|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยักษ์ใหญ่ฟองเบียร์ “สิงห์-ไฮเนเก้น” เฮแนวคิด “กรณ์” จวกกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีเบียร์ไม่โปร่งใส แนะรื้อระบบปรับสู่มาตรฐานสากล จัดเก็บตามดีกรีแอลกอฮอล์ รับมืออาฟต้าภาษีนำเข้าน้ำเมา 0% หวั่นเบียร์ราคาถูกจีน-ลาว คาร์ลสเบิร์ก แห่ทะลักร่วม 100 แบรนด์ “ไฮเนเก้น-อาซาฮี” จ่อนำเข้าหวังราคาสินค้าถูก
นายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ กล่าวถึงกรณีที่ “กรณ์ จาติกวณิช” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีสินค้าบางกลุ่มที่ไม่มีความโปร่งใส และการไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบ อาทิ การจัดเก็บภาษีเบียร์ ณ หน้าโรงงานของกรมสรรพสามิตซึ่งตนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว จากปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ระบบการจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ขณะที่ประเทศไทยยังมีการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ณ ราคาหน้าโรงงาน มีทั้งหมด 3 อัตรา ได้แก่ เบียร์อีโคโนมีเสียภาษีสรรพสามิตขวดละ 20.87 บาท เบียร์สแตนดาร์ด 28.33 บาท และเบียร์พรีเมียม 29.11 บาท
“การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ จะมีผลทำให้ตลาดเปลี่ยน โดยผู้ประกอบการหันผลิตเบียร์ดีกรีต่ำ สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ เพราะมีราคาถูก ซึ่งในยุโรปและญี่ปุ่นให้ระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ก็มีผลทำให้คนดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ ทดแทนการดื่มดีกรีสูงที่มีผลเสียต่อร่างกายมากกว่ายกตัวอย่าง เบียร์ช้างมีปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์สูง 6.4% แต่เป็นเบียร์ที่อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี การเสียภาษีต่อขวดจึงถูก เมื่อเทียบกับเบียร์เซกเมนต์อื่นๆ”
ทั้งนี้หากกรมสรรพสามิตยังมีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ หน้าโรงงานตาม โดยคิดตามเซกเมนต์ของสินค้า จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปีหน้านี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการคนไทย จากปีหน้าการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลทำให้ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลือ 0% ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งจะทำให้เบียร์จากต่างประเทศหรือทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เข้ามาทำตลาดด้วยการวางราคาสินค้าถูก เพราะสามารถแจ้งในราคาที่ต่ำตามความพอใจได้ จากการที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเพียงแต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกระบวนการส่งออกที่เกิดขึ้นในไทย (CIF:Cost Insurance and Freight)
“การจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานโดยถูกกำหนดให้เก็บตามเซกเมนต์ ทำให้เบียร์ของผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบทันทีในปีหน้านี้ เบียร์ไทยจะมีราคาสูง ขณะที่เบียร์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะมีราคาถูก อย่างไรก็ตามแผนการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ที่มีความรุนแรง บริษัทโฟกัสด้านระบบลอจิสติกส์และด้านบริการ ส่วนอาซาฮีมีโอกาสที่จะใช้ฐานการผลิตจากประเทศอื่นๆ แทน และส่งกลับมาไทยเพื่อได้ราคาสินค้าถูกกว่า”
นายฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีหน้าจะมีเบียร์ใหม่ๆ จากประเทศต่างประเทศทะลักเข้าสู่ประเทศไทย 100 แบรนด์ และผลจากราคาเบียร์ที่ถูกกว่าเบียร์ไทย ยังมีผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคดื่มเบียร์มากขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ภาครัฐรณรงค์ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย ขณะที่กรมสรรพสามิต มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บภาษีได้น้อยลง ซึ่งปีนี้สภาพตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ติดลบ 10% นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี สำหรับการติดลบเป็นตัวเลขสองหลัก
ไฮเนเก้นจ่อนำเข้าเบียร์เพื่อนบ้าน
นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า จากการจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานตามเซกเมนต์ของเบียร์ และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าในเดือนมกราคม ทำให้เบียร์นำเข้ามีราคาถูกกว่าเบียร์ที่ผลิตในประเทศ
โดยยกตัวอย่างการผลิตเบียร์จีนหรือลาว มีต้นทุน12-13 บาท เมื่อเทียบกับเบียร์ผลิตในประเทศไทย เสียภาษี 20 บาทขึ้นไปต่อขวด เป็นต้น ตลาดเบียร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ส่วนกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ทั้งนี้เสนอให้กรมสรรพสามิต ปรับระบบการจัดเก็บภาษีหน้าโรงงานใหม่ โดยมีด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1.การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ตามมาตรฐานสากล หรือ 2.การจัดเก็บภาษีโดยแบ่งกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มเบียร์ เหล้า เหล้าขาว โดยไม่ได้คิดภาษีตามเซกเมนต์ ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ควบคุมการทะลักของเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาดและยังทำให้เบียร์จากผู้ประกอบการไทยหรือเบียร์ไฮเนเก้น ซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทยสามารถแข่งขันทางการตลาดโดยไม่เสียเปรียบด้านราคา
“ยังไม่สายหากกรมสรรพสามิต ปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีใหม่ ซึ่งก็ดีกว่าไม่ดำเนินการทำอะไรเลย เพราะระบบจัดเก็บภาษีดั้งเดิมจะเอื้อให้เกิดเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาด และสนับสนุนให้คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ”
นายปริญ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าคาลเบิร์ก เบียร์เซกเมนต์พรีเมียมเช่นเดียวกับไฮเนเก้น จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในเชิงรุกมากขึ้น โดยใช้ฐานการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและลาว ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่เบียร์คาลเบิร์กจะมีราคาถูกกว่า ซึ่งมีผลต่อเบียร์ไฮเนเก้นโดยตรง
ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าบริษัทจะพิจารณานำเข้าเบียร์ไฮเนเก้นโดยใช้ฐานการผลิตในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น
|
|
|
|
|