Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน2 พฤศจิกายน 2552
KTBคาดสินเชื่อโต7% เน้นรายย่อย-ขรก.ห่วงดบ.ขาขึ้นแข่งดุฉุดสเปรด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
Interest Rate




บิ๊กแบงก์กรุงไทยเผยรายได้หลักของธนาคารในปี 53 มาจากสินเชื่อและค่าฟี ส่งผลให้มีการแข่งขันรุนแรง ฉุดสเปรดแบงก์ลดลง พร้อมตั้งเป้าเติบโตตัวสินเชื่อ 7% ตามการการขยายตัวของจีดีพีที่คาดว่าจะอยู่ที่ 3-3.5% พร้อมลุยปล่อยสินเชื่อโครงการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยว่า ในปี 2553 รายได้หลักของธนาคารยังคงมาจากสินเชื่อและค่าธรรมเนียม จึงทำให้การแข่งขันด้านสินเชื่อโดยรวมทั้งตลาดยังคงมีความรุนแรง ซึ่งการแข่งขันที่รุนแรงอาจส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงจากปี 2552

อย่างไรก็ตาม การที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2553 ก็อาจส่งผลให้สเปรดของธนาคารแคบลง เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารกรุงไทยสูงกว่าของธนาคารอื่น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับต่ำกว่าธนาคารอื่น ซึ่งปีหน้าหากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยของทั้งระบบต้องปรับขึ้นตาม โดยดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับเพิ่มขึ้นก่อนเงินกู้

"ดอกเบี้ยคงขึ้นปีหน้า ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามแบงก์ชาติ เราคงไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยก่อนเพราะต้องรอการส่งสัญญาณจากทางการ ซึ่งในส่วนสเปรดของธนาคารในปีหน้าอาจมีช่องว่างแคบลงจากปีนี้ เพราะมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะเพิ่มขึ้นมากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้"นายอภิศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ จากแผนธุรกิจในปี 2553 ของธนาคารในเบื้องต้นประมาณการณ์ว่า ตัวเลขสินเชื่อของธนาคารในปี 2553 จะมีการเติบโตประมาณ 7% จากปี 2552 โดยการเติบโตของสินเชื่อจะมาจากการเบิกใช้สินเชื่อของผู้รับเหมาที่เข้าประมูลงานของภาครัฐ ตามโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล และจากการคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่ธนาคารคาดว่าจีดีพีปีหน้าจะอยู่ที่ 3 – 3.5% ซึ่งตามปกติตัวเลขสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะมีการเติบโตประมาณ 2 เท่าของจีดีพี

โดยในปี 2553 ธนาคารจะยังคงให้ความสำคัญกับสินเชื่อรายย่อยตามเดิม เพราะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นค่อนข้าง โดยขณะนี้สินเชื่อรายย่อยเติบโตแล้วประมาณ 10 – 20% ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อข้าราชการ ขณะที่ธุรกิจอื่นๆที่อยู่ในเครือของธนาคารก็ยังมีความสามารถในการเติบโตได้ดี ทั้งธุรกิจขายประกันผ่านสาขาธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจบัตรเครดิต โดยธุรกิจหลักทรัพย์มีการเติบโตที่ดีขึ้นหลังจากร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทหลักทรัพย์ ซิมิโก้ ซึ่งหลังจากการควบรวมทำให้มีมาร์เก็ตแชร์วอลุ่มของบริษัทขึ้นมาอยู่เป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์

สำหรับสินเชื่อภาครัฐในปี 2553 ธนาคารก็จะยังเข้าไปร่วมประมูลตามเดิม โดยปัจจุบันธนาคารมีส่วนแบ่งของสินเชื่อภาครัฐประมาณ 40% โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาธนาคารได้ประมูลเงินกู้ของภาครัฐมาจำนวน 5 พันล้านบาท จากวงเงินกู้ทั้งหมด 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ปัจจุบันธนาคารได้มีการปล่อยกู้ให้กับภาครัฐเป็นจำนวนสุทธิประมาณ 5 – 6 หมื่นล้านบาท

นายอภิศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่าในส่วนของการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอุตสาหกรรม ธนาคารได้มีการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมที่ลงทุนอยู่ในโครงการมาบตาพุดธนาคารได้มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และมีจำนวนวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่มีการเบิกใช้อีกจำนวน 3 หมื่นล้านบาท

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งธนาคารตั้งเป้าว่าจะสามารถควบคุมระดับเอ็นพีแอลทั้งปีไว้ไม่ให้เกิน 4% โดยเอ็นพีแอลของธนาคารส่วนใหญ่เป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต ขณะที่เอ็นพีแอลใหม่เกิดขึ้นไม่มากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us