Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน21 ตุลาคม 2552
บล.มีสิทธิรอด!ตลท.ไฟเขียวค่าคอมฯใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นิพัทธ พุกกะณะสุต
Stock Exchange




คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ รับหลักการปรับปรุงอัตราค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันไดใหม่ ตามข้อเสนอของสมาคมโบรกเกอร์ที่พยายามดิ้นเฮือกสุดท้าย ก่อนจะเจอวิกฤตรายได้ทรุดในปีหน้า หากใช้คอมมิชชันตามแผนเดิม คาดเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี 53 หลังส่งให้สำนักงานก.ล.ต. พิจารณาเร็วๆ นี้ พร้อมลดการเก็บเงินสำรองจากมาร์เกตติ้งเหลือ 25% จากเดิม 35% พร้อมนัดประชุมสมาชิกโบรกเกอร์ในวันที่ 26 ต.ค.นี้

นายนิพัทธ พุกกะณะสุต กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (20 ต.ค.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการปรับปรุงอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) แบบขั้นบันได ที่จะประกาศใช้ต้นปี 2553 ตามที่ทางสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เสนอมา โดยขั้นตอนหลังจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาต่อไป

สำหรับข้อเสนออัตราการจัดเก็บค่าคอมมิชชันของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่เสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชันในอัตรา 0.25% มูลค่าการซื้อขาย 5-10 ล้านบาท คิดอัตรา 0.22% และมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 10-20 ล้านบาท คิดในอัตรา 0.18%

ขณะที่ข้อกำหนดเดิม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้มูลค่าซื้อขายต่ำกว่า 1 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชันในอัตรา 0.25% มูลค่าซื้อขายตั้งแต่ 1-10 ล้านบาท คิดอัตรา 0.22% มูลค่าซื้อขาย 10-20 ล้านบาท คิดอัตราไม่น้อยกว่า 0.18% ส่วนมูลค่าการซื้อขายต่อวันเกินกว่า 20 ล้านบาท ให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างโบรกเกอร์กับลูกค้า

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้เห็นชอบให้ปรับลดการหักเงินสำรองจากค่าคอมมิชชัน เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงป้องกันไม่ให้พนักงานการตลาด (มาร์เกตติ้ง) กระทำผิดหลักเกณฑ์ โดยหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องหักเงินสำรองจากค่าคอมมิชชันที่มาร์เกตติ้งรับไว้นาน 6 เดือน ในอัตรา 35% ลดเหลือ 25% ของค่าธรรมเนียม

ด้านแหล่งข่าวจากกรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้นัดประชุมร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ในวันที่ 26 ตุลามคมนี้ เพื่อมติเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์การคำนวณค่าคอมมิชชันใหม่ให้โบรกเกอร์ได้รับทราบ หลังจากนั้นจะส่งให้สำนักงานก.ล.ต. เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต.พิจารณาในเดือนพฤศจิกายนนี้

ก่อนหน้านี้ นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่เสนอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องปรับค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันไดใหม่ ว่า การเก็บค่าคอมมิชชันแบบเดิมจะทำให้รายได้ของบริษัทหลักทรัพย์ลดลงประมาณ 20% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากค่าคอมมิชชันถือเป็นรายได้หลักของโบรกเกอร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 75% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์

จากปัจจัยข้างต้น ทำให้ในปี 53 บริษัทหลักทรัพย์จะต้องปรับกลยุทธ์และหารายได้อื่นๆ เข้ามาทดแทนรายได้ค่าคอมมิชชันที่หายไป อาทิ รายได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (พอร์ตลงทุน) การหารายได้จากตลาดอนุพันธ์ การขยายฐานนักลงทุน การหาธุรกรรมใหม่ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่การตลาด จะต้องมีการปรับตัวในเรื่องการให้บริการที่มีคุณภาพที่ดีให้กับนักลงทุนเพื่อให้นักลงทุนยังคงมีการซื้อขายกับเจ้าหน้าที่การตลาดต่อไป

ขณะที่หลายๆ ฝ่ายได้ให้ความเห็นว่า หากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยืนยันที่จะใช้ค่าคอมมิชชันแบบขั้นบันไดในอัตราเดิมนั้น จะส่งผลให้รายได้ของโบรกเกอร์หดหาย เพราะลูกค้ารายใหญ่จะย้ายพอร์ตลงทุนไปซื้อขายกับโบรกเกอร์เพียงรายเดียว เพื่อมีสิทธิในการต่อรองค่าคอมมิชชัน จนทำให้บริษัทหลักทรัพย์รายเล็กไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และจะมีบริษัทหลักทรัพย์มีการควบรวมกิจการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานและการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2553 เป็นต้นไป

ฝรั่งซื้อ1.3พันล.หนุนหุ้นบวก6จุด

ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นล่าสุด วานนี้ (20 ต.ค.) ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้า และปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 739.00 จุด ก่อนจะเริ่มปรับตัวลดลงในการซื้อขายภาคบ่าย มีจุดต่ำสุดที่ 723.58 จุด และปิดการซื้อขายที่ 725.60 จุด ลดลงจากวันก่อน 6.01 จุด หรือคิดเป็น 0.82% มูลค่าการซื้อขายรวม 29,198.45 ล้านบาท

โดยนักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิสูงถึง 1,321.51 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 442.67 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 1,764.18 ล้านบาท

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ราคาปิดที่ 159.50 บาท ลดลงจากวันก่อน 3 บาท คิดเป็น 1.85% มูลค่าการซื้อขาย 3,086.59 ล้านบาท บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 261 บาท ลดลง 4 บาท หรือ 1.51% มูลค่าการซื้อขาย 1,733.29 ล้านบาท และบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ราคาปิด 3.68 บาท เพิ่มขึ้น 0.06 บาท หรือ 1.66% มูลค่าการซื้อขาย 1,610.20 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us