|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*อุณหภูมิตลาดไฮสปีดอินเทอร์เน็ตร้อนอีกรอบ
* พี่ใหญ่โทรคมนาคม 'ทีโอที' ตื่น ส่งแคมเปญตลาด เปิดศึกความเร็วเลือกได้
* ทรูออนไลน์ ปรับแผนทันควัน อัปความเร็วสู้ แถมเลือกความเร็วพ่วงดูทีวีฟรี
'1 ล้านพอร์ตเมื่อถึงสิ้นปี 2552 ปีหน้าหวังว่าจะทำให้ได้ 2 ล้านพอร์ต' นี่คือเป้าหมายที่ทางบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะบรรลุไปให้ถึงสำหรับตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ถึงแม้จะไม่ได้เป็นตัวเลขที่สูงเกินกำลังความสามารถแต่ประการใด แต่ก็ไม่ง่ายเท่าใดนัก
'ตอนนี้ผู้ที่ใช้บรอดแบรนด์ของทีโอทีอยู่ที่ 870,000 พอร์ต โดยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ประมาณ 38% ที่ 2 เป็นของทรู' สุจินต์ กดทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เล่าถึงศักยภาพของทีโอทีให้ฟัง
วรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยยังมีอัตราการเติบโตด้านการใช้อินเทอร์เน็ตอีกมาก แต่หากเทียบประเทศไทยกับประเทศในระดับภูมิภาคเดียวกัน อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก
ปัจจุบัน สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยนับถึงไตรมาส 2 ในปี 2552 มีอยู่ประมาณ 21% หรือ 13.4 ล้านคน ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ
แต่หากเทียบสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกอย่างประเทศเกาหลีใต้ที่มีสูงถึง 77% ประเทศญี่ปุ่น 74% และฮ่องกง 69% โอกาสการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังมีสูงมาก หากเทียบสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันแล้ว ประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ใกล้เคียงกับฟิลิปปินส์ที่ 21% รองจากสิงคโปร์ที่มี 67% มาเลเซีย 66% และเวียดนาม 24%
'เวลานี้ความต้องการใช้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันตลาดก็มีการแข่งขันที่สูง ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งในด้านราคาที่ ถูกลง และมีคุณภาพที่สูงขึ้น' วรุธ กล่าวถึงสภาพการแข่งขันที่เกิดขึ้น
การบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวภายในระยะเวลาที่เหลือ 3 เดือน หากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติการขยายตลาดของ 'ทีโอที' คงจะเป็นเรื่องลำบากพอสมควร ถึงแม้โอกาสทางการตลาดของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจะยังมีสูงอยู่ก็ตาม จึงทำให้ทาง 'ทีโอที' จำเป็นที่จะต้องมีการนำเสนอแคมเปญการตลาดแรงๆ ที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับแคมเปญที่ทางฟากเอกชนนำเสนอ
จึงเป็นที่มาของแคมเปญการตลาด 'อินเทอร์เน็ตเลือกได้' ที่ทาง 'ทีโอที' คาดหวังว่าจะแรงพอที่จะแย่งกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาไว้ในมือ
'ทีโอที ปีนี้จะเน้นการสร้างรูปแบบรายการส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับความต้องการ ใช้งานในแต่ละกลุ่มให้มากที่สุด ภายใต้แนวคิด 'อินเทอร์เน็ตเลือกได้' ภายหลังจากปีที่ผ่านมามีการทำแคมเปญ 'เน็ตเลือกได้ราคาเดียว' ด้วยราคา 590 บาท เลือกใช้ที่ความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที แถมบริการโทร.ฟรี 590 บาท หรือใช้ความเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาที'
แคมเปญ 'อินเทอร์เน็ตเลือกได้' ยังทำการแบ่งกลุ่มคุณภาพของการให้บริการออกเป็นกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป หรือโฮมยูส กับกลุ่มธุรกิจ โดยมีแพกเกจระดับความเร็วที่ให้บริการทั่วประเทศดังนี้ ความเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาที ราคา 590 บาทต่อเดือน ความเร็ว 4 เมกะบิตต่อวินาที ราคา 790 บาทต่อเดือน ความเร็ว 8 เมกะบิตต่อวินาที ราคา 1,000 บาทต่อเดือน และความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที ราคา 1,500 บาทต่อเดือน ทุกแพกเกจลูกค้าใหม่จะได้รับโมเด็มฟรี หรือรับสิทธิแลกซื้ออุปกรณ์เราเตอร์แบบ 4 พอร์ต หรืออุปกรณ์รับส่งสัญญาณไร้สายไวร์เลสเราเตอร์ในราคาพิเศษ โดยแคมเปญดังกล่าวสิ้นสุดสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้
แคมเปญนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทาง 'ทีโอที' เปิดทางเลือกให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกได้ตามความต้องการ แถมยังถือเป็นแคมเปญที่ร้อนแรงไม่แพ้บริษัทเอกชนที่ทำตลาดในปัจจุบัน
วรุธ กล่าวว่า เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบริการบรอดแบนด์ของทีโอทีในกลุ่มเป้า หมายระดับแมส จึงได้ทำภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง Floating Market ในทุกสื่อทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ รถไฟฟ้า BTS เป็นต้น พร้อมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์คาราวานโรดโชว์ 'ทีน อ้น ทั่วไทย เจอ 2 คนที่ไหนได้ฟรี ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต' ไปในทุกภาคของประเทศไทย เพื่อนำเสนอจุดเด่นของ TOT hi-speed Internet ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นทั่วประเทศ
พื้นที่การให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมให้แคมเปญการตลาดเดินไปข้างหน้า ซึ่งทางวรุธ กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า ทางทีโอทีมุ่งเน้นในการขยายพื้นที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบ คลุมมากขึ้น รวมถึงมุ่งเน้นยกระดับการพัฒนาคุณภาพบริการ อาทิ การพัฒนาศักยภาพของโครงข่ายหลักให้เข้าสู่ความเป็นโครงข่ายสื่อสารยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า เอ็นจีเอ็น เพื่อรองรับการให้บริการที่เน้นอินเตอร์แอกทีฟ และบริการคอนเวอร์เจนซ์มากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีการใช้งานเครือข่ายใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออปติกมาใช้เป็นสื่อในการส่งสัญญาณจนถึงบ้านผู้ใช้มาให้บริการใน วงกว้าง เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจของประเทศ และการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
'ถึงแม้การแข่งขันจะรุนแรง ทีโอทีก็จะไม่เน้นเรื่องดัมป์ราคาหรือโฆษณาเกินจริง แต่จะเน้นการใช้งานที่เร็วเต็มสปีดที่เลือกในราคาที่คุ้มค่า ควบคู่กับการให้บริการที่มีคุณภาพ เพราะทีโอทีมีจุดแข็งทางด้านโครงข่าย ที่ในแต่ละปีลงทุนไปหลายพันล้านบาท และกำลังจัดซื้อจัดจ้างวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตอีก 570,000 พอร์ต มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท'
วรุธ กล่าวอีกว่า ในอนาคต ทีโอทีมีแผนที่จะนำบริการใหม่มานำเสนอสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้บริการบรอดแบนด์กับผู้ใช้บริการได้อย่างดีแม้จะ ต้องมีการเคลื่อนที่ผ่านเทคโนโลยี 3จี รวมทั้งสร้างสรรค์ความหลากหลายของการให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ทรูออนไลน์โต้ตอบ เล่นเน็ตแรงพ่วงแคมเปญ
ห่างจากการเปิดแคมเปญของทีโอทีไม่กี่วัน 'ทรูออนไลน์' ได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่ 'เล่นเน็ตแรง พร้อมดูหนังชัดกับทรูไลฟ์ฟรีวิว 40 ช่อง' ซึ่งถือเป็นแคมเปญที่มีแพกเกจความเร็วบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตคล้ายๆ กับที่ทางทีโอทีนำเสนอ แต่ที่เด่นกว่านั้น สามารถดูทรูวิชั่นส์ฟรีจำนวน 40 ช่อง นานถึง 18 เดือน
วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ทรูออนไลน์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากผลสำรวจจำนวนครัวเรือนที่ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศพบว่า มีถึง 80% ที่ใช้บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้งานเพื่อค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ และอีเมล เป็นส่วนใหญ่ถึง 70-80% ที่เหลือก็จะใช้เพื่อความบันเทิง ชอปปิ้ง
วิเชาวน์ กล่าวว่า ทรูออนไลน์พัฒนาศักยภาพบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในไทยตลอด 8 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพและบริการเพื่อให้ชาวไทยใช้ไฮสปีดอินเทอร์เน็ต มาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศ และล่าสุดขยายโครงข่ายการบริการให้ทันสมัย สามารถรองรับความเร็วได้สูงถึง 16 เมกเป็นรายแรก รวมทั้งขยายวงจรอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศเป็นเท่าตัวเพื่อเพิ่มคุณภาพการให้ บริการ และนำจุดเด่นกลุ่มทรู ผู้ให้บริการไวไฟรายใหญ่สุด เพิ่มความเหนือกว่า มอบอิสระท่องเน็ตเร็วสูงไร้สายสูงสุดถึง 3 เมก พร้อมดึงยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์กลุ่มทรู สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดเปิดแคมเปญใหม่ 'เล่นเน็ตแรง พร้อมดูหนังชัดกับทรูไลฟ์ฟรีวิว 40 ช่อง'
'หลังจากที่ทรูบุกเบิกการให้ความเร็วบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่ 8 เมก ช่วงกลางปีที่ผ่านมา และเมื่อไม่นานมานี้ ทางทรูได้มีการเปิดทดลองใช้ที่ความเร็ว 12 เมก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้เข้ามาใช้บริการถึง 16,000 ราย ทรูจึงได้เปิดให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็ว 16 เมก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ใช้ความเร็ว 12 เมกอยู่แล้วให้อัปความเร็วขึ้นมา กับลูกค้าที่ใช้บริการรายอื่นที่ต้องการสปีดสูงๆ'
เพื่อเป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ ทางทรูได้เพิ่มทีมทรูออนไลน์ในการให้บริการหลังการขายในการติดตั้งให้แล้ว เสร็จภายใน 3 วัน แถมยังเพิ่มศูนย์บริการทางโทรศัพท์ใหม่ผ่านหมายเลข 1686 ให้บริการมีความสะดวก ติดต่อทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง
แพกเกจใหม่ในแคมเปญนี้ มีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 แพกเกจย่อย ประกอบด้วย เบสิกแพกเกจ มีระดับความเร็วในการใช้งานเว็บในประเทศและต่างประเทศที่ความเร็วเท่ากันให้ เลือกตั้งแต่ 3 เมก 4 เมก 5 เมก 8 เมก 12 เมก และ 16 เมก ส่วนราคาเริ่มต้นสำหรับแพกเกจความเร็วทั้งเว็บในประเทศและต่างประเทศ 3 เมกอยู่ที่ 599 บาทต่อเดือน กับพรีเมียมแพกเกจ ซึ่งมีระดับความเร็วเหมือนกับที่เบสิกแพกเกจมีให้ โดยพรีเมียมแพกเกจจะอัปเกรดคุณภาพอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ และความเร็วอัปโหลดสำหรับ วิดีโอ สตรีมมิ่ง พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยราคาเริ่มต้นที่ 799 บาทต่อเดือนสำหรับความเร็ว 3 เมก
'แคมเปญใหม่นี้ ลูกค้าสามารถสมัครไฮสปีดอินเทอร์เน็ตจากทรูออนไลน์ตั้งแต่ความเร็ว 3 -16 เมก เริ่มต้นที่ 599 บาทต่อเดือน จะได้ดูทรูไลฟ์ฟรีวิว ฟรี 40 ช่อง นาน 18 เดือน นอกจากนี้ ลูกค้าทรูมูฟหรือทรูวิชั่นส์แพกเกจโกลด์-แพลทินัม รับสิทธิ์ฟรีอัปเกรดเป็นพรีเมียมแพกเกจ' นนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป Wire-line Broadband Services Business บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว
นนท์ กล่าวด้วยว่า เชื่อว่าแพกเกจใหม่นี้จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มอีกประมาณ 2-3 หมื่นรายภายในปีนี้ จากปัจจุบันมีผู้ใช้ทั้งหมดเกือบ 7 แสนราย และในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ความเร็ว 3 เมกมากกว่า 50%
ปัจจุบัน ทรูออนไลน์มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ของตลาดบรอดแบรนด์ โดยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 73% ของทั้งหมด 9 แสนราย และทั่วประเทศ มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 40% จากทั้งหมด 2 ล้านราย
'คาดว่าสิ้นปีนี้ ทรูจะมีผู้ใช้บริการบรอดแบรนด์เพิ่มเป็นประมาณ 7 แสนราย จากเมื่อปี'51 มีผู้ใช้บริการ 6.32 แสนราย'
|
|
|
|
|