Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
สามใบเถา             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 





ตำนานบทหนึ่งของชาวอะบอริจินกล่าวถึง ยักษีพี่น้องสามตน ชื่อ Meehni, Wimlah และ Gunnedoo ทั้งสามตนเป็นยักษ์ที่มีรูปร่างงดงาม ใบหน้าสวยงาม อาศัยอยู่กับชนเผ่าคาทูมบ้า (Katoomba) ในหุบเขา Jamieson

หญิงงามทั้งสามตกหลุมรักหนุ่มพี่น้องสามคนจากชนเผ่า Nepean แต่ไม่สามารถแต่งงานกันได้เนื่องจากกฎของหมู่บ้านบังคับไว้

สามพี่น้องซึ่งเป็นนักรบที่เก่งกาจจึงตัดสินใจที่จะใช้กำลังแย่งชิงหญิงงามทั้งสามมาให้ได้ สงครามครั้งใหญ่ระหว่างสองชนเผ่าจึงเกิดขึ้น พ่อมดประจำชนเผ่าคาทูมบ้าจึงใช้เวทมนตร์แปลงหญิงงามทั้งสามให้กลายเป็นหินไปเสียก่อน เมื่อสงครามสงบจึงค่อยเปลี่ยนกลับเป็นเหมือนเดิม

เรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น เมื่อพ่อมดถูกฆ่าตายในสมรภูมิรบ

ตั้งแต่นั้นมาหญิงงามทั้งสามจึงต้องกลายเป็นหินสามใบเถาอยู่จนบัดนี้

จนบัดนี้ เราจึงได้แต่จินตนาการ Three Sisters ไปถึงความงามของหญิงสาวพี่น้องสามคน

ผมเพิ่งมีโอกาสไปเที่ยวซิดนีย์มา

สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในการเที่ยวซิดนีย์ครั้งนี้คือ Three Sisters

Three Sisters หรือ สามใบเถา เป็นชื่อของภูเขาสามลูกที่เรียงรายตามลำดับสูงต่ำอยู่ด้านหนึ่งของ Blue Mountain ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย และสำหรับคนที่มาซิดนีย์จะพลาดที่นี่ไม่ได้

Blue Mountain หรือ ภูเขาสีน้ำเงิน และที่นี่ภูเขาก็เป็นสีน้ำเงินจริงๆ

Blue Mountain ทำให้ผมคิดได้ว่า มนุษย์เรานี้ตัวกระจ้อยร่อยนัก เมื่อเทียบกับธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ มนุษย์ที่หลงตัวเองคิดว่าตัวเองสามารถควบคุมธรรมชาติได้ สุดท้ายก็จะต้องถูกกลืนหายเข้าไปในธรรมชาตินั่นเอง

ซิดนีย์ต่างจากบริสเบนตรงที่ความมีชีวิตชีวา

บริสเบนที่ผมอยู่นี้เป็นเมืองสงบ ภายใต้การผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น คั่นด้วยแม่น้ำบริสเบนที่ไหลคดเคี้ยวไปมา บริสเบนเป็นเมืองสงบและไม่มีสีสันมากนัก ชาวบริสเบนจึงมักวุ่นอยู่กับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันและชีวิตครอบครัว หลังหกโมงเย็นหลายครอบครัวมักจะเก็บตัวอยู่ภายในบ้าน และดำเนินชีวิตอย่างสงบด้วยกิจกรรมภายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ เล่นดนตรี หรือนั่งดูรายการโทรทัศน์ร่วมกัน

แต่ซิดนีย์ให้ภาพของความวุ่นวาย ความรีบเร่ง และสีสัน

สีสันของซิดนีย์เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ ข้ามผ่านกลางวันที่วุ่นวาย และจบลงด้วยกลางคืนที่มีแสงสี

ซิดนีย์วุ่นตั้งแต่เรื่องการเดินทาง การรับประทานอาหาร การแข่งขันกันทำงาน และการแย่งกันท่องเที่ยว

ในสายตาของผม ซิดนีย์น่าเที่ยว แต่ไม่น่าอยู่

ประเด็นร้อนในสังคมซิดนีย์ปัจจุบันพูดถึงการพยายามกันผู้อพยพเข้าซิดนีย์ให้ออกไป

ปัญหาสำคัญสี่อย่างของซิดนีย์ คือ การอพยพเข้าซิดนีย์ที่สูงเกินไป การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหารถติด และความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง

ชาวซิดนีย์หลายคนเริ่มพูดถึงการเข้ามาแย่งทรัพยากรของผู้อพยพเข้าซิดนีย์ และกลายเป็นประเด็นการเมืองที่พยายามจะโน้มน้าวให้ผู้อพยพไปอยู่เมืองอื่นๆ นอกเหนือจากซิดนีย์แทน

เช่นเดียวกับภาครัฐที่พยายามให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่อพยพไปอยู่เมืองอื่น และลดสิทธิประโยชน์หลายๆ ด้านสำหรับผู้ที่จะมาซิดนีย์

ทุกๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนถูกโยงเข้ากับการอพยพของชาวต่างชาติเข้าเมืองซิดนีย์ทั้งสิ้น

ปี 2545 จำนวนผู้อพยพเข้าเมืองซิดนีย์มีมากถึง 110,000 คน ซึ่งจำนวนที่มากขึ้นนี้เกิดจากนโยบายของรัฐบาล นายกฯ จอห์น โฮเวิร์ด คนปัจจุบัน

ตัวเลขนี้คิดเป็น 40% ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม สภาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย (The Business Council of Australia) กลับต้องการให้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ถึง 170,000 คน เพื่อคงไว้ซึ่งตัวเลขการเพิ่มประชากรประจำปีที่ระดับ 1.25%

ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย หรือ Australian Bureau of Statistics (ABS) บ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของผู้อพยพเข้าออสเตรเลียที่เป็นชาวเอเชียในช่วงทศวรรษ 1990 โดยพบว่า มาจากหกประเทศหลัก คือ จีน อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และอินโดนีเซีย ในขณะที่เมื่อยี่สิบปีก่อนมาจาก จีน มาเลเซีย และศรีลังกา

ซิดนีย์ต่างจากเมืองอื่นๆ ของออสเตรเลีย ตรงที่ซิดนีย์เป็นเมืองระดับโลก แบบเดียวกับ นิวยอร์ก ลอนดอน หรือฮ่องกง ซิดนีย์เป็นประตูสู่โลกภายนอกของออสเตรเลีย ทำให้คนภายนอกเห็นคนออสเตรเลียน และนำมาซึ่งเงินลงทุน

นโยบายส่วนหนึ่งของภาครัฐคือ การให้ สิทธิในการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียสำหรับแรงงานมีฝีมือ โดยเฉพาะสาขาที่ออสเตรเลีย ขาดแคลน เช่น ด้านไอที

งานวิจัยผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการอพยพเข้าเมืองให้ภาพว่า การเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำงานของแรงงานมีฝีมือเป็นผลประโยชน์ฟรีๆ ที่ซิดนีย์ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากคนเหล่านี้ตอบแทนคืนต่อสังคมออสเตรเลียมากกว่าที่พวกเขาได้รับ พวกเขาเพิ่มปริมาณอุปสงค์ ก่อนให้เกิดการจ้างงานของคนออสเตรเลีย และเพิ่ม ระดับผลผลิตให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สามารถมองได้ง่ายๆ จากรายได้ของภาครัฐ เมื่อซิดนีย์คิดจะปิดเมืองไม่ต้อนรับผู้อพยพแล้ว อนาคตของออสเตรเลียอาจจะเปลี่ยนไป ยังไม่รู้ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม:

1. Arrogant Sydney, Australian Financial Review (August 16-17, 2003)

2. The Asianization of Australia Stalls, Australian Financial Review (August 20-21, 2003)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us