Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤศจิกายน 2552
โอกาสของน้ำมันพืช             

 


   
search resources

Food and Beverage




เทศกาลกินเจที่ถือปฏิบัติมาต่อเนื่องทุกปี และมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ทั้งคนหนุ่มสาวหันมากินเจกันมากขึ้น จากการพัฒนาในด้านการผลิตที่สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์อาหารเจให้มีความหลากหลาย ครอบคลุมอาหารแทบทุกชนิด ซึ่งการที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มหันมานิยมกินเจกันมากขึ้น ถือเป็นผลดีอย่างมากต่อยอดขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตจากพืช ผัก และถั่ว โดยเฉพาะน้ำมันพืชซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำอาหาร

คาดว่าเทศกาลกินเจในปีนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ตลาดน้ำมันพืชขยายตัวดีขึ้นกว่าช่วงก่อนเทศกาลประมาณร้อยละ 5-10 และขยายตัวต่อเนื่องถึงเทศกาลปีใหม่ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ทำให้ตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในช่วงนี้ของทุกปี

อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่น้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันพืชที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น โดยเฉลี่ยมีราคาอยู่ที่ประมาณขวดละ 30-50 บาท (ขนาดบรรจุ 1 ลิตร) และมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกซื้อมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด

โดยคาดว่าตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดของไทยในปี 2552 จะมีมูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 20 โดยแบ่งสัดส่วนเป็นน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง รวมกันถึงร้อยละ 90 ส่วนน้ำมันพืชชนิดอื่นหรือน้ำมันพืชพรีเมียมนั้นยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในไทย แม้จะมีคุณประโยชน์ สูงแต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงจึงเป็นข้อจำกัดของผู้บริโภค จึงมีสัดส่วนในตลาดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น

การแข่งขันของตลาดน้ำมันพืชในประเทศยังคงเป็นการแข่งขันของน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม จากข้อมูลกรมการค้า ภายใน ณ เดือนสิงหาคม 2552 แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง (ขนาดบรรจุขวด 1 ลิตร) มีราคาที่แตกต่างกันมากกว่าช่วงสองปีที่ผ่านมา และแนวโน้มในปี 2552 นี้ราคาน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มชะลอลงกว่าปีที่แล้ว

เนื่องจากความต้องการใช้ทั้งด้านการบริโภคที่ชะลอตามภาวะเศรษฐกิจ และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลงตามราคาตลาดโลก เทียบกับเมื่อปีที่แล้วที่ราคาวัตถุดิบถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นจากความผันผวนของสภาพอากาศ และราคาน้ำมันปาล์มก็สูงขึ้นเช่นกันจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากจีนและอินเดีย

เมื่อราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชในปีนี้มีราคาลดต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ผู้ผลิตจึงหันมาเน้นการแตกไลน์น้ำมันพืชเพื่อกลุ่มคนรักสุขภาพหรือน้ำมันพืชพรีเมียม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ควบคู่กับการทำการตลาดเชิงรุก เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้าใจความแตกต่างในการเลือกใช้น้ำมันพืชแต่ละชนิด

ผู้ผลิตจึงต้องเน้นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ โดยนำเสนอจุดเด่น สร้างความแตกต่าง คุณประโยชน์ของส่วนผสม ข้อมูลโภชนาการ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและให้ความสำคัญในการเลือกซื้อน้ำมันแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือกรรมวิธีในการปรุงอาหาร

ขณะเดียวกัน ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชของไทยในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัว ส่วนหนึ่งเนื่องจากปีที่แล้วความต้องการด้านอาหารและพลังงานทดแทนของทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเป็นประวัติการณ์ จากปัญหาด้านวิกฤติอาหารที่เกิดจากความผันผวนของสภาพอากาศในหลายประเทศ ประกอบกับระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานทดแทนของโลกสูงขึ้นตาม ซึ่งในปีนี้ปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายลง ทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของไทยชะลอตัวลงตามไปด้วย

แต่จากที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้ต่อเนื่องไปสู่ปี 2553 ประกอบกับอานิสงส์จากเทศกาลกินเจต่อเนื่องถึงปีใหม่ น่าจะส่งผลให้การส่งออกน้ำมันพืชของไทยกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศอาเซียน โดยได้รับผลดีจากข้อตกลงการเปิดเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ รวมถึงการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนด้วย เพราะจะทำให้ผู้ผลิตของไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้ในต้นทุนต่ำลง รวมถึงการขยายตลาดของผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศ

นอกจากนี้ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐฯ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ แนะนำว่าน้ำมันรำข้าวเหมาะที่จะเป็นน้ำมันบริโภค เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 44 ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) และลดคอเลสเตอรอลตัวที่ไม่ดี (LDL) ได้ นอกจากนี้ยังมีวิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญมีราคาไม่สูงมากนัก เพราะมีราคาใกล้เคียงกับน้ำมันถั่วเหลือง จึงกลายเป็นที่นิยมในหลายประเทศ

กรณีดังกล่าวเห็นได้จากยอดส่งออกน้ำมันรำข้าวของไทย ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 7.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่ 6,680 ตัน โดยตลาดหลักส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบอเมริกาและยุโรป รวมถึงบางประเทศในเอเชีย และมีแนวโน้มว่าน้ำมันรำข้าวจะเป็นที่นิยมในแถบอเมริกาและยุโรปมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ผู้ผลิตของไทยจะเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ น้ำมันรำข้าวรองรับการเติบโตของตลาดต่างประเทศในระยะต่อไป

แม้ว่าเทศกาลกินเจและเทศกาลปีใหม่ที่ขยับใกล้เข้ามาอาจจะช่วยกระตุ้นยอดการบริโภคน้ำมันพืชแต่ละชนิดได้บ้าง แต่ ประเด็นสำคัญของอุตสาหกรรมน้ำมันพืชอยู่ที่การรักษามาตรฐาน ในการผลิตให้เป็นไปตามกำหนดข้อตกลงทางการค้า เพื่อประโยชน์ ในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศต่อไปในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us