|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีเร่งประมูลโครงข่าย 3G ทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ ชิงจังหวะกทช.ยังไม่เคาะประมูลเมื่อไหร่ ‘วรุธ’ไม่หวั่นแข่ง 3G แต่เกรงเอกชนมั่วนิ่มใช้โครงข่าย 2G ที่เป็นทรัพย์สินรัฐ ยอมรับตรวจสอบไม่ทั่วถึงเกรงประวัติศาสตร์ซ้ำรอยทีทีแอนด์ที ทรูคอร์ปอเรชั่น ด้าน ‘จิรายุทธ’ หลังซื้อฮัทช์รวมเน็ตเวิร์กซีดีเอ็มเอ กสทจะใช้ฐานลูกค้ากว่า 1ล้านรายจูงใจพันธมิตรประมูล 3G
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าทีโอทีอยู่ระหว่างการจัดทำเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ทั่วประเทศซึ่งประเด็นหลักคือจะใช้การประกวดราคาแบบสากล (International Bid) และให้ผู้ประกวดราคาเสนอแหล่งเงินกู้ในลักษณะ export credit โดยจะพยายามเปิดประมูลให้ทันภายในสิ้นปี 2552
นี้ซึ่งหากทำได้ก็จะสร้างความได้เปรียบเอกชนรายอื่นเพราะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ยังไม่มีกำหนดแน่ชัดว่าจะเปิดประมูลได้ในวันไหน
‘โครงข่าย 3G ทั่วประเทศของทีโอทีจะเป็นNational Network Provider โดยมีพันธมิตรที่เข้ามาร่วมทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในลักษณะช่วยทำตลาด (MVNO) หรือการโรมมิ่งโครงข่ายระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนของประเทศ’
ทั้งนี้โครงข่าย 3G ทั่วประเทศของทีโอทีจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทโดยการลงทุนจะแบ่งเป็น 3 เฟสย่อย ได้แก่ พื้นที่ กรุงเทพ และปริมณฑลจำนวน 1,772 สถานีฐานและพื้นที่จังหวัดใหญ่ 1,635 สถานีฐานและพื้นที่จังหวัดรอง 395 สถานีฐานในขณะที่นายอภิสิทิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเคยหารือร่วมกับรมว.ไอซีทีกับประธานบอร์ดทีโอทีว่าน่าจะมีการปรับลดงบประมาณลงมาเหลือ 1.5หมื่นล้านบาท
นายวรุธกล่าวว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาทีโอทีได้ส่งหนังสือชี้แจงคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจแล้วถึงผลกระทบของการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ของกทช.ที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าจะทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะจะมีผู้ให้บริการ 3G รวม 5 รายประกอบด้วยเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และทีโอทีซึ่งจะเริ่มให้บริการเฟสเริ่มต้น (initial 3G) ในวันที่ 3 ธ.ค.ที่จะถึงนี้รวมทั้งคาดว่าจะมีผู้ให้บริการรายใหม่ (new comer) อีก 1 รายซึ่งน่าจะเป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศที่มีความความพร้อมทั้งด้านการเงินและประสบการณ์
อย่างไรก็ตามทีโอทีเห็นว่าการออกใบอนุญาต3Gใหม่ ไม่กระทบกับการแข่งขันในธุรกิจ 3G เนื่องจากทีโอทีได้วางแผนรองรับการแข่งขันไว้แล้วซึ่งตามแผนพลิกฟื้นธุรกิจ (Turnaround Plan) ทีโอทีก็พยายามทำให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G เป็นธุรกิจที่สำคัญในการลดการพึ่งพาส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาร่วมการงานตลอดจนทดแทนรายได้ที่ลดลงแต่ผลกระทบสำคัญจะเกิดกับสัญญาสัมปทานเดิมในโครงข่าย2G ที่เอไอเอสเป็นคู่สัญญาร่วมการงานกับทีโอทีอยู่ เพราะจะทำให้เกิดการถ่ายโอนลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ที่ได้รับใบอนุญาต 3G และจะส่งผลให้ส่วนแบ่งรายได้ลดลง
เขาย้ำว่าสิ่งที่ทีโอทีกังวลและมีความเป็นห่วงมากที่สุดคือโครงข่าย 2G ของเอไอเอสที่ตามสัญญาร่วมการงาน (BTO) ถือว่าเป็นทรัพย์สินของทีโอที แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่เอกชนจะนำอุปกรณ์ระบบ 3G มาติดตั้งเพิ่มเติมบนทรัพย์สินของโครงข่าย 2G เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมาตรการกำกับดูแลการควบคุมและการตรวจสอบจะซับซ้อนยิ่งขึ้น อาจมีข้อพิพาท และในที่สุดก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ทีโอที
‘ทีโอทีเสนอไปว่าบริษัทที่ได้ใบอนุญาต 3G ควรทำบนโครงข่ายใหม่ทั้งหมดของตัวเองได้หรือไม่ เพราะควบคุมยากและทำให้เราไม่ได้มูลค่าเพิ่มเต็มที่จากโครงข่ายเดิม แต่กทช.ก็ปฏิเสธ เพราะไปติดเงื่อนไขกฎเกณฑ์การใช้ทรัพยากรร่วมกัน’นายวรุธกล่าวและชี้ว่าโดยเฉพาะเรื่องระบบสื่อสัญญาณต่างๆที่บริษัทคู่สัญญา 2G ดำเนินการไปมากแล้วและมีกระจายทั่วประเทศ ซึ่งทีโอทีไม่สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึง และเอกชนมีสิทธิในการใช้งานอยู่ ก็สามารถทำอะไรกับโครงข่ายพวกนี้ได้ทั้งการพาดสายให้กับลูกค้าหรือกับบริษัทย่อยของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่ติดตั้งสถานีฐานโทรศัพท์มือถือ 2G ถึงแม้จะมีการโอนเป็นทรัพย์สินของรัฐ แต่บางพื้นที่ก็เป็นเรื่องยากที่ทีโอทีจะเข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้ทีโอทีเกิดข้อพิพาทในลักษณะนี้กับบริษัทคู่สัญญาร่วมการงานโทรศัพท์พื้นฐานอย่างทีทีแอนด์ที และทรูคอร์ปอเรชั่น
‘เชื่อว่ายิ่งเอกชนต้องการติดตั้งโครงข่าย 3G ให้รวดเร็ว ก็จะยิ่งมีการใช้งานบนโครงข่าย 2G แบบออฟไซต์ ซึ่งทีโอทีไม่มีปัญญารักษาหรือป้องกันได้ทั้งหมด เพราะทุกวันนี้สถานที่ติดตั้งโครงข่ายถูกจับจองไว้เกือบหมดแล้ว วิธีวางโครงข่ายที่เร็วที่สุดคือแปะติดไปบนโครงข่าย 2G เดิมนั่นเอง’
กสทใช้ซีดีเอ็มเอชิงความได้เปรียบ
ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าวันที่ 6 พ.ย.นี้จะเสนอแผนธุรกิจซึ่งรองรับความเสี่ยงเรื่องรายได้จากสัมปทานและผลกระทบหลังจากกทช.เปิดประมูลใบอนุญาต 3G รวมทั้งแนวทางการเข้าร่วมประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซื ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะจับมือกับเอกชนเพื่อร่วมประมูลใบอนุญาต 3Gหรือเป็นพันธมิตรกับผู้ที่ประมูลใบอนุญาต 3G โดยให้ผู้ที่ชนะการประมูลมาร่วมเช่าใช้โครงข่ายของกสท
นายจิรายุทธ กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีนี้คาดว่าการให้บริการระบบ 3Gจะเปิดให้บริการในกทม.และปริมณฑลก่อน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่การติดตั้งเสาส่งสัญญาณถูกจับจองโดยผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซึ่งให้บริการระบบ 2G หมดแล้วดังนั้นการเข้าร่วมกับกสทจะทำให้เอกชนรายใหม่ที่ชนะการประมูลใบอนุญาต 3G จะสามารถวางโครงข่าย 3G
เสร็จทันกับผู้ให้บริการรายอื่น
นอกจากนี้กสทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับฮัทช์ในการซื้อโครงข่ายและสิทธิ์การทำตลาดโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดภาคกลางรวมกทม.และปริมณฑลแล้วส่วนราคาที่ซื้อจะได้ข้อสรุปในเดือนธ.ค.นี้ ก่อนที่กทช.จะเปิดการประมูล 3G
สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอของฮัทช์ใน 25 จังหวัดมีอยู่ 1,100 สถานีฐาน ซึ่งตามข้อตกลงการซื้อขายฮัทช์ต้องอัพเกรดระบบให้เป็นซีดีเอ็มเอ อีวีดีโอ ซึ่งรองรับการใช้งาน 3G ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ส่วนโครงข่ายของกสทซึ่งให้บริการภายใต้ชื่อแคท ซีดีเอ็มเอ ใน 51 จังหวัด มีทั้งหมด 1,600 สถานีฐาน รองรับการใช้งาน 3G หมดแล้ว
‘คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ มีความสำคัญกับกสทมาก เรียกได้ว่าเป็นทางรอดของการให้บริการธุรกิจมือถือของกสทก็ได้ เพราะกสทไม่มีคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซเพื่อให้บริการ 3Gขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นมีทั้งคลื่นความถี่เดิม และคลื่นความถี่ใหม่ที่จะได้จากการประมูลครั้งนี้และอนาคตก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเทคโนโลยีไหนจะทำรายได้ดีกว่ากันเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอด ขณะที่การให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอ กสทก็ยังทำต่อ แต่อนาคตต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีแอลทีอีหรือไม่’
นายจิรายุทธกล่าวว่าก่อนหน้านี้ กสทพยายามแนะนำให้ดีแทค และทรูมูฟ ยื่นขอ กทช.เพื่อทดสอบการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน โดยหวังจะให้เกิดการชะลอในการย้ายฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือซึ่งใช้งานบนโครงข่าย 2G ไปอยู่บน3G เมื่อได้รับใบอนุญาต แต่ก็ติดปัญหาการร่วมลงทุนตามพ.ร.บ.ร่วมการงานรัฐกับเอกชนพ.ศ.2535 มาตรา 22ทำให้ไม่เกิดการลงทุนซึ่งรายได้ของ กสท 60% เป็นรายได้จากสัมปทาน ขณะที่กำไรเกือบทั้งหมดก็มาจากสัมปทาน
‘กสทต้องมีใบอนุญาตหนึ่งใบให้ได้ จึงต้องร่วมมือกับพันธมิตรที่มีโอกาสมากที่สุดเพื่อเอาความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์มา ซึ่งมี regional operator อย่างน้อย 5 รายสนใจ ซึ่งไม่ได้เสียเปรียบเทมาเส็กหรือเทเลนอร์ในการแข่งขันประมูลหรือให้บริการ เพราะมีประสบการณ์ในตลาดต่างประเทศมาเหมือนกัน’
ทั้งนี้เขาเชื่อว่าคู่แข่งรายอื่นหากประมูลความถี่ 3Gจากกทช.ก็จะต้องใช้เวลากว่าปีในการติดตั้งและลงทุนแต่กสทจะอาศัยช่วงรอยต่อที่คนต้องการใช้บริการ 3G นี้เร่งหาลูกค้าเข้ามาในบริการซีดีเอ็มเอที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลไม่ต่างกัน โดยหลังจากกสทรวมโครงข่ายซีดีเอ็มเอเป็นเน็ตเวิร์กเดียวจะมีฐานลูกค้ามากกว่า 1 ล้านรายซึ่งเป็นแต้มต่อสำคัญของกสท
|
|
|
|
|