Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์2 พฤศจิกายน 2552
แฟร์เกม '3G' รายเล็กต้องเกิด กันต่างชาติ ฮุบ-ฮั้ว-ป่วนตลาด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ศุภชัย เจียรวนนท์
3G




ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดอกเปลือยทุกประเด็น 3G ชี้ผลได้ผลเสียกระทบไล่ตั้งแต่ประชาชนผู้ใช้บริการจนถึงประเทศชาติกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น และพร้อมเป็นผู้ประกอบการไทยรายเล็กที่จะงัดข้อกับกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจต่างชาติ เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง ปิดตายระบบผูกขาดเพียงยักษ์ใหญ่สองรายที่อาจทำตลาด 3G ไทยป่วนในอนาคตแบบยากจะคาดเดา

หลังจากที่ ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แสดงจุดยืนและจุดประเด็นเรียกร้องต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ใน 2 ประเด็นหลักเกี่ยวกับการประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G คือ 1.ราคาประมูลไม่ควรสูงเกินไป เพราะอาจทำให้การประมูลด้วยวิธีนี้ผิดพลาด เนื่องจากผู้ประกอบการยังต้องมีภาระการลงทุนด้านโครงข่าย ดังนั้นต้นทุนที่สูงขึ้น ภาระจะตกอยู่กับผู้ใช้บริการ ส่วนประเด็นที่ 2 ทำอย่างไรไม่ให้อุตสาหกรรมนี้ถูกควบคุมและครอบงำโดยต่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจต่างชาติ

การแสดงจุดยืนและการจุดประเด็นดังกล่าวของทรู คอร์ปอเรชั่น ส่งผลต่อเนื่องไปทุกภาคส่วนที่ได้นำคำพูดของบอสใหญ่ค่ายทรูฯ ไปขยายวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยกัน กทช. นักกฎหมาย วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมือง นักวิชาการ ต่างพาเหรดกันออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ นานา

ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เปิดอกเปิดเผยทุกรายละเอียดกับ 'ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์' ในทุกประเด็นที่เกิดขึ้นตลอด 1 เดือนที่ผ่านมาว่าประเด็นที่บอกว่าประเทศไทยควรจะเก็บค่าไลเซนส์ 3G ในอัตราที่แพงอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษที่มีการเรียกเก็บถึง 1.6 ล้านล้านบาท โดยมีการยกประเด็นของโทรทัศน์ช่อง 7 ที่จ่ายเงินสัมปทานเพียงปีละ 270 ล้านบาท สามารถขายโฆษณาในอัตราที่สูงถึง 200,000-300,000 บาทต่อนาที แต่ไอทีวีต้องจ่ายสูงถึง 1,000 ล้านบาท กลับคิดค่าโฆษณาในอัตราที่ต่ำกว่าช่อง 7 มาก แสดงให้เห็นว่าการเรียกเก็บค่าคลื่นในอัตราสูง ไม่สามารถที่จะไปเรียกเก็บเงินโฆษณาจากลูกค้าได้ในอัตราที่สูง เมื่อเทียบกับค่าไลเซนส์ 3G เลยมีความคิดว่าถ้ามีการเก็บค่าไลเซนส์แพงๆ ก็บริการก็จะไม่สามารถแพงตามได้

ธัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคม และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎข้อบังคับ และรองหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การเรียกเก็บค่าไลเซนส์ 3G กับกรณีของค่าคลื่นทีวีเป็นคนละประเด็นและไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากการใช้งาน 3G เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องซื้อ ไม่เหมือนกับการดูฟรีทีวีที่ไม่ต้องเสียเงิน เพราะฉะนั้นหากภาคเอกชนที่เข้ามาประมูลไลเซนส์ 3G มีต้นทุนที่มีราคาแพง ภาระจะต้องตกกับผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน

'ธรรมชาติของบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การทำธุรกิจของทุกคนก็มุ่งหวังรายได้และผลกำไร เมื่อมีต้นทุนการทำธุรกิจที่แพงภาระก็ต้องตกกับผู้ใช้งานอย่างแน่นอน'

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากกทช.ในฐานะผู้กำกับดูแลคลื่น 3G เก็บค่าไลเซนส์แพงเกินจริง ปัญหาจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่สามารถจะเข้าไปแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเงินทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะมาจากสิงคโปร์หรือนอร์เวย์ก็ตาม

ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยืนยันว่าหากไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเงินค่าไลเซนส์จำนวนมากหลายหมื่นล้านบาท ทางบริษัทพร้อมและมีเงินทุนสำหรับการพัฒนาโครงข่าย 3G อย่างแน่นอน แต่หากว่าต้องนำเงินที่เตรียมไว้สำหรับการพัฒนาโครงข่าย 3G มาเป็นเงินที่ต้องจ่ายล่วงหน้าให้กับรัฐ ย่อมส่งผลกระทบอย่างหนักและอาจทำให้ทรู คอร์ปอเรชั่นไม่สามารถที่จะแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่ได้

'ลองคิดดูว่าหากมีผู้ประกอบการเพียง 2 ราย การให้บริการจะกลับไปสู่ยุคผูกขาด และเมี่อเขาได้ไลเซนส์ 3G ไปในราคาแพงเขาคงจะไม่แบกภาระเงินลงทุนโดยไม่เอาคืนหรือผลักภาระไปสู่ผู้ใช้บริการ'

ธัช ได้ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเกี่ยวกับการให้ไลเซนส์ 3G อย่างประเทศญี่ปุ่นมองว่าการเก็บค่าคลื่น 3G ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จึงไม่มีการเรียกเก็บและให้ไลเซนส์กับผู้ให้บริการทุกราย ปรากฏว่าทุกรายแข่งขันกันให้บริการและดำรงอยู่ในตลาดได้อย่างแข็งแรง จนปัจจุบันมีการเพิ่มผู้ให้บริการจากเดิม 3 รายเป็น 4 ราย จากความต้องการใช้ที่มาก ผิดกับเอกชนที่ต้องเสียค่าคลื่น 3G แพงๆ ในอังกฤษการพัฒนาโครงข่ายก็ช้า การให้บริการยังไม่กว้างขวาง อีกทั้งเอกชนไม่สามารถที่จะยืนยันทำธุรกิจได้

ยิ่งไปกว่าในประเทศแถบอาเซียน ประเทศสิงคโปร์มีการเรียกเก็บค่าไลเซนส์ 3G เพียง 1,925 ล้านบาท มาเลเซีย 462 ล้านบาท โดยให้กับผู้ให้บริการทุกราย ส่วนฮ่องกงก็ใช้สูตรการเรียกเก็บค่าไลเซนส์แบบทยอยจ่ายเป็นรายปี ที่สำคัญประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา และเวียดนาม ทุกประเทศไม่มีการเรียกเก็บค่าไลเซนส์ทั้งนั้น

'สูตรการเก็บค่าไลเซนส์ 3G ในแต่ละประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าสูตรไหนประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ต่อมา'

หากมองในแง่ผลที่ภาครัฐจะได้รับหากภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกิจ 3G ให้เดินหน้าไปได้ โดยรัฐเก็บค่าไลเซนส์ที่ลดลง รัฐจะสามารถเก็บภาษีได้ตั้งแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้ใช้บริการ เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ประกอบการสูงถึง 30% เก็บภาษีเงินได้จากพนักงานที่ทำงานในบริษัทที่ให้บริการ 3G และค่าธรรมเนียมที่กทช.จะได้รับอีก 6.5% ทั้งหมดเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่รัฐจะได้รับ หากไม่มีการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าจำนวนมหาศาลจากผู้ประกอบการ

สำหรับประเด็นที่มองว่ารัฐจะสูญเสียรายได้จากสัญญาสัมปทานเดิมนับแสนบาทนั้น ธัช กล่าวว่าที่ผ่านมาตลอด 19 ปีที่ผู้ให้บริการทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ จ่ายให้รัฐนั้นมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท โดยสัญญาสัมปทนของทั้ง 3 รายก็เหลือเพียง 4-6 ปีเท่านั้น การเปิดเสรีโทรคมนาคมโดยกทช.กับการให้ไลเซนส์ 3G จึงเป็นคนละประเด็นกัน และในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามข้อกำหนดของกทช.ที่กำหนดว่าผู้ให้บริการ 3G ต้องพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุม 50%ของประชากรใน 2 ปี และภายใน 4 ปี ให้ครอบคลุม 80% นั้น การย้ายโอนลูกค้าเดิมของผู้ให้บริการแต่ละรายไม่ใช้เรื่องง่ายๆ แม้ว่าโครงข่าย 3G จะพัฒนาได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ผู้ใช้บริการก็ยังอาจจะเลือกใช้บริการในคลื่นเดิมอยู่ก็ได้ และระหว่างที่มีการพัฒนาโครงข่าย 3G อย่างไรผู้ให้บริการทุกรายก็ยังต้องจ่ายเงินสัมปทานเดิมอยู่ดี เพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังต้องใช้งานอยู่

'เราต้องเสียเงินทั้งค่าสัมปทานเดิม และยังต้องลงทุนพัฒนา 3G นี่คือเรื่องจริงที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระและความเสี่ยงเพราะอนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ย้ายจากระบบเดิมไปสู่ 3G มากน้อยเพียงไร'

ส่วนประเด็นเรื่องการครอบงำโดยต่างชาตินั้น ทางทรู คอร์ปอเรชั่น ไม่ได้มีการกีดกั้นคู่แข่งขันหรือเอกชนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ เพราะที่ผ่านมาทรูฯ และเครือซีพีฯ ก็มีเอกชนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจด้วยเสมอมา แต่สิ่งที่ทรูฯ ตั้งเป็นประเด็นก็คือเรื่องของรัฐวิสาหกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อสารของไทยมากกว่า โดยในแง่ความมั่นคงของประเทศก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ทางทหาร รัฐบาลต้องลงมาดูแลเรื่องนี้ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการคนไทยปัจจุบันที่ต้องยอมรับว่าขณะนี้มือถือกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน การที่กิจการสื่อสารเป็นของรัฐวิสาหกิจต่างชาติ ในอนาคตอาจเกิดปัญหาที่กทช.ไม่สามารถที่จะเข้าไปควบคุมกิจการเหล่านี้ได้

'หากรัฐวิสาหกิจต่างชาติเกิดฮั้วกันขึ้นราคา หรือไม่ยอมให้บริการกับผู้ใช้บริการในประเทศไทย อะไรจะเกิดขึ้นกับเสียหายเหล่านี้'

ตัวอย่างในบางประเทศ อย่างอเมริกาที่ถือเป็นประเทศที่เปิดเสรีทางการค้า ยังมีข้อจำกัดหากอเมริกามองว่าการเข้ามาของต่างชาตินั้นเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอเมริกาก็จะไม่ให้มีการลงทุนนั้นเกิดขึ้น หรืออย่างที่เกิดขึ้นในมาเลเซียที่ให้ไลเซนส์ 3G กับทุกผู้ให้บริการ เว้นเพียงบริษัทที่มีกลุ่มเทเลนอร์ถือหุ้น เนื่องจากบริษัทนั้นกลุ่มเทเลนอร์ถือหุ้นถึง 61% กทช.มาเลเซียบอกให้เทเลนอร์มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 49% ก่อนจึงจะให้ไลเซนส์ 3G ซึ่งทางเทเลนอร์ก็ยอมทำตาม เช่นเดียวกันในประเทศไทยน่าที่จะนำสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมากำหนดและบังคับใช้ในประเทศเช่นกัน

"เราอยากเห็นการลงทุนแบบตรงไปตรงมาไม่ได้มีอะไรแอบแฝง และเราก็ไม่ได้รังเกียจคนต่างชาติ"

สำหรับประเด็นการให้ไลเซนส์พร้อมกัน 4 ใบนั้น ในความเป็นจริงผู้ประกอบการทุกรายจะต้องพยายามให้ได้ใบไลเซนส์ในราคาที่เหมาะสมที่สุดอยู่แล้ว และก็ถือเป็นการสร้างความเท่าเทียมไม่ให้ผู้ประกอบการายใหญ่เข้ามาทุ่มเงินชิงบริการก่อนแบบผูกขาดแต่ผู้เดียว

"วันนี้เราไม่มีเงินมากองเพื่อให้ได้ใบไลเซนส์ ก็เหมือนกับถีบเราออกจากตลาด"

ธัช มองว่าผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างเอไอเอสและดีแทคต่างมีความร่ำรวยอย่างมหาศาลจากทั้งกลุ่มเทมาเส็กและเทเลนอร์ ที่มีเงินทุนมากกว่าเงินงบประมาณของประเทศไทยทั้งประเทศด้วยซ้ำ แม้ว่ากลุ่มทรูฯ ที่มีเครือซีพีสนับสนุนอยู่ก็ไม่อาจเทียบได้ แต่จำเป็นต้องมีผู้ประกอบการรายเล็กอย่างทรูฯ ให้บริการ 3G ด้วย ส่งผลให้เกิดการแข่งขันไม่มีการผูกขาดตลาด ประชาชนผู้ใช้บริการก็จะได้รับประโยชน์

"เราต้องการให้ทั้งเอไอเอสและดีแทคแข่งขันกันต่อในบริการ 3G เราขอท้ารบแต่จะต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำอย่างที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับกทช.ว่าจะมีการตรวจสอบและวางข้อกำหนดต่างๆ โดยไม่เอื้อผลประโยชน์ให้กับรายใหญ่จนรายเล็กไม่สามารถเกิดและให้บริการ 3G ได้" ธัชกล่าวในท้ายที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us