Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
บ้านเคลื่อนที่ : ที่อยู่ใหม่ใจกลางกรุง             
 


   
search resources

Werner Aisslinger




ดูจะจำกัดจำเขี่ยและหาได้ยากเย็นเสียนี่กระไร ความเป็นอยู่ที่แออัดจึงกลายเป็นปัญหาร่วมของชาวเมืองใหญ่อย่างหลีกหนีไม่พ้น แม้ว่ากองทัพสถาปนิกและนักวางผังเมืองจะใช้ความพยายามออกแบบและวางผังเมืองกันขนาดไหน รวมทั้งมีเทคโนโลยีการสร้างอาคารใหม่ๆ มานำเสนอมากมายนับไม่ถ้วนเพื่อผ่อนคลายความแออัดและทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนดีขึ้น แต่นครใหญ่ก็ยังขยายตัวแบบปราศจากทิศทางอยู่ดี โดยมีความไม่แน่นอนของตลาด ข้อบังคับหรือกฎหมายการก่อสร้างอาคาร ระเบียบการแบ่งเขต (zoning) และกฎหมายผังเมืองเป็นปัจจัยควบคุมที่สำคัญ

นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ยังพูดถึงรายละเอียดว่า สถาปนิกหาได้ย่อท้อไม่ ยังมุ่งมั่นที่จะหาทางออกต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขาไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของขนาดที่อยู่อาศัยเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของความจำเป็นในการออกแบบให้สามารถสร้างที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นได้ด้วย ซึ่งหมายถึง การต้องหาวิธีการใหม่ๆ ในการใช้ที่ว่างพร้อมๆ กับที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีได้ในเวลาเดียวกัน

ในแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปซึ่งเต็มไปด้วยความแออัดนั้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ พากันพูดถึงความจำเป็นในการจัดหาบ้านใหม่จำนวนมากให้ได้ในเงื่อนไขที่มีที่ดินอยู่เท่าเดิม อาทิ สหราชอาณาจักรตั้งเป้าไว้ว่า ก่อนถึงปี 2016 ต้องจัดหาบ้านใหม่ให้ได้ราว 1.1 ล้านหน่วย แต่จนถึงทุกวันนี้ ดูเหมือนความคิดเรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยแบบแคปซูลจะกลายเป็นเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ มากกว่าข้อเสนอที่เป็นจริงสำหรับอนาคต เห็นได้จากช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ที่เต็มไปด้วยโครงการสร้างแฟลตมากมาย แต่ก็เป็นข่าวหวือหวาเป็นพักๆ เท่านั้น ไม่ได้มีผลอะไรต่อตลาดระดับล่างอย่างเป็นรูปธรรมจริงจัง

แล้วสถาปนิกยุคนี้ล่ะ พวกเขามีบทบาทในการแก้ปัญหาความแออัดและซับซ้อนของใจกลางนครใหญ่ได้อย่างไร?

Werner Aisslinger สถาปนิกมือทองชาวเยอรมันเป็นตัวอย่างที่ดี โครงการ Loftcube ของเขาทำให้วงการเชื่อมั่นว่าจะทำให้ความฝันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้จริง เพราะเป็น "บ้านเคลื่อนที่สำหรับคนเร่ร่อนในเมืองใหญ่" โดยแท้จริง

บ้านเคลื่อนที่ขนาด 42 ตารางเมตร ราคา 55,000 มาร์กนี้สามารถบรรทุกด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปไว้บนหลังคาอาคารที่มีพื้นที่เหมาะสมได้ หลังจากนั้นเมื่อเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเนรมิตเพนท์เฮาส์หลังกะทัดรัดขึ้นมาได้ทันที ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะกลายเป็น "ชุมชนบนหลังคาตึกใจกลางนครใหญ่" ได้ไม่ยากเย็นเลยบ้านเคลื่อนที่ : ที่อยู่ใหม่ใจกลางกรุง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us