|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักวิเคราะห์ชี้ซื้อชินคอร์ปอยู่ที่ราคา เชื่อเทมาเส็กฯ พร้อมปล่อยหลังจากทิศทางการเมืองเริ่มเปลี่ยน แต่ปัญหาอยู่ที่ใครจะมีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ เชื่อปีนี้ปันผลไม่ต่ำกว่าปีก่อน คาด 4 ปีโกยกลับสิงคโปร์ 3 หมื่นล้าน
กระแสข่าวการลงขันของกลุ่มทุนไทยที่ต้องการซื้อบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SHIN จากเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของสิงคโปร์ ที่ประกอบไปด้วยทุนสื่อสารและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นับเป็นความต่อเนื่องหลังจากที่กลุ่มสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SAMART มีความสนใจที่จะซื้อหุ้นของบริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) หรือ THCOM
ตามมาด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาให้ความเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์สามารถถือหุ้นในกิจการโทรคมนาคมได้แต่ต้องไม่เกินสัดส่วนเท่า ที่กฎหมายกำหนด
แม้ว่าทุกอย่างจะยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ก็มีข่าวในลักษณะนี้ออกมาอย่างต่อเนื่องว่าเทมาเส็กเตรียม ที่จะขายชินคอร์ปออกมา แต่ก็ยังไม่มีผู้เสนอซื้ออย่างจริงจัง แต่ครั้งนี้เริ่มมีรายชื่อของผู้ที่สนใจเข้าซื้อออกมาบ้างแล้วส่วนรายใดจะมี ความพร้อมในการเข้าซื้อจริงหรือไม่คงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามท่ามกลางข่าวมีกลุ่มผู้สนใจเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ปต่อจากเทมาเส็ก ทางฝ่ายบริหารของบริษัทที่เป็นทีมงานเก่าของทักษิณ ชินวัตร ยังคงเดินหน้าจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างเทมาเส็กผ่าน 2 บริษัทคือ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด อย่างต่อเนื่อง เบ็ดเสร็จ 3 ปีนับตั้งแต่เข้ามาถือหุ้นใน SHIN มีการจ่ายเงินปันผลออกไปแล้ว 2.3 หมื่นล้านบาท
4 ปีคืน 3 หมื่นล้าน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสิทธิกำหนดในเรื่องของการจ่าย เงินปันผล แต่การที่เร่งจ่ายเงินปันผลมากในแต่ละงวดสะท้อนได้ว่าทางผู้ถือหุ้นใหญ่ต้อง การลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เห็นได้จากบางครั้งที่มีการจ่ายเงินปันผลมากกว่ากำไรที่ทำได้จริงในงวดนั้น ด้วยการนำเอากำไรสะสมที่มีอยู่เดิมนำออกมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
กรณีชินคอร์ปนั้น ทางเทมาเส็กได้เงินคืนจากปันผลไปแล้วมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท เงินที่ลงทุนครั้งแรกที่ 1.43 แสนล้านบาทจากการเสนอซื้อที่ราคา 49.25 บาทต่อหุ้นนั้น ต้นทุนจริงของเทมาเส็กน่าจะเหลือต่ำกว่า 40 บาทต่อหุ้น
หากสิ้นปีนี้มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราเดิมที่ประมาณ 2.40 บาท เบ็ดเสร็จการเข้ามาถือหุ้น 4 ปีน่าจะได้เงินปันผลกลับไปราว 3 หมื่นล้านบาท
การเข้าซื้อนั้นคงต้องขึ้นกับผู้ซื้อว่าต้องการเสนอซื้อทั้งหมดหรือบางส่วน หากเสนอซื้อทั้งหมดคงต้องใช้เงินหลายหมื่นล้านบาทหรืออาจถึงแสนล้านบาท ดังนั้นต้องหาผู้ซื้อร่วมกันหลายราย เงินจำนวนมากอย่างนี้จะมีกลุ่มทุนใดที่กล้าพร้อมทุ่มเงินเพื่อซื้อกิจการของ ชินคอร์ปทั้งหมด
ลำพังแค่กลุ่มเอกชนหากมีรายใหญ่เข้ามาร่วมกันและแบ่งธุรกิจกันไปตามที่แต่ละ ฝ่ายถนัดก็น่าจะทำได้ แต่เงินมหาศาลขนาดนี้หากจะพึ่งให้เกิดชนเข้ามาซื้อเพียงกลุ่มเดียวก็อาจจะ ลำบาก แต่การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) แสดงความสนใจที่จะให้ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม เข้ามาร่วมเสนอซื้อด้วยน่าจะทำให้โอกาสของความสำเร็จมีมากขึ้น
ราคาซื้อตัวตัดสิน
การจะขายหรือไม่นั้นนอกจากจะต้องมีผู้ซื้อแล้ว ราคาที่เสนอซื้อนั้นจะต้องเป็นราคาที่ผู้ซื้อพึงพอใจด้วย แต่จากรายงานการซื้อขายของผู้บริหารบริษัทตั้งแต่ต้นปีการเข้าซื้อหุ้นเพิ่ม เติมอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางส่วนจะเป็นเรื่องการใช้สิทธิซื้อในส่วนของหุ้นพนักงาน แต่ราคาปัจจุบันของ SHIN ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับราคาเป้าหมายที่บวกด้วยการได้งาน 3G ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 43 บาทเศษ ตรงนี้ก็เป็นเรื่องน่าคิดเช่นกันว่าอาจเตรียมการเก็บหุ้นราคาต่ำไว้ก่อน หากมีการซื้อขายกันจริงก็สามารถขายหุ้นพ่วงกับการเสนอซื้อได้
ท่าทีของฝ่ายบริการชินคอร์ปนั้นพูดเปิดทางในเรื่องการขายหุ้นมาโดยตลอด แต่การตัดสินใจทั้งหมดต้องอยู่ที่สิงคโปร์ หากประเมินจากภาพรวมในขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่เทมาเส็กเองก็อยากขายชินคอร์ ปออกไป
เพราะตั้งแต่เข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้สิงคโปร์ก็มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับ ประเทศไทยมาตลอด อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองของไทยโอกาสในการกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีของ ทักษิณ ชินวัตร นับวันก็ยิ่งจะลำบากขึ้นทุกขณะ อีกทั้งการทำธุรกิจของกลุ่มชินคอร์ป ภายใต้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อาจไม่สะดวกเหมือนเมื่อครั้งที่พรรคการเมือง ของสายทักษิณเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะการขออนุญาตทำโครงการใหม่ ๆ
เนื่องจากก่อนหน้านี้กิจการในเครือของชินคอร์ปที่แม้จะเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ ถือหุ้นใหญ่อย่างเทมาเส็กในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงใน ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา แม้รัฐบาลจะมีคำสั่งตัดสัญญาณการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่น ที่ใช้ช่องสัญญาณของดาวเทียมไทยคมในการออกอากาศ แต่ก็หยุดเพียงเพียงชั่วระยะเวลาไม่นาน หลังจากนั้นก็ออกอากาศปลุกระดมคนได้เหมือนเดิม จนรัฐต้องส่งกำลังทหารเข้าไปควบคุมที่สถานี
ดังนั้นความไว้วางใจของรัฐบาลปัจจุบันที่มีต่อธุรกิจในเครือนี้ย่อมต้องน้อยลงกว่ากิจการของรายอื่น
ปัญหาทั้งหมดคงอยู่ที่ใครที่พร้อมจะเสนอราคาซื้อชินคอร์ปในระดับราคาที่เทมา เส็กยอมรับได้มากกว่า เพราะซื้อชินคอร์ปยังหมายถึงกิจการอื่น ๆ ที่จะได้ด้วยเช่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC และกิจการดาวเทียมอย่างไทยคม หากมีการรวมกลุ่มกันซื้อแล้วค่อยแยกกิจการออกภายหลังตามกลุ่มทุนที่ต้องการ ย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่าื้
|
|
|
|
|