|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อเอ่ยชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนนาม 'หัวเหว่ย' (Huawei) ไม่ว่าจะเป็นชาวอเมริกันหรือยุโรปรวมทั้งหลายประเทศในเอเชีย คงต้องส่ายหน้าเพราะว่าไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
แต่ถ้าจะบอกว่า หัวเหว่ย เป็นชื่อที่ติดอยู่ในรายงานของนิตยสารนิวส์วีกว่ามีรายได้จากการดำเนินธุรกิจมากกว่า 18,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว และคาดกันว่าอีกไม่ช้าจะแซงหน้าโนเกียและซีเมนส์ ขึ้นเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้านเทเลคอมใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลกรองจากอีริคสัน หลายคนก็คงยังงงอยู่อีก
สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับบริษัทของจีนเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่แต่เพียงหัวเหว่ยเพียงบริษัทเดียว โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการจีนเหล่านี้ตัดสินใจก้าวสู่ตลาดโลก เพราะความท้าทายที่รออยู่คือ การต้องหาทางสร้างแบรนด์ที่ดึงดูดความสนใจของลูกค้าและมีคุณค่าเพียงพอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้สินค้าที่เป็นแบรนด์เหล่านั้นมา
แม้ว่าจะเป็นชื่อของบริษัทที่ออกเสียงยากสำหรับคนที่ไม่รู้ภาษาจีน หัวเหว่ยที่มีฐานธุรกิจในเซินเจิ้น ก็ได้รับการยอมรับจากนิตยสารบิสเนสวีกว่าเป็นบริษัท 1 ใน 10 ของบริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ขนาดทาบรัศมีของแอปเปิล วอล-มาร์ท โตโยต้า และกูเกิลทีเดียว
และจาก 10 อันดับบริษัททรงอิทธิพลที่สุดของโลกดังกล่าว (The World's 10 most influential companies) ชื่อของหัวเหว่ยเป็นชื่อที่ไม่มีใครรู้จักมากที่สุด
แม้แต่รัฐบาลจีนเองก็วิตกในเรื่องนี้ และเรียกร้องให้บรรดาผู้ประกอบการของจีนพยายามใส่ใจและช่วยๆ กันสร้างชื่อเสียงและความรู้จักในแบรนด์ให้มากขึ้นกว่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่คิดจะเป็นโกลบอล แบรนด์ (Global brand) ควรจะคิดถึงเรื่องการสร้างแบรนด์ พร้อมๆ กับการสร้างความยอมรับในคุณภาพนวัตกรรมหรือบริการ เพราะมิฉะนั้น ลูกค้าคงไม่กล้าจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่ตนอ่านชื่อแบรนด์ยังไม่ออกอย่างแน่นอน
ที่จริงนอกจากหัวเหว่ยแล้ว บริษัทจีนที่ออกตลาดโลกอีกรายหนึ่งชื่อ ไฮเออร์ ก็พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางการตลาดมุ่งที่การขายสินค้า มาสู่การสร้างชื่อเสียงของแบรนด์อย่างจริงจังมากขั้นตามคำแนะนำของรัฐบาลจีน ควบคู่กับการขยายเครือข่ายงานหลังการขาย
อุปสรรคสำคัญของการก้าวสู่แบรนด์ระดับโลกของผู้ประกอบการจีน คือ ประการแรก กิจการเหล่านี้เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตสินค้า แล้วค่อยๆ พัฒนาตนเองเป็นนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกำลังจะพยายามเป็นนักการตลาดในระดับโลก หมายความว่ามีความสามารถและทักษะ รวมทั้งประสบการณ์ด้านการตลาดโลกน้อยที่สุด
ประการที่สอง ผู้ประกอบการเหล่านี้พบว่าสินค้าของตนไม่ได้มีเอกลักษณ์หรือความแตกต่างที่จะเป็นการสร้างคุณค่าจนหนีห่างจากคู่แข่งขันได้อย่างชัดเจน กำไรต่อหน่วยสินค้าที่ขายก็ไม่ได้มากมาย จนหนีห่างจากคู่แข่งขันได้อย่างชัดเจน กำไรต่อหน่วยสินค้าที่ขายก็ไม่ได้มากมาย แถมหลายบริษัทยังเติบโตมาจากการเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ได้เพราะขายตัดราคาสู้กับคู่แข่งขันมากกว่า
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งจะมีผู้ประกอบการจำนวนมากมาย เช่นรถจักรยานในจีนมีผู้ผลิตออกขายถึงกว่า 500 ราย
ประการที่สาม กลยุทธ์การพัฒนาแบรนด์ในระดับโลก เป็นงานที่ใช้เวลา ใช้เงิน งบประมาณ และอาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของกิจการ
อย่างเช่นกรณีของไฮเออร์ เคยกำหนดกลยุทธ์การขายแบบระยะสั้นๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นนักการตลาดที่มองการณ์ไกลและคิดยาวๆ มากขึ้นแทน และมองในมุมมองของลูกค้าเพิ่มที่มาจากแบรนด์ แทนการทำสงครามราคาอย่างเดียว แต่เรื่องของงานการสร้างแบรนด์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยทั้งการยอมรับในคุณประโยชน์และคุณภาพของสินค้า และในมุมของกายภาพควบคู่กับอารมณ์และความรู้สึกด้วย
ประการที่สี่ ตลาดโลกยังติดกับภาพลักษณ์แบรนด์ยอดแย่ ไม่ปลอดภัย อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ หรือแม้แต่ของเล่นเด็ก
จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังเห็นว่าสินค้า Made in China ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการปรับปรุงคุณภาพที่ดีขึ้น และ 80% เห็นว่าคุณภาพต่ำด้วยซ้ำ นี่ยังไม่นับรวมชื่อเสียงทางลบเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
แม้แต่หัวเหว่ยก็เคยถูกฟ้องร้องจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ชื่อ ซิสโก้ ซิสเท็มส์ (Cisco System) ว่าก๊อบปี้โค้ดคอมพิวเตอร์ และทำให้หัวเหว่ยต้องถอนสินค้าออกจากตลาดก่อนที่จะประนีประนอมและยอมความกันในที่สุด
นั่นก็หมายความว่า บริษัทจีนที่กำลังพาแบรนด์ออกตลาดโลกยังถูกประเมินด้วยความรู้สึกของลูกค้าในตลาดโลกว่า คุณภาพแย่
นักการตลาดบางรายแนะนำให้ทั้งไฮแออร์ และหัวเหว่ยลงทุนทำงานด้านการวิจัยเพื่อหาทางยกระดับโครงสร้างของธุรกิจให้มีศักยภาพและความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้แตกต่างกันมาก
ขณะที่นักการตลาดอีกบางส่วนแนะนำว่าคงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด ค่านิยมและวัฒนธรรมในระดับรากเหง้า ซึ่งคงจะต้องกินเวลานานหลายปีจนบางคนบอกว่าอาจจะต้องรอทายาทรุ่นต่อไปเข้ามาบริหารจัดการ
นั่นหมายถึงต้องรออีกไม่น้อยกว่า 10-20 ปีทีเดียว
|
|
|
|
|