|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดประกันวินาศภัยยุคใหม่ต่างจากเดิม การแข่งขันรุนแรงทั้งด้านการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในสังคมวง กว้าง ขณะเดียวกันก็พยายามสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่การออกสินค้าที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม หรือการทำสินค้าให้เป็นแพคเกจเพื่อง่ายต่อการซื้อ
การเปิดเสรีทางการค้านำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันภัยที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากบริษัทที่เคยเก็บตัวเงียบมีภาพลักษณ์ที่เฉิ่มโบราณ เก่าแก่ไม่เข้ายุค ก็ลุกขึ้นมาแต่งตัวใหม่ พร้อมเปิดตัวสู่สาธารณะชนด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ด้วยการโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เพื่อแสดงถึงคุณสมบัติขององค์กรที่ถูกปรับแต่งไปจากเดิม
ที่จริงแล้วธุรกิจประกันภัยเริ่มมีการปรับตัวเพื่อให้ทันกับโลกที่เปลี่ยน แปลงไปมาพักใหญ่แล้ว แต่ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจประกันภัยหลายรายให้ความเห็นว่าจากนี้ไป การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและเห็นได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะด้านการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำเท่านั้น หากยังรวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ อีกด้วย
กฤษณ์ หิญชีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด วิริยะประกันภัย เล่าว่า อย่างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของวิริยะที่เตรียมออก จะเป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่มีขายอยู่แล้วมารวมเป็นแพคเกจ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ซื้อสินค้าของบริษัท
แม้จะไม่ใช่สินค้าใหม่ แต่การรวมเป็นหนึ่งแพคเกจเช่นนี้จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันลุกค้าอาจมีความต้องการสินค้ามากกว่าหนึ่งประเภท ซึ่งแทนที่จะรอให้ลูกค้าถามเราก็รวมเป็นแพคเกจเพื่อเสนอให้ลูกค้าได้มีโอกาส เลือก ซึ่งสิทธิประโยชน์อาจมากขึ้นแตกต่างจากการซื้อกรมธรรม์ตัวใดเพียงหนึ่ง เดียว'
กฤษณ์ บอกว่า อย่างซื้อแพคเกจประกันภัยรถยนต์ อาจมีพ่วงด้วยประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพไปด้วย ซึ่งเราจะเสนอรูปแบบที่หลากหลายให้ลูกค้ามีโอกาสได้เลือกด้วย อย่างไรก็ตามในตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเสนอนั้นยังไม่ได้สรุปว่าจะออกมาเป้นอ ย่างไร เพราะอยู่ในขั้นตอนการสำรวจความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้บริษัทนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว้าจะจัดเป็นแพคเกจ แบบไหนถึงตรงใจมากที่สุด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะได้ผลสรุปและสามารถออกผลิตภัณฑ์นี้ได้
'แม้จะไม่ใช่ของใหม่สำหรับวงการประกันวินาศภัย แต่ความต่างคือสินค้าเราสามารถตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ตรงจุด นั่นเพราะเรามีฐานลูกค้าจำนวนมาก มีการจัดเก็บข้อมูลจากลูกค้า และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประเมินผลทางการตลาดและสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบ สนองความต้องการลูกค้าได้'
สำหรับผลการดำเนินงาน อานนท์ โอภาสพิมลธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในช่วง 8 เดือน (ม.ค. - ส.ค. 51) ว่า บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับจากการรับประกันภัยโดยตรงรวม 11,149.20 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4% โดยมีเบี้ยประกันภัยรับจากการประกันภัยรถยนต์ (Motor) 10,383.44 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับภาคสมัครใจ 8,644.91ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยรับภาคบังคับ 1,738.53ล้านบาท ส่วนเบี้ยประกันภัยรับประเภทนอน-มอเตอร์ (Non-Motor) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 765.76 ล้านบาท โดยแยกเป็นประกันอัคคีภัย 161.88 ล้านบาท ประกันภัยการทางทะเลและขนส่ง 56.05ล้านบาท และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 547.83 ล้านบาท
อานนท์ กล่าวเสริมว่า จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจประกันภัย ตั้งแต่การเห็นว่าบริษัทประกันภัยจำนวนมากต่างหันมาโปรโมทองค์กรผ่านสื่อ และวิริยะมักถูกตั้งคำถามว่าจะมีบ้างหรือไม่ คำถามนี้ต้องย้อนกลับไปดูว่าที่หลายบริษัทออกโฆษณาเพราะอะไร อย่างวิริยะด้วยแบรนด์ซึ่งถือเป็นที่รู้จักถึง 60%จากการสำรวจของนิตยสารที่ทำการสำรวจแบรนด์ จึงสรุปได้ว่า วิริยะเป็นองค์กรที่มีแบรนด์แข็งแกร่วงและเป็นที่รู้จักของสังคมในวงกว้าง
'ในเรื่องของผลิตภัณฑ์ องค์กรเราก็มีไม่แตกต่างจากรายอื่นๆ เรียกว่าได้ทุกสินค้าที่มีในตลาดเราเองก็มี'
แม้ตอนนี้ วิริยะจะยังไม่มีการโฆษณาสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กร ด้วยเพราะเป็นองค์กรที่มีแบรนด์แข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่การที่ภาพรวมในตลาด หลายองค์กรทำโฆษณาสร้างสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รับรู้ในสังคมวงกว้างมากขึ้น นั้น อานนท์ มองว่าเป็นการดี เพราะถือเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจประกันวินาศภัย และทำให้ธุรกิจนี้มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของ 'ไทยศรีประกันภัย' นที พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ให้ความว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดเด่นของบริษัท คือประกันภัยวิชาชีพ (Professional Indemnity Insurance) ที่เน้นด้านวิชิชีพแพทย์และวิศวกร ซึ่งการเลือก 2 กลุ่มอาชีพนี้ เพราะถือเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องสูงเวลาเกิดความเสียหาย เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมักรุนแรงซึ่งส่งผลต่อวิชาชีพ และรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขึ้นโรงขึ้นศาล
ดังนั้นการทำประกันภัยวิชาชีพแม้จะไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้ประกอบอาชีพ ดังกล่าวเกิดความสะเพรา แต่ถือเป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดความผิดพลาด ขึ้นมาจริง ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าในสายวิชาชีพแพทย์และวิศวกรย่อมไม่อยากให้เกิดความ เสียหายกับการกระทำของตนเอง เพราะนั่นหมายถึงการจบอาชีพของตนเอง แต่การทำประกันภัยดังกล่าวเป็นการบรรเทาความเสี่ยงในระดับหนึ่ง ซึ่งในต่างประเทศประกันภัยวิชาชีพเป็นสินค้าที่ขายดีมาก
สำหรับผลดำเนินงานในช่วง 7 เดือนแรก ปีนี้ ไทยศรีประกันภัยมีเบี้ยรับรวมจำนวน 1,113.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเบี้ยรับรวมที่ 1,047.71 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 109.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 67.71 ล้านบาท
ส่วนเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (motor) อยู่ที่ 61% พอร์ตที่ไม่ใช่รถยนต์ (non motor) 39% โดยแบ่งเป็นประกันอัคคีภัย 27% ประกันเบ็ดเตล็ด 8% และประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 4% ทั้งนี้ในปีนี้บริษัทได้ลดสัดส่วนของพอร์ตรถยนต์ลง และหันไปเพิ่มสัดส่วนของพอร์ตนอนมอเตอร์ให้มากขึ้น และตั้งเป้าให้มีสัดส่วนทั้ง 2 พอร์ตอยู่ที่ 50 : 50 ในอีก 3 ปีข้างหน้า
|
|
|
|
|