Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์2 พฤศจิกายน 543
แอลจี ลอนช์ แอลอีดีทีวี ต่อจิ๊กซอว์สู่พรีเมียมแบรนด์             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)

   
search resources

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย), บจก.
Electric




แอลจี ส่งแอลอีดีทีวี เติมเต็มตลาดพรีเมียมทีวี ขณะที่ซัมซุงซอยเซกเมนต์สร้างตลาดอินเทอร์เน็ต@ทีวี สนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคไซเบอร์ที่ชอบเช็กข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต

แอลจี รุกตลาดพรีเมียมทีวี ลอนช์ แอลอีดีทีวี ภายใต้ซีรีส์ใหม่ LG Live) BORDERLESS ชูดีไซน์ขอบจอหนา 3 เซนติเมตร พร้อมฟังก์ชั่นในการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือผ่านบลูธูท สามารถชมภาพและเสียงเพลงจากโทรศัพท์มือถือบนหน้าจอ โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 32,990-109,990 บาท โดยใช้งบกว่า 80 ล้านบาทในการรุกตลาดทีวีรุ่นใหม่ ซึ่งจะสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่กลุ่มเป้าหมายใช้หาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย ซึ่งจากการทำวิจัยของแอลจีพบว่าเป็นจุดสำคัญในการทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่ ดังนั้นแอลจีจึงมีการปรับปรุงช่องทางจำหน่าย การจัดดิสเพลย์ และพัฒนาส่วนงานขายภายใต้แคมเปญเอวีพรีเมียร์ลีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายและสวิตชิ่งแบรนด์ฐานลูกค้าคู่แข่งให้หันมาเลือกแอลจีแทน โดยช่องทางที่สำคัญในการสร้างยอดขายทีวีพรีเมียมคือแอลจีชอป 4 สาขา คือที่เซ็นทรัลเวิลด์ เชียงใหม่ หัวหิน และพัทยา ตลอดจนช่องทางที่เป็นโมเดิร์นเทรด

แอลจี ตั้งเป้าที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดแอลซีดีทีวีเชิงมูลค่าจาก 17% เป็น 20% และจาก 21% เป็น 25% ในเชิงปริมาณ ซึ่งปัจจุบันซัมซุงเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งการตลาดเชิงปริมาณ 35% เชิงมูลค่า 35% ตามด้วยโซนี่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเชิงปริมาณอยู่ที่ 21% ส่วนแบ่งเชิงมูลค่าอยู่ที่ 25% ขณะที่แอลจีมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่อันดับที่ 3 นอกจากนี้แอลจียังตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขาย Full HD TV จาก 30% เป็น 50% เช่นเดียวกับตลาดพลาสม่าทีวีที่แอลจีพยายามเพิ่มสัดส่วนยอดขายที่เป็นพรีเมียมทีวี ไม่ว่าจะเป็น Full HD TV หรือการโฟกัสขนาดหน้าจอจาก 50 นิ้วในปีนี้เพิ่มเป็น 60 นิ้วในปีหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไรให้กับธุรกิจ

ช่วงต้นปีที่ผ่านมาแอลจีลอนช์คอนเซ็ปต์ Time for Change เพื่อสื่อสารไปสู่ผู้บริโภคให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของแอลจี โดยแอลซีดีทีวีทุกรุ่นที่ลอนช์ออกมาจะใช้เทคโนโลยีสูงสุดผสานกับการดีไซน์ที่สอดคล้องกับแบรนด์คอนเซ็ปต์ของแอลจีที่ว่า Stylish Design and Smart Technology เพื่อเจาะตลาด Uncompromise Seeker โดยผนึกภาพยนตร์ Transformers II หวังสร้างการรับรู้และยอมรับแบรนด์ ควบคู่ไปกับการโปรโมตการใช้งานควบคู่กับชุดโฮมเธียเตอร์และเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ ซึ่งมีการจับคู่แต่ละรุ่นให้ใช้งานร่วมกันโดยมีดีไซน์ที่สอดคล้องกันในแต่ละชุด ช่วยให้แอลจีสามารถสร้างยอดขายแบบโซลูชั่นได้มากขึ้น

ในขณะที่ ซัมซุง พยายามรุกตลาดทีวีพรีเมียมในทุกเซกเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นบุกเบิกตลาด LED TV การปลุกตลาดพลาสม่าทีวีด้วยการร่วมกับโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เพื่อเจาะตลาดคอภาพยนตร์พร้อมโปรโมตพลาสม่าทีวี 63 นิ้ว ทว่าถูกฟิลิปส์ บล็อกตลาดพลาสม่าทีวี ด้วยการเปิดตัว Philips Cinema 21:9 แอลซีดีทีวีที่มีจอภาพสัดส่วนเดียวกับจอในโรงภาพยนตร์ ด้วยจอภาพที่มีรายละเอียดสูงสุดระดับ Full High Definition (Full HD) ขนาด 56 นิ้ว พร้อมเทคโนโลยี Ambilight ให้อรรถรสเสมือนชมอยู่ในโรงภาพยนตร์ หวังกินรวบตลาดแฟลตพาแนลที่มีทั้งพลาสม่าทีวี และแอลซีดีทีวี ซึ่งที่ผ่านมาค่ายผู้ผลิตพลาสม่าต่างชูคุณสมบัติในการรับชมภาพยนตร์ได้ดีกว่าแอลซีดีทีวี

ล่าสุดซัมซุงลอนช์เทคโนโลยีใหม่ อินเทอร์เน็ต@ทีวี ใส่เทคโนโลยี Online Widgetทำให้ผู้บริโภคสามารถรับชมอินเทอร์เน็ตผ่านทีวีซัมซุงรุ่นใหม่ๆได้ โดยช่วงแรกจะรับชมได้ 4 เว็บไซต์คือ YouTube, AccuWeather.com, USA Today News และช่องข่าวจากเครือเดอะเนชั่น โดยผู้บริโภคไม่ต้องเชื่อมต่อผ่าน CPU แต่จะต้องมีสาย LAN หรือ Wi-Fi นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆผ่าน USB port โดยอินเทอร์เน็ต@ทีวี ของซัมซุงจะมีราคาเท่ากับทีวีรุ่นเดิมที่มีฟังก์ชั่นเดียวกัน เพียงแต่ใส่ฟังก์ชั่นเพิ่มเพื่อสร้างความได้เปรียบในการดึงดูดผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อ

ปัจจุบันตลาดทีวีโดยรวมมีปริมาณความต้องการอยู่ที่ 3.2 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นพลาสม่าทีวี 65,000 เครื่อง แอลซีดีทีวีและแอลอีดีทีวีรวมกัน เกือบ 1 ล้านเครื่อง ที่เหลือเป็นทีวีจอแก้ว หรือซีอาร์ที ทีวี แม้จะเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ทว่าเป็นเซกเมนต์ที่มีปริมาณความต้องการลดลง เนื่องจากเริ่มถูกแทนที่ด้วยแฟลตพาแนลทีวีจอแบนบางอย่างแอลซีดีทีวี ที่มีขนาดต่ำกว่า 32 นิ้ว จะมีราคาอยู่ที่หลักพันบาทซึ่งแพงกว่าทีวีจอแก้วไม่มากนัก ทำให้เกิดการสวิตชิ่งไปใช้แอลซีดีทีวีมากขึ้น

ตลาดทีวีเมืองไทยได้รับแรงสั่นสะเทือนนับตั้งแต่แบรนด์เกาหลีเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยใหม่ๆ ต่อมาก็มีแบรนด์จีนที่เข้ามาถล่มราคาในตลาด จนส่งผลให้บรรดาแบรนด์ใหญ่พัฒนาโปรเจกชั่นทีวีซึ่งถือเป็นก้าวแรกของทีวีจอใหญ่ แม้จะยังคงใช้เทคโนโลยีหลอดภาพแบบซีอาร์ที ทีวีทั่วไป แต่ก็สร้างพฤติกรรมในการรับชมทีวีจอใหญ่ โดยยุคแรกโปรเจกชั่นทีวี มีราคาร่วมแสนบาท จากนั้นก็มีราคาตกลงมาเหลือไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น ซึ่งแพงกว่าซีอาร์ที ทีวีจอแบนขนาดใหญ่ไม่มากนัก จึงมีผู้บริโภคบางส่วนยอมควักกระเป๋าตังค์จ่ายเงินเพิ่มขึ้นแต่ได้ทีวีจอใหญ่สมใจ เนื่องจากซีอาร์ที ทีวีจอแบนขนาดใหญ่อย่างมากก็แค่ 32 นิ้ว ในขณะที่โปรเจกชั่นทีวีใหญ่กว่า 40 นิ้วขึ้นไป

ทว่าโปรเจกชั่นทีวี เต็มไปด้วยจุดด้อย ทั้งในเรื่องแสงสว่างหน้าจอที่น้อย ทำให้ไม่เหมาะในที่ที่มีแสงสว่างมากเพราะจะทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด รวมถึงมุมมองที่แคบ น้ำหนักมาก ขนาดใหญ่ เคลื่อนย้ายลำบาก จึงมีการพัฒนาไปสู่พลาสม่าทีวี ขนาดหน้าจอ 40 นิ้วขึ้นไป ซึ่งเริ่มต้นด้วยราคาระดับแสนบาท โดยมี LCD TV รุกตลาดจอแบนบางที่ขนาดหน้าจอต่ำกว่า 37 นิ้ว ด้วยราคาระดับแสนบาทเช่นกัน แต่หากเทียบราคาต่อนิ้วแล้ว LCD TV จะมีราคาแพงกว่าพลาสม่าทีวีในช่วงแรก 2-3 เท่า ทำให้พลาสม่าทีวีได้รับความนิยมมากกว่า LCD TV ในช่วงแรก

ทั้งนี้ ทีวีทั้งสองประเภทมีความบางค่อนข้างมาก เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์คนเมืองที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมซึ่งต้องการเครื่องใช้ในบ้านที่สามารถประหยัดพื้นที่ได้ รวมถึงใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งในบ้านได้ จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคระดับบนที่กระเป๋าหนัก

แต่ด้วยกระแสความนิยมทีวีจอใหญ่แบนบางที่มาแรงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ผลิต LCD TV หันมาพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง ทำให้ LCD TV ข้ามผ่านข้อจำกัดในการทำขนาดหน้าจอให้ใหญ่กว่า 40 นิ้วได้ พร้อมกับการพัฒนาความคมชัดของภาพเคลื่อนไหวให้เทียบเคียงพลาสม่าทีวี จนทำให้ LCD TV มีจุดเด่นเหนือพลาสม่าทีวี โดยเฉพาะในเรื่องของการประหยัดพลังงานกว่าพลาสม่าทีวี ประกอบกับกระแสการทำการตลาดสีเขียวที่ส่งผลให้เทคโนโลยีที่กินไฟน้อยกว่าอย่าง LCD TV ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีการพัฒนาสินค้าและผลิตออกมาในปริมาณที่มากจนเกิด Economy of Scale ส่งผลให้ทั้ง LCD TV และพลาสม่าทีวีมีระดับราคาต่ำกว่าแสนบาท ทว่าสงครามราคาก็รุกคืบเข้ามา ส่งผลให้ราคาเทคโนโลยีทั้งสองตกลงมาอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ โดยพลาสม่า 40 นิ้ว มีราคาอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ส่วน LCD TV 32 นิ้ว มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท ซึ่งบางครั้งก็ถูกนำมาทำราคาเหลือ 9,000 กว่าบาท ในช่องทางที่เป็นดิสเคานต์สโตร์ซึ่งแข่งขันรุนแรงในเรื่องราคา

แม้ตลาดทีวีจอใหญ่จะได้รับความนิยมมากขึ้น ทว่าตลาดทีวีจอเล็กยังมีความต้องการอยู่ทั้งในส่วนของผู้ที่อาศัยในอพาร์ตเมนต์เล็กๆ หรือบ้านใหญ่ที่ต้องการทีวีเครื่องที่ 2 ในห้องนอน ดังนั้น หลายๆ ค่ายจึงยังคงผลิตทีวีจอเล็กซึ่งส่วนใหญ่เป็นทีวีจอแก้วซึ่งไม่ได้สร้างกำไรให้กับธุรกิจมากนัก ดังนั้น หลายๆค่ายจึงเน้นไปที่ LCD TV ที่มีขนาดต่ำกว่า 32 นิ้ว เช่น 19 นิ้ว 22 นิ้ว 26 นิ้ว ซึ่งมีราคาสูงกว่า ซีอาร์ที ทีวี ไม่มากนัก เป็นเหตุผลที่จะกระตุ้นให้ผู้บริโภคในเมืองยอมจ่ายแพงเพื่อได้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ขณะที่เทคโนโลยีซีอาร์ที ทีวี ก็ถูกพัฒนาให้เป็นสลิมฟิตทีวี ทำให้บางกว่าซีอาร์ที ทีวีทั่วไป

หลังจากแฟลตพาแนลทีวีได้รับความนิยมมากขึ้น มีผู้เล่นมากขึ้น ก็เริ่มมีการทำสงครามราคา จนต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นไปสู่การเป็น Full HD TV ที่ให้ภาพที่คมชัดขึ้น จนมาถึงเทคโนโลยี LED TV ที่รวมเอาจุดเด่นของ LCD TV และพลาสม่าทีวี เข้าด้วยกัน อีกทั้งยังประหยัดไฟกว่า LCD TV 40% ในขณะที่มีระดับราคาเฉลี่ยอยู่ที่หลักแสนบาท ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับตลาดทีวี ทั้งนี้ หากเทียบราคา LED TV กับ LCD TV ที่เป็นไฮเอนด์ หรือระดับ Full HD แล้วLED TV จะมีราคาแพงกว่า 15% แต่ถ้าเทียบกับ LCD TV ธรรมดาแล้ว LED TV จะมีราคาแพงกว่าเกือบเท่าตัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us