Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กันยายน 2546
ไทยพาณิชย์เปิดเกมรุก ฮุบ11บริษัทตลาดทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ไทยพาณิชย์, บล.
ชโยทิต กฤดากร, ม.ล.
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
วิชิต สุรพงษ์ชัย
Banking and Finance




แบงก์ไทยพาณิชย์จัดทัพใหม่ หวังผงาดเป็นผู้นำตลาดทุนไทยครบวงจร เน้นเชิงรุก เป็นผู้นำธุรกิจวาณิชธนกิจ พร้อมให้บริการการเงินเต็มรูปแบบ (Universal Banking) เทียบเท่าบริการประเทศตะวันตกต้นแบบเดินหน้าเทก 11 บริษัทในเครือที่เป็นธุรกิจหลักด้านตลาดทุนเบ็ดเสร็จ แต่ไม่มีนโยบายดันบริษัทลูกเข้าตลาดหุ้น เพราะบทเรียนวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 40 "วิชิต" ยันสวย ไม่จำเป็นต้องใหญ่เสมอไป (Big is not always beautiful) แต่ต้องเครื่องมือพร้อม เตรียมลงทุนคอมพิวเตอร์เต็มสูบอีกรอบ เสร็จปีหน้า หลังยุคโอฬาร ไชยประวัติ ที่ถือเป็นผู้บุกเบิกระบบเอทีเอ็มของไทย

หลักการสร้างกลุ่มธุรกิจการเงินไทยพาณิชย์ คือการร่วมมือกันดำเนินธุรกิจเชิงรุก พร้อมให้บริการใกล้ชิดและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน มีระบบกำกับดูแลโปร่งใสและตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี สร้างบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะด้านแต่ละองค์กร เพื่อจุดมุ่งหมายสนองความต้องการลูกค้าที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างครบถ้วนและรวดเร็ว

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าววานนี้ (24 ก.ย.) ว่าธนาคารปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ จากเดิมที่เน้นธุรกิจธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิม เป็นผู้ให้บริการการเงินเต็มรูปแบบ (Universal Banking) เทียบเท่าบริการในต่างประเทศ

โดยปรับกลยุทธ์กลุ่มบริษัทในเครือมอบหมาย บล.ไทยพาณิชย์ รุกงานวาณิชธนกิจ (Investment Banking) เพื่อรองรับความต้องการลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร ขึ้นเป็นผู้นำด้านวาณิชธนกิจ และยังปรับกลยุทธ์เชิงรุก ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมต่างประเทศ ที่ร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ส่งผลธนาคารถือหุ้น บลจ.ไทยพาณิชย์ขณะนี้ 100% จากเดิม 32%

ไม่ดันบริษัทลูกเข้าตลท.

ในฐานะธนาคารถือหุ้นใหญ่ บล.ไทยพาณิชย์ ไม่มีนโยบายให้บริษัทลูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพราะเขามองว่า เมื่อบริษัทแม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วน่าจะเพียงพอ รวมทั้งจากประสบการณ์อดีต ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ-การเงินปี 2540 เมื่อธนาคารถือหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เมื่อมีปัญหา ส่งผลกระทบธนาคารด้วย

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในเครือธนาคาร เมื่อสร้างอัตราผลตอบแทนดี จะส่งผลถึงผู้ถือหุ้นใหญ่โดยตรง จะมีส่วนให้ผลตอบแทนสู่ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหากผู้ถือหุ้นสนใจ ควรถือหุ้นธนาคารแม่มากกว่า

นอกจากนี้ การทำการหรือขั้นตอนประสานงานร่วมกันในกลุ่มน่าจะทำได้ดีกว่า หากต่างคน ต่างจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะทำให้ต่างคนต่างแข่งขัน และไม่ร่วมมือกันพัฒนาให้เป็นระดับสากลได้

การจัดกลยุทธ์ดังกล่าว เป็นหนึ่งในแผนปรับองค์กรที่ดำเนินมาแล้ว 1-2 ปี ครั้งนี้ เจตนา แน่นอนจะผลักดันธุรกิจจัดการกองทุนรวม และธุรกิจหลักทรัพย์เต็มที่ ซึ่งเป็นเครือข่ายธุรกิจ ตลาดทุน

เนื่องจากเขามองว่า ธุรกิจตลาดทุนไทยศักยภาพเติบโตสูง รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจตลาดทุนเพิ่มเติม จึงเป็นช่องทางดีให้ธนาคารเพิ่ม ทางเลือกให้ลูกค้า รวมทั้งช่องทางหารายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น

สวยไม่จำเป็นต้องใหญ่

ขณะนี้การปรับโครงสร้างองค์กรหลักๆ จบหมดแล้ว คงเหลือรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงอีกเล็กน้อย อีก 3 เดือน จะเปิดตัวธุรกิจรายย่อยในเครือทั้งหมดจะเป็นอีกช่องทาง หารายได้จาก ค่าธรรมเนียม ซึ่งจะผลักดันธนาคารเป็นผู้นำลูกค้ารายย่อยอีกด้วย นอกจากนี้ธนาคารลงทุน ระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยน ติดตั้ง 1 ปี

"แบงก์ต้องการปรับองค์กรเพื่อประสิทธิภาพการแข่งขัน และเป็นผู้นำด้านธุรกิจแบงก์พาณิชย์ อีกทั้งรองรับแผนแบงก์ชาติ ที่ทำมาสเตอร์แพลน โดยปัจจุบันหากจะทำธุรกิจครบวงจร และมองช่องทางของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ไม่จำเป็นต้องมีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ (Big is not always beautiful) ขอให้มีเครื่องมือและระบบสมบูรณ์ ก็สามารถมีรายได้สูง" ประธานกรรมการบริหารแบงก์ใบโพธิ์กล่าว

การจัดทัพใหม่ ถือว่าสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ที่ธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายได้ลดลง หลังดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำแทบติดดิน ขณะเดียวกันลูกค้าส่วนใหญ่มีทางเลือกระดมทุนในตลาดทุนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารต้องจัดบริการตลาดทุนตามความต้องการ ลูกค้า

เดินหน้าเทกบริษัทย่อยหลัก 100%

ธนาคารยังมีนโยบายจะรวมบริษัทในเครือ ที่เป็น Core Banking ทั้งหมด เพื่อตอบสนองให้บริการครบวงจร โดยมีนโยบายจะถือหุ้น 100% ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ธนาคารมีบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน 11 บริษัท

ทางด้านคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้น 100% บล. ไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทแม่ พร้อมจะสนับ สนุนด้านเงินทุนและทรัพยากรบุคคลเต็มที่

ธนาคารยังผลักดันธุรกิจจัดการลงทุน เนื่องจากเห็นศักยภาพเติบโตธุรกิจดังกล่าว และเสริมความแข็งแกร่งกลุ่มวาณิชธนกิจ โดยธนาคารคาดหวังจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 50 % ของรายได้ทั้งหมด จากปัจจุบัน 30% ที่เหลือ 70% เป็นรายได้ดอกเบี้ย ดังนั้นจึงมีเป้าหมายเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น

บล.ไทยพาณิชย์ตั้งเป้าผู้นำตลาด

ด้าน ม.ล.ชโยทิต กฤดากร กรรมการผู้จัดการ บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่าบริษัทปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อรองรับนโยบายใหม่ ธนาคารแม่เป็นยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง กว่าปีครึ่งแล้ว โดย ธุรกิจวาณิชธนกิจ ทำรายได้ให้มากที่สุดถึง 80%

บริษัทขยายสัดส่วนการตลาดมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันธุรกิจรุนแรง ที่ผ่านมา บริษัทลูกค้านักลงทุนสถาบันในประเทศเกือบทั้งหมดของตลาด ขณะที่ลูกค้านักลงทุนต่างชาติประมาณ 30 ราย บริษัทมีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท เพื่อก้าวเป็นผู้นำธุรกิจนี้

"บล.ไทยพาณิชย์จะเป็นอินเวสเมนต์ แบงกิ้งแห่งเดียวที่มีสถาบันการเงิน คือธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นทั้ง 100% ที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จช่วยสร้างนักลงทุนหน้าใหม่ จากการเป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี (RATCH) บริษัท ปตท. (PTT) กำลังเตรียมนำหุ้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และเบียร์ช้างเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา" ม.ล.ชโยทิตกล่าว

แผนดำเนินงานระยะต่อไป จะดำเนินธุรกิจ เป็นนายหน้าขายหุ้นมากขึ้น จากเดิมทำธุรกิจ วาณิชธนกิจเป็นหลัก หรือประมาณ 80% โดยจะอาศัยเครือข่ายธนาคารแม่ ที่มีสาขามากกว่า 500 แห่ง ปรับปรุงองค์กรเพื่อรองรับการขยายตัวธุรกิจ เพิ่มพนักงานจาก 150 คน เป็น 300 คน เสริมข้อมูลด้านวิจัยมากขึ้น มั่นใจว่าภายใต้ชื่อไทยพาณิชย์ จะทำให้ลูกค้าสนใจมากขึ้น

ด้านนายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่าการดำเนินงานของ บลจ.ไทยพาณิชย์ เป็นไปตามเป้าหมาย ทรัพย์สินกองทุนรวมที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ดูแลอยู่ 2.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่าง มากจากปีก่อนหน้า ซึ่งมีเพียง 2,000 ล้านบาท

ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดขยายตัวจาก 6.2% เป็น 8.2% ศักยภาพธุรกิจกองทุนรวมยังมีอีกมาก เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลของกองทุนรวมทั้งระบบขณะนี้ในไทย 2 แสนล้านบาท เทียบ เงินฝากทั้งระบบ ถึง 5 ล้านล้านบาท ถือว่าต่ำมาก โดย บลจ. ไทยพาณิชย์จะใช้เครือข่ายธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเงินให้ลูกค้า

ตัวแทนทุกคน จะผ่านการฝึกอบรม และได้ รับความรู้อย่างดี ซึ่งเขามั่นใจว่า การใช้ทรัพยากร และบุคลากรที่ชำนาญดังกล่าว จะทำให้ถึงจุดมุ่งหมาย คือทำให้กลุ่มไทยพาณิชย์เป็นยูนิเวอร์-แซล แบงกิ้ง เต็มรูปแบบ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us