Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
มายาภาพของผลกำไร             
 


   
search resources

Banking




ภาพรวมธุรกิจธนาคารจากผลประกอบการไตรมาส 3 ซึ่งมีกำไรสุทธิเติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 จากไตรมาส 2 กำลังเป็นข้อบ่งชี้ที่สะท้อนการปรับตัวของธุรกิจธนาคารที่ฟื้นตัวขึ้นมากกว่าภาพรวมในระบบเศรษฐกิจ

เพราะกำไรที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลจากความพยายามในการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่จะได้รับอานิสงส์จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มชัดเจนขึ้นในไตรมาส 3/ 2552 เนื่องจากธุรกิจหลักอย่างการปล่อยสินเชื่อสุทธิยังคงหดตัว จากไตรมาสก่อนหน้า

โดยเฉพาะในส่วนของการกันสำรองหนี้เสียที่ลดลงถึง 6.5 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนผลของการเปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง รวมถึงปริมาณการกันสำรองหนี้เสียที่ลดลง หลังจากที่นโยบายบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ในลักษณะอนุรักษนิยมในช่วงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการควบคุมการปรับขึ้นของปริมาณเอ็นพีแอล ดังจะเห็นได้จากเอ็นพีแอล 2 ของไตรมาส 3/2552 ที่มีจำนวน 3.87 แสนล้านบาท (5.72% ของสินเชื่อรวม) ใกล้เคียงกับของไตรมาส 2/2552 ที่มีจำนวน 3.86 แสนล้านบาท (5.76% ของสินเชื่อรวม)

ขณะเดียวกันรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้ค่าธรรมเนียมที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ก็เป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance) ธุรกิจบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต และธนาคาร ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามการรุกตลาดของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน อาทิ บริการให้คำปรึกษาและรับประกันการจำหน่ายหุ้นกู้เอกชนที่ยังคงออกมาค่อนข้างหนาตาในช่วงระหว่างไตรมาสด้วย

นอกจากนี้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ยังเป็นผลมาจากการเติบโตของกำไรจากการปริวรรต หลังจากที่ได้ปรับตัวลดลงในไตรมาส 2/2552 ที่ผ่านมา รายได้จากการรับประกันภัยของบริษัทในเครือที่ถีบตัวสูงขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้า ตลอดจนรายการพิเศษอย่างกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ หนี้สูญรับคืน หรือกำไรจากการเข้าซื้อกิจการ เป็นต้น

ความพยายามในการเพิ่มรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าว ได้ส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30.8 ในไตรมาส 2/2552 มาที่ร้อยละ 31.9 ในไตรมาส 3/2552 สวนทางกับรายได้หลักอย่างรายได้ดอกเบี้ยที่ลดความสำคัญลงมาที่ร้อยละ 68.1 จากร้อยละ 69.2 ในไตรมาส 2/2552

อย่างไรก็ตาม รายได้ดอกเบี้ยสุทธิซึ่งสะท้อนธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์นั้น กลับลดความสดใสลง โดยหดตัวร้อยละ 3 จากปีก่อน คิดเป็นการลดลงจำนวนประมาณ 2.1 พันล้านบาท ตามอิทธิพลของการหดตัวของสินเชื่อ (ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น) และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถทยอยรับรู้ผลต่อต้นทุนอย่างเต็มที่ในทันที

ในทำนองเดียวกัน ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยก็ขยับลดลงชัดเจนจากร้อยละ 3.75 ในไตรมาส 3/2551 มาเหลือเพียงร้อยละ 3.45 ในไตรมาส 3/2552 อันยังคงตอกย้ำถึงผลกระทบจากการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อเนื่องมายังธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองก็ยังปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนด้วย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าแนวโน้มธุรกิจแบงก์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ยังเผชิญหลากปัจจัยที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการลงทุนของภาคธุรกิจ ยังขึ้นกับทิศทางของเศรษฐกิจ แม้สัญญาณบวกทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2552 จะผลักดันให้ภาคการส่งออกของไทยปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา และน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ซึ่งหมายความถึงความต้องการสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Loans) จากภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

เช่นเดียวกับความต้องการสินเชื่อรายย่อยที่น่าจะได้รับอานิสงส์จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่คงจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความต้องการสินเชื่อประเภท Term Loans ที่ใช้ในการลงทุนอาจยังผันแปรตามความต่อเนื่องและระดับโมเมนตัมของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งในกรณีที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความชัดเจนและต่อเนื่องจริง ก็คงจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ จนนำมาสู่การตัดสินใจขยายการลงทุน และความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนจากธนาคารพาณิชย์ได้

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่แนวโน้มเศรษฐกิจยังเผชิญความเสี่ยงหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ รวมถึงปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวข้องกับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดนั้น แนวโน้มความต้องการสินเชื่อ เพื่อการลงทุนดังกล่าวของภาคธุรกิจ ก็อาจถูกเลื่อนออกไป อันอาจทำให้แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสสุดท้ายของปี ไม่ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เดิมคาดหวังเอาไว้

นอกจากนี้ การแข่งขันระดมเงินฝากที่อาจเข้มข้นขึ้นและผลตอบแทนจากสภาพคล่องที่อาจยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจกดดัน ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า โดยในไตรมาสสุดท้ายของทุกปี มักเป็นช่วงที่การแข่งขันระหว่างเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ กับช่องทางการออมและลงทุนประเภทอื่นๆ จะทวีความเข้มข้นขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของการลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษี อาทิ การลงทุนในกองทุน LTF และ RMF รวมถึงประกัน ประกอบกับจะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติมด้วย ภายใต้มุมมองที่การเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังเผชิญข้อจำกัดต่างๆ ทำให้การประคับประคองผลประกอบการในภาพรวม ยังต้องอาศัยตัวช่วยที่สำคัญอย่างรายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งก็น่าจะยังคงสามารถรักษาการเติบโตจากไตรมาสก่อนในอัตราที่เข้าใกล้ระดับทศนิยมสองตำแหน่งได้

โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ Bancassurance ตามฤดูกาลลงทุนในประกันเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบัตรพลาสติกที่น่าจะได้รับประโยชน์ จากเทศกาลการใช้จ่ายในช่วงปลายปี สิ่งที่น่าสนใจมากประการหนึ่งอยู่ที่ปัญหาคุณภาพหนี้คงจะต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเอ็นพีแอลมักเป็นตัวแปรตาม (Lagging Indicators) ที่จะเปลี่ยนแปลงตามหลังการปรับตัวทางเศรษฐกิจ นั่นคือ แม้ว่า เศรษฐกิจในภาพรวมจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ก็ยังไม่น่าจะมีผลดีต่อคุณภาพหนี้ในทันที

ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในบางภาคส่วน อาจยังคงเผชิญความยากลำบากจากปัญหาสภาพคล่องและพิษวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อยู่ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงอาจยังมีความจำเป็นจะต้องจับตาและบริหารคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิด

ซึ่งถึงที่สุดแล้วการมีผลกำไรเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ อาจเป็นเพียงมายาภาพที่แทรกตัวเข้ามาในห้วงยามที่ระบบเศรษฐกิจยังหาความชัดเจนไม่ได้เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us