Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
"เสน่ห์งานศิลป์" ในโอเรียนเต็ล             
 

   
related stories

เคิร์ท ว๊าซไฟท์ ร่วมสร้างตำนานโรงแรมโอเรียนเต็ล
125 ปี โรงแรมโอเรียนเต็ล
รำลึกอดีต กับอังคณา กะลันตานนท์

   
search resources

โรงแรมโอเรียนเต็ล, บมจ.
Hotels & Lodgings




ร่องรอยรูปแบบของงานศิลปะ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ผสมผสาน กับวัฒนธรรมประเพณี และงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันออก เป็นจุดขายที่ลงตัวที่สุดในโอเรียนเต็ล

ความสวยงามของรูปแบบงานศิลปะ สถาปัตยกรรมย้อนยุคในโรงแรมโอเรียน เต็ลนั้นจะเห็นได้ชัดเจน บริเวณตึกเก่า Authoržs Wing ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ชาวต่างชาติ ชอบที่จะแวะเวียนเข้ามาดู ราวกับว่า โอเรียนเต็ลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองไทย

Authoržs Wing เป็นอาคารที่ฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน ผู้เป็นเจ้าของโอเรียน เต็ล ในปี 2428 ว่าจ้าง เอส คาร์ ดู สถาปนิกอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบในรูปแบบศิลปะแบบบาโรก และได้เปิดตัวเป็นทาง การ เมื่อวันพฤหัสที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นช่วงเวลาของงานสถาปัตยกรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาให้เห็นในอาคารบ้านเรือน และสถานที่ราชการต่างๆ จำนวนมาก

Joseph Conrad นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสชื่อดัง เคยพรรณนาถึงโอเรียนเต็ลเมื่อคราวที่เขาได้มาเห็นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2453 ว่า

"ระลอกคลื่น ละเลื่อมพรายเหนือลำน้ำ ค่อยค่อยสาด ค่อยค่อยซัด เภตรา ของเรา เข้าสู่ฝั่ง ข้าพเจ้าเพ่งมองนิวาสถานนาม "โอเรียนเต็ล" สิ่งแรกที่สะดุดสายตาคือ หน้าบันแบบบาโรก แสดงภาพ อาทิตย์ทอแสง กำลังจะจมดิ่งในสายธารา ภายใต้คือ กรอบหน้าต่างฉลุลายขนมปัง ขิงดังแพรลูกไม้ทอถัก ช่างสมกับคำร่ำลือ ว่าเป็นโรงแรมที่วิจิตรตระการตาที่สุดของอุษาคเนย์"

คำว่า Baroque คนไทยออกเสียง "บาโรก" หรือ "บาร็อก" มาจากคำ ว่า Barroco "บาโรโก" ในภาษาโปรตุ เกส แปลว่า ไข่มุกที่บิดเบี้ยว คือ บิดเบี้ยวไปจากกฎเกณฑ์ความงามแบบอุดมคติ หรือคลาสสิกที่เคยกำหนดไว้ในสมัยเรอเนซอง หรือสมัยฟื้นฟูศิลปะ วิทยา ซ้ำยังเป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกงานศิลปะ และสถาปัตยกรรมในกรุงโรมเชิงบริภาษ ในช่วงที่ศิลปะเรอเนซองกำลังเสื่อมทรามและพบทางตัน หลังจากที่เคยหยิ่งทะนงกับ ลัทธิมนุษยนิยม ยกย่องเฉพาะความงามที่ลงตัว แบบอุดมคติ เรียบง่าย และสมดุล มานานหลายศตวรรษ (ระหว่างศตวรรษที่ 14-16) (จากหนังสือเยี่ยมเฮือน เยือนอดีต ของ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ)

ดังนั้น สิ่งที่เปลี่ยนไปและเห็นได้จากศิลปะแบบบาโรกก็คือ จากอาคารที่ตกแต่งกรอบประตูหน้าต่าง ซุ้มหน้าบัน ขื่อ คาน เสา ด้วยเส้นตรง เส้นฉาก ก็ได้ถูก กระตุกกระชากให้เป็นเส้นโค้งเส้นคด ลายกนกที่เคยม้วนวงเดียว ก็ถูกหมุนบิดเกลียว ให้แรงขึ้นอีก ส่วนของหน้าบันที่เปรียบประดุจหลักชัยชูธงสงบนิ่งในแผ่นสามเหลี่ยม หน้าจั่วอันเป็นมรดกตกทอดมายาวนานจากกรีก-โรมัน ก็เปลี่ยนรูปร่างเป็นห้าเหลี่ยม หรือสามเหลี่ยมแบบต่างๆ มีการผ่ากลาง ตัดยอดเติมฐาน ดร.เพ็ญสุภากล่าวว่า ศิลปะ ที่เปลี่ยนไปนี้เป็นการ "เล่น" กับอารมณ์ และกิเลสตัณหาของมนุษย์แทน

สิ่งที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็คือ กึ่งกลางอาคาร มักทำหน้าบันเป็นกรอบหกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม และตรงกลางหน้าบันประดับลวดลาย ปูนปั้น อย่างหน้าบันของโรงแรมโอเรียนเต็ลทำปูนปั้นรูปพระอาทิตย์กำลังตกปริ่มน้ำ อันเป็นสัญลักษณ์ของโรงแรมแต่เดิม ก่อนจะเป็นรูปพัดเมื่อเข้าไปรวมอยู่กับกลุ่มโรงแรมแมนดาริน

ศิลปะแบบบาโรกที่พบในเมืองไทย นอกจากที่โอเรียนเต็ลแล้ว ยังพบเห็นได้ ที่แบงก์สยามกัมมาจล ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย (อาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ปัจจุบัน) พระตำหนักสุนันทาลัย กรมแผนที่ทหาร หรือแม้แต่อาคาร บ้านเรือนเก่าๆ แถวถนนท่าเตียน เจริญกรุง สุริวงศ์ เยาวราช

บนตึกเก่า ออเธอร์ส วิง นี้ยังมีห้องพักที่ตกแต่งอย่างหรูหรา และตั้งชื่อห้องตามชื่อแขกสำคัญบางคนที่เคยมาพัก เช่น ห้อง Somerset Maugham Suite ซึ่งสะท้อนความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมประเพณีของไทย ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Somerset Maugham นักเขียนและผู้ประพันธ์บทละคร ที่ได้เข้าพักใน Oriental

ในปี 1923 Somerset Maugham นักเขียนและผู้ประ-พันธ์บทละคร พาสังขารที่ทรุดหนักด้วยโรคมาลาเรีย เข้าพักใน Oriental ซึ่งในครั้งนั้นเขาเกือบที่จะถูกเชิญให้ออกจากโรงแรม เพราะความป่วยไข้ดังกล่าว แต่หลังจากนั้น เขาได้กลับมาเป็นแขก ของ Oriental อีกหลายครั้ง ด้วยสภาพร่างกายและอารมณ์ที่เป็น สุขยิ่งกว่าเดิม และเขาก็มักจะกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกือบจะถูกขับไล่ออกจากโรงแรมครั้งนั้นเสมอ ซึ่งเขาได้บันทึกความทรงจำเกี่ยว กับวันคืนในเมืองไทยไว้ในวรรณกรรมท่องเที่ยว "The Gentle-man in the Parlour"

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีแบบไทย เป็นสิ่งหนึ่งที่ทางโรงแรมให้ความสำคัญ ซึ่งในห้อง Siam Suite ในอาคาร Authoržs Residence ได้จำลองบรรยากาศที่น่าจดจำและสร้างความประทับใจของช่วงเวลาเหล่านี้ไว้อย่างเต็มเปี่ยม อุปกรณ์ตกแต่งแบบล้านนา ที่เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์ได้รับการจัดวางเพื่อสะท้อนวิถีชีวิตแบบไทยภาคเหนือ เครื่องเรือนไม้สักผสม ผสานกับลวดลายของพรมที่ได้รับการออกแบบจากลายผ้าของชาว เขาและชนเผ่าทางภาคเหนือ สร้างเสริมบรรยากาศให้ห้องพักอบอุ่น และเต็มไปด้วยกลิ่นอายแห่งตะวันออกอย่างยากจะลืมเลือน

หากกล่าวถึงบุคคลที่ประสบความสำเร็จและมีอิทธิพลต่อ สังคมไทยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างกว้างขวาง แล้ว ชื่อของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช คงต้องจัดอยู่ในอันดับแรกๆ เช่นเดียวกับห้องพักแห่งนี้ แม้จะไม่แสดงออกถึงความวิจิตรบรรจง อย่างฟุ่มเฟือย หากแต่ภายใต้ความเรียบง่ายแบบไทยประยุกต์ผสานกับเครื่องเรือนและพื้นไม้สัก กลับแฝงไปด้วยความรู้สึกทรงภูมิและอลังการอยู่ในที ขณะที่ข้อความที่เขียนด้วยลายมือของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งประดับไว้ในกรอบ ระบุว่า "Stay a while, love and you will find people around here do really care." ดูจะแทนถ้อยคำบรรยายความรู้สึกได้เป็นอย่างดี

ทั้ง 3 ห้องเป็นตัวอย่างหนึ่งของจุดขาย ความมีประวัติ ศาสตร์ของโอเรียนเต็ล โดยมีอัตราค่าที่พักประมาณ 900 เหรียญขึ้นไปต่อคืน

ห้องอาหารจีน "The China House" เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งได้พัฒนามาจากบ้านไม้เก่าในรูปแบบของ "โคโลเนียล สไตล์" ที่มีอายุมากว่า 120 ปี ก่อนหน้านี้เคยเป็นที่ตั้งสถานกงสุลของประเทศโมร็อกโก ต่อมาทางโรงแรมได้ทำการเช่าต่อ จากสำนักงานทรัพย์สินฯ และหลายปีต่อได้กลายเป็นร้านขายจิวเวลรี่ที่มีบรรยากาศสวยงาม ในปี 2533 ทางโรงแรมได้แปรสภาพใหม่ มีการตกแต่งทาสีใหม่ และออกแบบตกแต่งภายใน ใหม่ทั้งหมด โดยฝีมือของบริษัทไรเฟนเบิร์ก แอนด์ ฤกษ์ฤทธิ์ จำกัด ซึ่งเคยตกแต่งภายในห้องชุดโอเรียนเต็ลสวีท ห้องพักที่สวยและแพงที่สุดของโรงแรมโอเรียนเต็ลมานั่นเอง

ในปี 2537 อาคารแห่งนี้ได้รับรางวัล อาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดจากคณะ กรรมการของกรมศิลปากรและได้รับพระราช ทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

งานสถาปัตยกรรม ทั้งแบบตะวันตกและตะวันออก รวมทั้งประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ คือ สิ่งที่โรงแรมอื่นๆ ไม่สามารถเลียน แบบได้แน่นอน และผู้บริหารเองก็จำเป็นต้องรักษาเอาไว้อีกนานเท่านาน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us