Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน2 พฤศจิกายน 2552
แบงก์แกร่งฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ สินเชื่อขยับฟื้น-จับตากันสำรองเพิ่ม             
 


   
search resources

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย), บจก.
Interest Rate




ฟิทช์ประเมินผลประกอบการแบงก์ไตรมาส 3 - 9 เดือน ยังแข็งแกร่งแม้เศรษฐกิจโดยรวมจะหดตัวแรง โดยแบงก์กรุงศรีฯโดดเด่นสุดหลังซื้อพอร์ตรายย่อยจากเอไอจี และมีความเป็นไปได้ที่แบงก์บางแห่งต้องกันสำรองเพิ่ม ด้านแบงก์ชาติคาดไตรมาส 4 มีลุ้นสินเชื่อพลิกเป็นบวก

นายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทยสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 และสำหรับงวด 9 เดือนปี 2552 ยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ชะลอตัวลงอย่างมาก โดยธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิลดลงไม่มากนัก กำไรจากการดำเนินงานก่อนสำรองหนี้สงสัยจะสูญ ยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับเดิม เนื่องจากการลดลงของต้นทุนทางการเงิน ในขณะที่การสำรองหนี้สงสัยจะสูญไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากนัก

แต่หากมองในรายละเอียดถึงผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งแล้ว นายวินเซนต์กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีฯ มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เนื่องจากธนาคารฯได้มีการซื้อธุรกิจสินเชื่อรายย่อยจาก AIG และ GE และการลดลงของการตั้งสำรองการด้อยค่าของสินทรัพย์ ในขณะที่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย ยังคงมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารทหารไทยมีผลการดำเนินงานที่อ่อนแอกว่าธนาคารอื่น เนื่องจากธนาคารยังคงมีความเสี่ยงเรื่องคุณภาพสินทรัพย์และอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อรวมกับกลุ่ม ING ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร อย่างไรก็ตามคาดว่าผลการดำเนินงานของธนาคารทหารไทยจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2553

ส่วนแนวโน้มของผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4 นั้น เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อคุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มที่จะตามหลังภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของการสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่อาจเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีสัญญาณการขยายตัวของสินเชื่อ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผลการดำเนินในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 และ 2553 ปรับตัวดีขึ้นได้ ในขณะที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงปีที่ผ่านมา ดังนั้นการสำรองหนี้สงสัญจะสูญอาจเพิ่มขึ้นในช่วง 6 - 12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธนาคารส่วนใหญ่มีอัตราส่วนเงินกองทุนที่แข็งแกร่งโดยมีอัตราส่วนกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 11% ประกอบกับมีอัตราส่วนกำไรที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้ธนาคารไทยสามารถรองรับผลกระทบ หากภาวะเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ

ขณะที่ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ภายหลังการเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติเพิ่มขึ้นนั้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฟิทช์เรทติ้ง (ไทยแลนด์) ประเมินว่า กล่าวว่า การเข้าถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ไทยของธนาคารต่างชาติได้ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้เงินกองทุนของธนาคาร อีกทั้งคาดว่าจะส่งผลให้การแข่งขันในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นในระยะยาว

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)โดยนางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ระบุว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและเงินปันผลต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) ทรงตัวที่ 2.9% แต่ค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลงในไตรมาสนี้ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 2.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 6 พันล้านบาท อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) เพิ่มขึ้นเป็น 1% ผลกำไรที่มีอย่างต่อเนื่องดังกล่าวส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือ (BIS Ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 16.5% โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 12.9%

ส่วนแนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 4/52 พอมีโอกาสที่จะพลิกเป็นบวกได้ จากไตรมาส 3 ที่หดตัว 3.1% เนื่องจากทิศทางดอกเบี้ยในขณะนี้มีความอำนวยพอสมควร รวมทั้งหากได้รับแรงกระตุ้นต่อเนื่องจากโปรเจ็กของภาครัฐที่จะส่งผลเป็นลูกโซ่ อย่างไรก็ดียังต้องดูภาคธุรกิจถึงความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในขณะนี้ยังเห็นไม่ชัดเจนนัก โดยหลายอุตสาหกรรมยังมีความสามารถในการผลิตอยู่ ดังนั้นจึงอาจไม่มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us