล ตลาดรถที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกาของ GM เพียง 3 ปีหลังจากนั้นเขาสามารถครองตำแหน่งบริหารตลาดละตินอเมริกา แอฟริกาและตะวันออกกลาง และสร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพและเด็ดขาด หลังกลับจากเอเชียและยุโรป Henderson ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในเดือนมีนาคม 2008 และ CEO ในเดือนเดียวกันปี 2009

บางคนกลัวว่าการที่ Henderson เป็นลูกหม้อ GM จะทำให้เขาดิ้นไม่หลุดจากวัฒนธรรมของ GM จนไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงบริษัทได้ จะเห็นได้ว่าหลายคนในทีมบริหารใหม่ก็ล้วนเป็นลูกหม้อ GM เช่นเดียวกัน อย่างเช่น Rob Kleinbaum ที่ปรึกษาที่ทำงานให้ GM มานาน 24 ปี หลายคนเห็นว่า การเปลี่ยนทีมบริหารที่ Henderson ทำนั้นเป็นเพียงการสลับสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งไปมาเท่านั้น หาใช่การเปลี่ยนแปลงในระดับผู้นำที่มีความหมายนัก ดังนั้น แม้ว่า Henderson อาจจะมีความตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะทำได้จริงและสิ่งที่เขาลงมือเปลี่ยนแปลง อาจไม่มากพอที่จะแก้ไข ปัญหาของ GM ได้ อย่างไรก็ตาม Henderson บอกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกในช่วง 60-90 วันนี้

สำหรับคนที่ทำงานใกล้ชิดกับเขา ต่างเรียก Henderson ว่า "เครื่องจักร" ในการแถลงข่าวผ่านอินเทอร์เน็ต เขาสามารถพิมพ์คำตอบ 30 คำตอบได้ภายในเวลาเพียง 45 นาทีและตอบได้ทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเครื่องยนต์ของ Chevy Cruze ยันเรื่องอิทธิพลของรัฐบาลใน GM โดยพิมพ์ไม่ผิดแม้แต่ตัวเดียว แถมด้วยการตอบคำถามที่เขียนมาจากบราซิลด้วยภาษาโปรตุเกสอีกด้วย นอกจากนี้ Henderson ยังเล่น blog และ Twitter ได้อย่างคล่องแคล่ว

หลังเสร็จการแถลงข่าวออนไลน์ Henderson ก็เปลี่ยนไปตอบคำถามใน Twitter อีก 30 คำถาม ซึ่งมาจากพนักงานของ GM ภายในเวลาเพียง 30 นาที โดยพิมพ์ไม่ผิดแม้แต่ตัวเดียวอีกเช่นกัน พอเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะของเขาปิดตัวเองเพื่ออัพเดตซอฟต์แวร์ เขาก็เปลี่ยนไปเล่นคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท็อปได้ทันที โดยไม่บ่นอะไรแม้แต่คำเดียว ปกติแล้ว Henderson เป็นคนที่ไม่อดทนต่อการเสียเวลาใดๆ เขาจะหมดความสนใจกับคุณทันทีที่พูดธุระจบ แต่เมื่อใดที่สถานการณ์เรียกร้อง Henderson ก็สามารถจะเปลี่ยนไปเป็นคนที่มีความอดทนสูงได้ แม้กระทั่งฝ่ายตรงข้ามกับเขายังยกย่องในความเป็นนักเจรจาต่อรองของเขา

สุดท้ายแล้ว Henderson จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงและนำพา GM ให้อยู่รอด อาจขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้ นั่นคือเวลาการเข้ามารับตำแหน่งผู้นำ GM ในเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกต่ำถึงขีดสุดแล้ว บางทีอาจนับเป็นความโชคดีของเขา เพราะเศรษฐกิจกำลังเริ่มโงหัวขึ้น และยอดขายรถก็กำลังเริ่มจะโงหัวขึ้นเช่นกัน GM เองก็เตรียมจะออกรถรุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่นตลอด 2 ปีข้างหน้านี้

กุญแจสำคัญของความสำเร็จของ Henderson อาจเป็นการพยายามที่จะรักษาความรู้สึกต่ำต้อย ที่เกิดขึ้นภายในใจของพนักงาน GM เอาไว้ให้ได้ การล้มละลายทำให้ GM ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีความเป็นที่หนึ่งมาตลอด ต้องรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า แม้ว่าความรู้สึกที่ต้องตกเป็นรองเช่นนี้ หาใช่สิ่งที่ GM คุ้นเคย แต่ตราบใดที่ Henderson ยังสามารถรักษาความรู้สึกนี้ไว้ใน GM ต่อไปได้ ค่ายรถยักษ์ใหญ่ซึ่งเคยรู้จักแต่คำว่าที่หนึ่งมา ตลอด ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาคว้าความเป็นแชมป์ให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ฟอร์จูน 12 ตุลาคม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us